เมื่อ พระ ๒ พระ ๕ และ พระ ๑ ปรากฏตัว ณ ราศีแม่ธาต (ราศี ทวาร) ของเจ้าชาตาใด กล่าวได้ว่า เข้าเกณฑ์ จันทร์ ครุ สุริยา
ย่อมส่งพลังอันเป็นผลแก่เจ้าชาตาได้เป็นใหญ่เป็นโต มีชื่อเสียงเกรียงไกร เช่นเดียวกับราชีนีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฉะนั้น
เพื่อบันทึกเกร็ด รอย องค์ความรู้ของโหราศาสตร์ไทย และการพยากรณ์ระบบสัตตเลขในประเด็นที่เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ ในมุมมองที่ผู้เขียน และ/หรือ ผู้รวบรวม ต้องการบอกเล่าสู่กันฟังในวงมิตรเืพื่อเป็นข้อมูล ประกอบในการวิเคราะห์ ตรวจพินิจ ใคร่ครวญ สรรค์สร้างมุมมองใหม่ ๆ ต่อไป
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วินาศกุมกาลกิณี
ในดวงชาตาของท่านผู้ใดที่มีดาวเจ้าเรือนวินาศ ไปกุมกับ ดาวกาลกิณี เช่น ดาวราหู(๘) วินาศ ไปกุมกับดาวจันทร์(๒)กาลกิณี ผลกลับเป็นดีไปเสียฉิบ ในกฎของทักษาระบุว่า " วินาศกุมกาละเข้าระรานราศี เงินตราตีทองแท่งบ่มิเหือดแห้งเคหาในวัฒนาชาตินักหนาสินะ" ... นั่นคือเจ้าชาตาจะเป็นผู้ที่มั่งมีเงินทองและเจริญรุ่งเรือง
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สูงกลับต่ำ ต่ำกลับสูง
จักรวาลดำรงอยู่ได้บนพื้นฐานของดุลยภาพของสรรพสิ่ง การขับเคลื่อนของสสารและพลังงานในลักษณะทวิลักษณ์ที่ดูดผลักกันก่อให้เกิดวัฏจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบแต่ต้องตั้งอยู่บนความสมดุลบนเส้นทางสายกลายจึงจะดำรงความเป็นปกติอยู่ได้ฉันใด พลังแห่งดวงดาวที่กำกับชาตาชีวิตของผู้คนก็เช่นกัน
สูง(มหาอุจ) เล็ง สูง(มหาอุจ) กลับ ต่ำ เช่น พระ ๕ มหาอุจ ในราศีกรกฏ เล็ง พระ ๓ (มหาอุจ)ในราศีมังกร จะกลับเป็นดาวที่ด้อยพลัง (นิจ) ทั้งคู่ หรือ
ดาวเกษตร เล็ง เกษตร แทนที่จะส่งเสริมความแกร่ง เข้มแข็งกลับเสื่อมเป็น ประ ไป
ทั้งนี้เนื่องจากปฎิสัมพันธ์การเชื่อมโยงพลังมันย่อมเป็นไปในทางตรงกันข้ามเหมือนคนเล่นเกมชักคะเย่อกันไม่ว่าฝ่ายใดจะแพ้ชนะก็ย่อมเหน็ดเหนื่อยและเสียสมดุล หกล้มเสียหลักกันไปทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน
ต่ำ(นิจ) เล็ง ต่ำ (นิจ) กลับ สูง หรือ
เสื่อม (ประ) เล็ง เสื่อม (ประ) กลับ มั่นคงเข้มแข็ง(เกษตร)
สอดคล้องกับกฏการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คือ จำนวนลบ คูณ จำนวนลบ ผลลัพธ์ จะได้เป็น จำนวนบวกขนาดเท่ากับค่าสมบูรณ์ของจำนวนลบทั้งคู่คูณกันซึ่งทวีค่าออกมาในเชิงบวก หรือ สอดคล้องกับกฏแห่งพันธุกรรมที่พ่อเตี้ย กับ แม่เตี้ย ก็มักจะมีบุตร สูงกว่า พ่อแม่ นั่นเอง มันเป็นหลักการปกติของธรรมชาติในการรักษาแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางของสรรพสิ่ง (ความสมดุล) นั่นเอง
สูง(มหาอุจ) เล็ง สูง(มหาอุจ) กลับ ต่ำ เช่น พระ ๕ มหาอุจ ในราศีกรกฏ เล็ง พระ ๓ (มหาอุจ)ในราศีมังกร จะกลับเป็นดาวที่ด้อยพลัง (นิจ) ทั้งคู่ หรือ
ดาวเกษตร เล็ง เกษตร แทนที่จะส่งเสริมความแกร่ง เข้มแข็งกลับเสื่อมเป็น ประ ไป
ทั้งนี้เนื่องจากปฎิสัมพันธ์การเชื่อมโยงพลังมันย่อมเป็นไปในทางตรงกันข้ามเหมือนคนเล่นเกมชักคะเย่อกันไม่ว่าฝ่ายใดจะแพ้ชนะก็ย่อมเหน็ดเหนื่อยและเสียสมดุล หกล้มเสียหลักกันไปทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน
ต่ำ(นิจ) เล็ง ต่ำ (นิจ) กลับ สูง หรือ
เสื่อม (ประ) เล็ง เสื่อม (ประ) กลับ มั่นคงเข้มแข็ง(เกษตร)
สอดคล้องกับกฏการคำนวณทางคณิตศาสตร์ คือ จำนวนลบ คูณ จำนวนลบ ผลลัพธ์ จะได้เป็น จำนวนบวกขนาดเท่ากับค่าสมบูรณ์ของจำนวนลบทั้งคู่คูณกันซึ่งทวีค่าออกมาในเชิงบวก หรือ สอดคล้องกับกฏแห่งพันธุกรรมที่พ่อเตี้ย กับ แม่เตี้ย ก็มักจะมีบุตร สูงกว่า พ่อแม่ นั่นเอง มันเป็นหลักการปกติของธรรมชาติในการรักษาแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางของสรรพสิ่ง (ความสมดุล) นั่นเอง
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เดรัจฉานวิชากับปรัชญาโหราศาสตร์
ชาวพุทธ ผู้ตื่นรู้ และเบิกบานเชื่อมั่นในกฏของเหตุและผล หรือ กฏแห่งกรรม พลังอำนาจแห่งดาวนักขัตฤกษ์ทำอะไรคนไม่ได้ ถ้ายึดมั่นในการกระทำความดี ศีล สมาธิ และ ปัญญา มิใช่พึ่งพาสิ่งนอกพุทธศาสตร์ เช่น การบูชา ไล่ บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โหร พระ หรือ คนผู้ใดเชื่อ - บูชา - เสริม - ไล่ - ดวง ถือว่าเป็นการกระทำเดรัจฉานวิชา มิใช่ชาวพุทธ ต้องยึดหลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ความรู้หรือปรัชญาที่เกิดจากโหราศาสตร์เป็นเพียงแนวทางที่เราจะบริหารกรรมให้เหมาะสมเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชีวิตของเราเท่านั้น มนุษย์เป็นอิสระได้จากทุกสิ่งโดยอิงปัญญาด้วยการปล่อยวางจากสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้น
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
คู่พลังคิดเชิงวิพากษ์
สมพลแปลว่ามีกำลังอยู่เสมอ ดาวคู่สมพล ๔ คู่ คือ ๑๖ ๒๘ ๓๕ และ ๔๗ สี่คู่ร่วมพลัง สานสร้างพลังอันเข้มแข็ง ส่งเสริมเติมพลังแก่กันขับเคลื่อนตามวิถีแห่งโลกธรรมแปด ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข หรือ ตรงข้าม แม้ว่าดาวดวงใดดวงหนึ่งในคู่กันจะตกในราศีที่ทำให้เป็นนิจ หรือ ประแต่เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งคู่สมพลกันแล้วย่อมทำให้ดาวคู่นั้นกลับมีพลังขึ้นมาอีกได้ เป็นเจ้าเรือนภพอะไรก็ทำให้ภพนั้นเข้มแข็งขึ้น
คู่สมพล ๓๕ ในราศีธนู ให้คุณค่าเด่นมากสูงกว่าคู่สมพลอื่น ๆ ให้คุณด้านเกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ การปกครอง การบังคับบัญชา การเป็นหัวหน้า ผู้นำหรือเจ้าใหญ่นายโตเลยทีเดียว
คู่สมพล ๓๕ โดยทั่วไป เป็นคู่ที่ให้กำลังด้านสติปัญญา ความคิดที่เฉียบขาดรุนแรง การแตกหักรวดเร็ว เช่น คิดปฏิวัติสังคมเป็นต้น เจ้าแห่งสงคราม และ เหตุผล สานพลังเชื่อมโยงกันทำให้มีพลังความคิดเด็ดเดี่ยวตั้งมั่นจริงจัง สังเกตชายเจ้าชู้ทั้งหลายซึ่งจีบสาวให้ตายใจก็กลุ่มรวมพลัง ๓๕ นี้แหละ ผู้สมัครผู้แทนที่ใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ดุดัน รุนแรง คมเข้มด้วยเหตุผลจนผองชนเทคะแนนให้อย่างล้นหลามก็บุคคลที่มี ๓๕ ในดวงชะตาทั้งนั้น เมื่อจะกล่าวถึงคนหัวรุนแรงก็คนที่ต้นทุนกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คู่สมพล ๓๕ ในราศีธนู ให้คุณค่าเด่นมากสูงกว่าคู่สมพลอื่น ๆ ให้คุณด้านเกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ การปกครอง การบังคับบัญชา การเป็นหัวหน้า ผู้นำหรือเจ้าใหญ่นายโตเลยทีเดียว
คู่สมพล ๓๕ โดยทั่วไป เป็นคู่ที่ให้กำลังด้านสติปัญญา ความคิดที่เฉียบขาดรุนแรง การแตกหักรวดเร็ว เช่น คิดปฏิวัติสังคมเป็นต้น เจ้าแห่งสงคราม และ เหตุผล สานพลังเชื่อมโยงกันทำให้มีพลังความคิดเด็ดเดี่ยวตั้งมั่นจริงจัง สังเกตชายเจ้าชู้ทั้งหลายซึ่งจีบสาวให้ตายใจก็กลุ่มรวมพลัง ๓๕ นี้แหละ ผู้สมัครผู้แทนที่ใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ดุดัน รุนแรง คมเข้มด้วยเหตุผลจนผองชนเทคะแนนให้อย่างล้นหลามก็บุคคลที่มี ๓๕ ในดวงชะตาทั้งนั้น เมื่อจะกล่าวถึงคนหัวรุนแรงก็คนที่ต้นทุนกรรมเป็นเช่นนี้เอง
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วาจาเหนือคน
ดวงชาตาของผู้มีวาจาเหนือคน คือคู่สมพล ๔๗ พระเคราะห์คู่นี้จะเสริมพลังกันให้ความโดดเด่นด้านการเจรจาพาทีแห่งถ้อยคำสำนวนอันหยดย้อยจับจิตจับใจผู้ฟัง หรือเจรจากระทบกระเทียบเปรียบเปรย กระแทกแดกดัน คำโต้เถียงที่เผ็ดร้อนมิผ่อนคลายให้ฝ่ายตรงข้ามได้ตั้งตัว เมื่อพุธคือเทพเจ้าแห่งถ้อยคารมคมคายเชื่อมประสานกับเจ้าแห่งความประณีตหนักแน่น เหน็ดเหนื่อย ย่อมเสริมหนุนให้เจ้าชาตามีคำความอันไร้ผู้ตามทัน เข้มคมสมสาระ ไม่เหลาะแหละเหลวไหลให้หงุดหงิด พูดในบริบทที่เห็นว่ามีประโยชน์ ก่อเกิดผลในเชิงรายได้ หรือให้ชัดในอรรถรสความแห่งคำพูดดีมีรสนิยม มุ่งหมายให้อ่อนหวานสมานหูผู้ฟัง เป้าหมายให้ถูกใจ เห็นใจในคำร้อง หรือคำพูดตน แต่เมื่อด่าบริภาษใครก็ย่อมเสียดสีกระทบได้อย่างตรงเป้าประสงค์ พูดได้ชนิดคนฟังเจ็บแสบในน้ำคำจวนคลั่งด้วยจนแต้มที่จะเถียง อึดอัดที่คัดง้างด้วยเหตุผล จนปัญญาด้วยน้ำหนักแห่งถ้อยวจี เติมศักดิ์ศรีของยอดเจรจาเหนือคนบรรดาลดลให้แตกหักตามต้องการ ยกให้คู่สมานสี่เจ็ดเป็นเต้ย พูดจริง ทำจริง สุดยอดน่านับถือ
มฤตยูผู้น่ารัก
มฤตยู(เนพจูน) หรือ พระ 0 เป็นดาวนักปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงพลิกผัน ท้าทาย จากหงายเป็นคว่ำ หรือคว่ำเป็นหงาย จากชาตาร้ายเป็นดี หรือดีเป็นร้าย รวดเร็ว ฉับพลัน กะทันหัน หักโค่น เปลี่ยนโฉบอย่าง immediantly! โดยไม่เกรงหน้าอินทร์ พรหมณ์ ยมยักษ์ ผู้ใดทั้งสิ้น
พระ 0 เป็นดาวผู้กล้า นักสู้ ท้าทายไม่เว้นไว้แม้แต่ความตาย ไม่แคร์ว่ามันจะฉิบหายวายวอดหรือจะสูญเสียมากมายเพียงใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้และท้าทายกับชนชั้นผู้ปกครอง ผู้มีบารมีที่มีอำนาจเหนือ มฤตยูไม่เคยกลัวหรือหวั่นหวาด จึงได้รัีบการกล่าวขานกันว่าเป็นดาวนักปฏิวัติการเมืองและสังคม
ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อพระ 0 ร้าย ก็จะสุดหยั่งคาด ล้มเหลว พ่ายแพ้ เสียชื่อเสียง พลิกกลับแห่งโชคชะตาจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่ว่าจะเป็น อาชีพ การงานและความคิด ตีลังกา เผยโฉมแห่งมายาภาพให้เห็นอย่างชัดเจน obviously! โอ้พระเจ้า!
หมายเหตุ พระ 0 หมายถึง น้ำมัน น้ำ ทะเล ส่งเสริม แผ่ขยายและให้ปริมาณ เช่น พระ ๕
พระ 0 ถ้าให้โชค ก็ใหญ่หลวงเกินคาดหมาย ถ้า 0 มีระยะเชิงมุมดี จะให้ผลอย่างมากมายใหญ่หลวงแต่ถ้าร้ายก็ตรงกันข้าม
พระ 0 เป็นดาวผู้กล้า นักสู้ ท้าทายไม่เว้นไว้แม้แต่ความตาย ไม่แคร์ว่ามันจะฉิบหายวายวอดหรือจะสูญเสียมากมายเพียงใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้และท้าทายกับชนชั้นผู้ปกครอง ผู้มีบารมีที่มีอำนาจเหนือ มฤตยูไม่เคยกลัวหรือหวั่นหวาด จึงได้รัีบการกล่าวขานกันว่าเป็นดาวนักปฏิวัติการเมืองและสังคม
ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อพระ 0 ร้าย ก็จะสุดหยั่งคาด ล้มเหลว พ่ายแพ้ เสียชื่อเสียง พลิกกลับแห่งโชคชะตาจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่ว่าจะเป็น อาชีพ การงานและความคิด ตีลังกา เผยโฉมแห่งมายาภาพให้เห็นอย่างชัดเจน obviously! โอ้พระเจ้า!
หมายเหตุ พระ 0 หมายถึง น้ำมัน น้ำ ทะเล ส่งเสริม แผ่ขยายและให้ปริมาณ เช่น พระ ๕
พระ 0 ถ้าให้โชค ก็ใหญ่หลวงเกินคาดหมาย ถ้า 0 มีระยะเชิงมุมดี จะให้ผลอย่างมากมายใหญ่หลวงแต่ถ้าร้ายก็ตรงกันข้าม
เกตุเก้าเร้ามฤตยู
เมื่อดาวเร่ง(พระ ๙) interraction กับ ดาวปฏิวัติ (พระ 0)ในดวงชาตากำเนิด จะส่งผลให้เจ้าชาตาเป็นผู้มีญาณทรรศนะในใจ เฉกเช่นพรสวรรค์แห่งตน มี six sense ในการคาดการณ์เหตุการณ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เดาใจคนเก่ง เก็งความจริงได้แม่น ถนัดในวิทยาศาสตร์ฉลาดในมิติที่ลี้ลับ ทั้งโหราฯและไสยาฯ
หมายเหตุ ถ้าพระ ๙ ร่วมกับ พระ ๔ ทำให้เจ้าชาตา คิดได้อย่างปราดเปรื่องและเจรจาได้อย่างแหลมคมฉะฉาน
หมายเหตุ ถ้าพระ ๙ ร่วมกับ พระ ๔ ทำให้เจ้าชาตา คิดได้อย่างปราดเปรื่องและเจรจาได้อย่างแหลมคมฉะฉาน
ป้ายกำกับ:
เกตุเก้าเร้ามฤตยู มีญาณทรรศนะ และสัมผัสที่หก
จอมมารครบร่าง
เมื่อพระราหู และ พระเกตุ อยู่ร่วมราศี หรือเกาะกุมกัน ก็เป็นอสูรสมบูรณ์ครบร่าง (พระ ๙ เป็นส่วนหางของพระ ๘) อิทธิฤทธิ์ก็คงเหลือร้าย ถ้าราหูตั้งอยู่ในตำแหน่งดีก็จะส่งเสริมให้ ๘ ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กล้าหาญฉับไวเพราะถูกคะตะไลเร่งเร้าโดยเกตุ สามารถเอาชนะอุปสรรคศัตรูหมู่อริได้อย่างฉับพลันทันใด
ไร้ดาวครองเรือน
ถ้าเรือนใดไร้ดาวครอง ให้ใช้ดาวเกษตรเป็นตัวแทนในการบ่งชี้ความเป็นไปตามสภาวะแห่งเรือน ราศี มาตรฐาน ตามภพที่สถิต การอ่านวิธีนี้สมัยโบราณมักเก็บงำไว้ไม่ยอมสอนผู้ใด เกรงจะรู้เท่า อาจารย์มักเก็บไว้เป็นทีเด็ด ให้ตายตามตัวไป
โคลงดวงมหาจักร
ภุมม์กันย์จันทร์เมษแม้น ราศี
พฤษภสถิตเสารี อยู่ไซร้
พุธสิงหโดยมี ศุกร์อยู่ ธนูนา
กาลกุมลัคน์ให้ กลับฟื้นผลคุณ
อัฐเคราะห์ใดโคจรในตำแหน่งที่ปรากฏตามโคลงในดวงชาตากำเนิด นิยมกันว่าดี ถึงเป็นกาลกรรณีกุมลัคน์ก็ยังยกย่องว่าดี
หลัก
ก. กาลกรรณีเป็นมหาจักร ถ้าไม่กุมลัคนา ร้ายนักแล
ข. ดาวเคราะห์ใดเป็น เดช ศรี มนตรี ดีนักแล
หมายเหตุ
พระ ๒ มหาจักรในดวงชาตาหญิง จะเกิดวันใดก็ตาม มักได้สามีชั้นสูงเสมอ ถ้าเกิดวันพุธด้วยแล้วย่อมได้ฐานะสูง เป็นคุณหญิง ท่านผู้หญิง ถึง อื่น ๆ จะเสียก็ไม่ต้องคำนึงถึึง ต่อให้หอบของขายมาเดิม
พระ ๓ ๗ ๘ มหาจักรเป็นกาลกรรณีจรร้ายมาก เว้นแต่ในราศีกีฎะ และมีพระ ๕ เป็นมหาจักรอยู่ด้วยก็คุ้มได้
พระ ๕ พิจิก คมคาย ไม่ขยายขี้เท่อ ส่งเสริม
พฤษภสถิตเสารี อยู่ไซร้
พุธสิงหโดยมี ศุกร์อยู่ ธนูนา
กาลกุมลัคน์ให้ กลับฟื้นผลคุณ
อัฐเคราะห์ใดโคจรในตำแหน่งที่ปรากฏตามโคลงในดวงชาตากำเนิด นิยมกันว่าดี ถึงเป็นกาลกรรณีกุมลัคน์ก็ยังยกย่องว่าดี
หลัก
ก. กาลกรรณีเป็นมหาจักร ถ้าไม่กุมลัคนา ร้ายนักแล
ข. ดาวเคราะห์ใดเป็น เดช ศรี มนตรี ดีนักแล
หมายเหตุ
พระ ๒ มหาจักรในดวงชาตาหญิง จะเกิดวันใดก็ตาม มักได้สามีชั้นสูงเสมอ ถ้าเกิดวันพุธด้วยแล้วย่อมได้ฐานะสูง เป็นคุณหญิง ท่านผู้หญิง ถึง อื่น ๆ จะเสียก็ไม่ต้องคำนึงถึึง ต่อให้หอบของขายมาเดิม
พระ ๓ ๗ ๘ มหาจักรเป็นกาลกรรณีจรร้ายมาก เว้นแต่ในราศีกีฎะ และมีพระ ๕ เป็นมหาจักรอยู่ด้วยก็คุ้มได้
พระ ๕ พิจิก คมคาย ไม่ขยายขี้เท่อ ส่งเสริม
คาถาดาวเกษตร
รวิเกษตรา ไชยะ ศัตรู
จันทรเกษตรา ชนัปปิยา
ภุมมเกษตรา พหูวิทยา
พุธเกษตรา จ ปัณฑิตา
ครุเกษตรา ปัญญวันโต
ศุกรเกษตรา มหาสีโล
โสรีเกษตรา สูราธาโร
ราหุเกษตรา อเกสราฯ
พระ ๑ เกษตร รูปงาม ศัตรูน้อย คนรักมากแต่พึ่งมิได้ แต่แก่ตัวลงถอยทรัพย์ หรือใจบาปชอบหากินเป็นชาวประมงฯ
พระ ๒ เกษตร มีสมบัติมาก มีวาสนา เจรจาไพเราะห์ฯ
พระ ๓ เกษตร วิชาดี ปากกล้า จะได้ปกครองคน เป็นทหารหรือพ่อค้าก็ได้ดี
พระ ๔ เกษตร เป็นปราชญ์ รู้ธรรม บริบูรณ์ทรัพย์
พระ ๕ เป็นเกษตร มีโภคะมาก เป็นบัณฑิต วาจาเป็นที่ชอบใจคน
พระ ๖ เป็นเกษตร ทำมาค้าขึ้น ได้ลาภผลมาก เป็นพ่อค้าดี
พระ ๗ หรือ ๘ เป็นเกษตร จะเป็นผู้มีอำนาจวาสนา ได้ลาภเพราะใจหาญ แต่ตระหนี่มีผมบางฯ
หลัก ดวงชาตาผู้ใด ได้เกษตรเป็นเดช ศรี มนตรี ท่านว่าดีเลิศ ถ้าเกษตรเป็นกาลกรรณี ร้ายนัก เว้นแต่กาลกรรณีนั้นเป็น อริ มรณ และวินาศน์ แก่ลัคนาหรือแต่ตนุเศษ จึงให้โทษน้อยแล
จันทรเกษตรา ชนัปปิยา
ภุมมเกษตรา พหูวิทยา
พุธเกษตรา จ ปัณฑิตา
ครุเกษตรา ปัญญวันโต
ศุกรเกษตรา มหาสีโล
โสรีเกษตรา สูราธาโร
ราหุเกษตรา อเกสราฯ
พระ ๑ เกษตร รูปงาม ศัตรูน้อย คนรักมากแต่พึ่งมิได้ แต่แก่ตัวลงถอยทรัพย์ หรือใจบาปชอบหากินเป็นชาวประมงฯ
พระ ๒ เกษตร มีสมบัติมาก มีวาสนา เจรจาไพเราะห์ฯ
พระ ๓ เกษตร วิชาดี ปากกล้า จะได้ปกครองคน เป็นทหารหรือพ่อค้าก็ได้ดี
พระ ๔ เกษตร เป็นปราชญ์ รู้ธรรม บริบูรณ์ทรัพย์
พระ ๕ เป็นเกษตร มีโภคะมาก เป็นบัณฑิต วาจาเป็นที่ชอบใจคน
พระ ๖ เป็นเกษตร ทำมาค้าขึ้น ได้ลาภผลมาก เป็นพ่อค้าดี
พระ ๗ หรือ ๘ เป็นเกษตร จะเป็นผู้มีอำนาจวาสนา ได้ลาภเพราะใจหาญ แต่ตระหนี่มีผมบางฯ
หลัก ดวงชาตาผู้ใด ได้เกษตรเป็นเดช ศรี มนตรี ท่านว่าดีเลิศ ถ้าเกษตรเป็นกาลกรรณี ร้ายนัก เว้นแต่กาลกรรณีนั้นเป็น อริ มรณ และวินาศน์ แก่ลัคนาหรือแต่ตนุเศษ จึงให้โทษน้อยแล
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เกร็ดพระเกตุ
พระเกตุ ตามตำราไทยท่านว่าเป็นหางของราหูที่ถูกตัดขาด บางคราก็เรียกว่าหางมังกร หรือ จุดสกัดหรือเส้นที่ทางโคจรของดาวตัดกัน ดังนั้นทางต่างประเทศจึงคำนวณเกตุ ต่างจากแบบของไทยคือวิถีโคจรของเกตุ จะตรงข้ามกับราหูเสมอ เช่นราหูอยู่ราศีเมษ เกตุก็จะอยู่ราศีตุลย์ แต่ของไทยไม่เป็นเช่นนั้น ท่านกลับแยกจากกันโดยให้โคจรราศีละ 2 เดือนโดยประมาณไม่ขึ้นอยู่กับราหูหรือตรงข้ามกับราหูเหมือนแบบสากล ไทยจัดให้เป็นวิญญาณธาตุ เพราะถูกตัดขาดเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเป็นราหูที่ดื่มน้ำอมฤตแต่น้ำอมฤตยังตกไปอยู่แค่ในกระเพาะ ราหูเลยรอด ส่วนเกตุก็ลงไปดิ้นชัก...แหง๊กๆ เหมือนหางจิ้งจกที่ขาด แล้วตายไปเนื่องด้วยไม่ได้รับอำนาจแห่งน้ำอมฤต เมื่อตายไปก็กลายเป็นธาตุวิญญาณแต่ก็ยังทรงซึ่งอิทธิฤทธิ์ไว้เช่นเดิม
เกตุแม้กุมลัคนาอยู่แบบโดดๆ โดยไม่มีดาวอื่นมาร่วมกุมด้วย ก็จะทำให้เจ้าชะตาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างดูดีและไม่ดี แต่มักจะไปส่งเสริมในทางด้านคุณธรรม ทำให้เจ้าชะตามักได้รับตำแหน่งหัวหน้าในการงานและคุ้มครองในด้านอุบัติเหตุ (ไม่ตายโหง) บางตำราว่าทำให้เจ้าชะตามีผมค่อนข้างบาง และ มักจะไม่ติดคุกติดตะราง เกตุนั้นมักส่งเสริมทางด้านสติปัญญา ปฏิภาณและความผิดปกติ ถ้าในดวงชะตาเกตุสัมพันธ์ถึงพฤหัส เช่น กุม เล็ง ตรีโกณ โยค
นอกจากนี้แล้ว เกตุยังมีอิทธิพลอีกนานับประการ เอาเป็นว่าถ้าผสมหรือร่วมกับดาวดีก็จะสนับสนุนให้ดียิ่งขึ้น ถ้าผสมหรือร่วมกับดาวที่ร้ายก็จะยิ่งร้ายมากขึ้น ดวงชะตาใดที่เกตุไปอยู่ในภพปุตตะ ในแบบ 10 ลัคน์ มักจะได้ลูกแฝด เกตุอยู่ปัตนิก็มักเฉยเมยกับคู่ครอง และ มักเจอคู่รักปุบก็แต่งปับทันที หรือ มีคู่ทีเดี๋ยวพร้อมกัน 2 คน เกตุไปอยู่เรือนอริ
เกตุแม้กุมลัคนาอยู่แบบโดดๆ โดยไม่มีดาวอื่นมาร่วมกุมด้วย ก็จะทำให้เจ้าชะตาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างดูดีและไม่ดี แต่มักจะไปส่งเสริมในทางด้านคุณธรรม ทำให้เจ้าชะตามักได้รับตำแหน่งหัวหน้าในการงานและคุ้มครองในด้านอุบัติเหตุ (ไม่ตายโหง) บางตำราว่าทำให้เจ้าชะตามีผมค่อนข้างบาง และ มักจะไม่ติดคุกติดตะราง เกตุนั้นมักส่งเสริมทางด้านสติปัญญา ปฏิภาณและความผิดปกติ ถ้าในดวงชะตาเกตุสัมพันธ์ถึงพฤหัส เช่น กุม เล็ง ตรีโกณ โยค
นอกจากนี้แล้ว เกตุยังมีอิทธิพลอีกนานับประการ เอาเป็นว่าถ้าผสมหรือร่วมกับดาวดีก็จะสนับสนุนให้ดียิ่งขึ้น ถ้าผสมหรือร่วมกับดาวที่ร้ายก็จะยิ่งร้ายมากขึ้น ดวงชะตาใดที่เกตุไปอยู่ในภพปุตตะ ในแบบ 10 ลัคน์ มักจะได้ลูกแฝด เกตุอยู่ปัตนิก็มักเฉยเมยกับคู่ครอง และ มักเจอคู่รักปุบก็แต่งปับทันที หรือ มีคู่ทีเดี๋ยวพร้อมกัน 2 คน เกตุไปอยู่เรือนอริ
พระเกตุไทยในราศี
พระเกตุ(๙) ไทยในราศี
เกตุในราศีเมษ มักใจเร็วด่วนได้ นิสัยผีเข้าผีออก ชอบทำให้ผู้อื่นแปลกใจ ใครดีมักตอบแทนบุญคุณ ใครร้ายร้ายกลับอย่างขาดใจ
เกตุในราศีพฤษภ มักบ้าหาทรัพย์ ชอบสะสมของแปลกๆ ชอบทำอะไรไม่ค่อยซ้ำแบบใคร
เกตุในราศีเมถุน มักเป็นคนพูดมากเกินไปหน่อย คิดมากไปหน่อย อยู่ไม่ค่อยสุข
เกตุในราศีกรกฎ เป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว ขี้หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ใจร้อน
เกตุในราศีสิงห์ มักถือยศถือศักดิ์ ชอบเอาชนะผู้อื่น ชอบทำใจดีสู้เสือ
เกตุในราศีกันย์ ชอบรับใช้ผู้อื่นและไม่ชอบอยู่ติดบ้าน แต่กลับมากินข้าวบ้านตัวเอง มักทำงานหาเงินเพื่อผู้อื่น
เกตุในราศีตุลย์ เป็นคนจู้จี้จุกจิกในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตน อารมณ์มักขุ่นมัว เวลาลงได้รักใครแล้วมักรักแบบหัวปักหัวปรำ
เกตุในราศีพิจิก อายุยืน แต่มักชอบวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ นิสัยธรรมธรรมโม มักยุ่งยากเกี่ยวกับเรื่องความรัก วาจาเปลี่ยนแปลงง่าย ชอบทำอะไร 2 อย่างในเวลาเดียวกัน
เกตุในราศีธนู เป็นคนปัญญาดี เป็นนักค้นคว้าบ้าวิชา แต่มักชอบขัดใจผู้ใหญ่ มักชอบเสียสละเพื่อผู้อื่น
เกตุในราศีมกร ชอบทำงานแปลกๆ มักขยันจนตัวตาย มักทำงานที่ตนรัก และ เป็นคนรักความสงบ
เกตุในราศีกุมภ์ เป็นคนเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มักตกเป็นเหยื่อคนเลวได้ง่าย มักถูกอิจฉาริษยา แต่เป็นคนไม่เสียดายทรัพย์
เกตุในราศีมีน เป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว มักนอกรีตนอกรอย มักเชื่อผู้อื่นมากกว่าญาติตน ญาติพี่น้องมักเบียดเบียน เป็นคนสู้ชีวิตมีความมานะอดทนสูง เมื่อเล็กลำบาก แก่ตัวจึงดี
พระเกตุไทยในเรือนต่างๆ
ตนุ มักพัวพันเกี่ยวกับวัดวาอาราม เกี่ยวกับศาสนาสิ่งลี้ลับ ชอบประดิษฐ์คิดค้น มักมีปมด้อย เป็นคนขยันเอาจริงเอาจัง ผมมักบาง
กดุมภะ มักเก็บทรัพย์ไม่ค่อยอยู่ ชีวิตมักวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ชอบสะสมของเก่าโบราณ
สหัชชะ การติดต่อเจรจา การเดินทางมักยุ่งยาก คนบ้านใกล้เรือนเคียงมักไม่ค่อยถูกกัน ขาดการสนับสนุนจากญาติพี่น้อง
พันธุ พึ่งญาติพี่น้องไม่ค่อยได้ ชอบการเที่ยวเตร่ รักสนุกไม่ชอบอยู่ติดบ้านนานๆ ไม่ค่อยลงรอยกับญาติพี่น้อง
ปุตตะ ไม่ค่อยสนใจการศึกษาเท่าที่ควร อารมณ์มักขุ่นมัว การเสี่ยงโชคไม่สู้ดี เดือดร้อนเพราะบุตร มักได้บุตรแฝด
อริ เป็นคนขี้หงุดหงิด มักหุนหันพลันแล่น มีโรคประจำตัวสุขภาพไม่สู้ดี บริวารมักนำความเดือดร้อนมาให้
ปัตนิ คู่สัญญามักไม่สู้ดีมักมีปัญหากันบ่อย คู่ครองความรักมักมีอุปสรรคพลัดพราก มักผิดหวังเรื่องความรัก คู่ครองมักต่างชาติต่างศาสนา
มรณะ มักชอบในการสอนสั่งผู้อื่น ไม่สนใจทรัพย์สิน เป็นคนรู้จักปล่อยวาง คู่ครองมักชอบสร้างปัญหาให้ มักมีโรคแบบแปลกๆ ยุ่งยากเรื่องมรดก มักสนใจใฝ่รู้เรื่องศาสนา
ศุภะ มักยึดตนเองเป็นใหญ่ ดื้อรั้น ชีวิตมักลุ่มๆดอนๆ ไม่ค่อยมีระเบียบ การดำเนินชีวิตมักยุ่งยาก มักต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น
กัมมะ มักชอบทำอะไรแผลงๆ ความรู้เยอะแต่มักนำไปใช้ไม่ค่อยได้ มักมีอาชีพที่เกี่ยวพันกับสิ่งลี้ลับ เกี่ยวกับศาสนา การงานมักมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย รักอิสระ
ลาภะ ไม่ค่อยสนใจใส่ใจกับเรื่องรายได้รายจ่ายมากนัก เป็นคนสมถะรักสันโดษ ชอบสะสมของโบราณ เคร่งครัดในศาสนา มักหลงใหลในศาสตร์ลี้ลับ
วินาสน์ เป็นคนชอบสงวนท่าที มักชอบเก็บตัว มักมีโรคประจำตัว มีมรสุมชีวิตมาก มักประสบกับเหตุการณ์แปลกๆบ่อย
เกตุในราศีเมษ มักใจเร็วด่วนได้ นิสัยผีเข้าผีออก ชอบทำให้ผู้อื่นแปลกใจ ใครดีมักตอบแทนบุญคุณ ใครร้ายร้ายกลับอย่างขาดใจ
เกตุในราศีพฤษภ มักบ้าหาทรัพย์ ชอบสะสมของแปลกๆ ชอบทำอะไรไม่ค่อยซ้ำแบบใคร
เกตุในราศีเมถุน มักเป็นคนพูดมากเกินไปหน่อย คิดมากไปหน่อย อยู่ไม่ค่อยสุข
เกตุในราศีกรกฎ เป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว ขี้หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ใจร้อน
เกตุในราศีสิงห์ มักถือยศถือศักดิ์ ชอบเอาชนะผู้อื่น ชอบทำใจดีสู้เสือ
เกตุในราศีกันย์ ชอบรับใช้ผู้อื่นและไม่ชอบอยู่ติดบ้าน แต่กลับมากินข้าวบ้านตัวเอง มักทำงานหาเงินเพื่อผู้อื่น
เกตุในราศีตุลย์ เป็นคนจู้จี้จุกจิกในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตน อารมณ์มักขุ่นมัว เวลาลงได้รักใครแล้วมักรักแบบหัวปักหัวปรำ
เกตุในราศีพิจิก อายุยืน แต่มักชอบวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ นิสัยธรรมธรรมโม มักยุ่งยากเกี่ยวกับเรื่องความรัก วาจาเปลี่ยนแปลงง่าย ชอบทำอะไร 2 อย่างในเวลาเดียวกัน
เกตุในราศีธนู เป็นคนปัญญาดี เป็นนักค้นคว้าบ้าวิชา แต่มักชอบขัดใจผู้ใหญ่ มักชอบเสียสละเพื่อผู้อื่น
เกตุในราศีมกร ชอบทำงานแปลกๆ มักขยันจนตัวตาย มักทำงานที่ตนรัก และ เป็นคนรักความสงบ
เกตุในราศีกุมภ์ เป็นคนเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มักตกเป็นเหยื่อคนเลวได้ง่าย มักถูกอิจฉาริษยา แต่เป็นคนไม่เสียดายทรัพย์
เกตุในราศีมีน เป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว มักนอกรีตนอกรอย มักเชื่อผู้อื่นมากกว่าญาติตน ญาติพี่น้องมักเบียดเบียน เป็นคนสู้ชีวิตมีความมานะอดทนสูง เมื่อเล็กลำบาก แก่ตัวจึงดี
พระเกตุไทยในเรือนต่างๆ
ตนุ มักพัวพันเกี่ยวกับวัดวาอาราม เกี่ยวกับศาสนาสิ่งลี้ลับ ชอบประดิษฐ์คิดค้น มักมีปมด้อย เป็นคนขยันเอาจริงเอาจัง ผมมักบาง
กดุมภะ มักเก็บทรัพย์ไม่ค่อยอยู่ ชีวิตมักวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ชอบสะสมของเก่าโบราณ
สหัชชะ การติดต่อเจรจา การเดินทางมักยุ่งยาก คนบ้านใกล้เรือนเคียงมักไม่ค่อยถูกกัน ขาดการสนับสนุนจากญาติพี่น้อง
พันธุ พึ่งญาติพี่น้องไม่ค่อยได้ ชอบการเที่ยวเตร่ รักสนุกไม่ชอบอยู่ติดบ้านนานๆ ไม่ค่อยลงรอยกับญาติพี่น้อง
ปุตตะ ไม่ค่อยสนใจการศึกษาเท่าที่ควร อารมณ์มักขุ่นมัว การเสี่ยงโชคไม่สู้ดี เดือดร้อนเพราะบุตร มักได้บุตรแฝด
อริ เป็นคนขี้หงุดหงิด มักหุนหันพลันแล่น มีโรคประจำตัวสุขภาพไม่สู้ดี บริวารมักนำความเดือดร้อนมาให้
ปัตนิ คู่สัญญามักไม่สู้ดีมักมีปัญหากันบ่อย คู่ครองความรักมักมีอุปสรรคพลัดพราก มักผิดหวังเรื่องความรัก คู่ครองมักต่างชาติต่างศาสนา
มรณะ มักชอบในการสอนสั่งผู้อื่น ไม่สนใจทรัพย์สิน เป็นคนรู้จักปล่อยวาง คู่ครองมักชอบสร้างปัญหาให้ มักมีโรคแบบแปลกๆ ยุ่งยากเรื่องมรดก มักสนใจใฝ่รู้เรื่องศาสนา
ศุภะ มักยึดตนเองเป็นใหญ่ ดื้อรั้น ชีวิตมักลุ่มๆดอนๆ ไม่ค่อยมีระเบียบ การดำเนินชีวิตมักยุ่งยาก มักต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น
กัมมะ มักชอบทำอะไรแผลงๆ ความรู้เยอะแต่มักนำไปใช้ไม่ค่อยได้ มักมีอาชีพที่เกี่ยวพันกับสิ่งลี้ลับ เกี่ยวกับศาสนา การงานมักมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย รักอิสระ
ลาภะ ไม่ค่อยสนใจใส่ใจกับเรื่องรายได้รายจ่ายมากนัก เป็นคนสมถะรักสันโดษ ชอบสะสมของโบราณ เคร่งครัดในศาสนา มักหลงใหลในศาสตร์ลี้ลับ
วินาสน์ เป็นคนชอบสงวนท่าที มักชอบเก็บตัว มักมีโรคประจำตัว มีมรสุมชีวิตมาก มักประสบกับเหตุการณ์แปลกๆบ่อย
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
กลอนดาวอุจ
สูรเมษพฤษภเจ้า จันทร์อุจ เอี่ยมเอย
กรกฎครูกันย์พุธ ผ่องด้าว
ดุลเสาร์ส่วนราหุจ เลอพิจิก เจิดแฮ
ภุมม์มกรศุกร์ท้าว เทิดเบื้องมีนเฉลิม
หมายเหตุ
๑) อุจ แปลว่า สูง เนื่องจากดาวเคราะห์ในโหราศาสตร์ไทยของเรามีดาวเป็นอุจจาวิลาศอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่างจากอุจจาวิลาศจึงเรียกดาวอุจนี้ว่า มหาอุจ
ดาวเคราะห์ ถ้าบริสุทธิ์ก็ให้คุณแก่เจ้าชาตาดีนัก
๒) จำนวนของดาวอุจในดวงชาตา
ถ้ามี ๑ ดวง จะมี ข้าทาสมาก
ถ้ามี ๒ ดวง จะมีปัญญามาก มีทรัพย์มากกว่าญาติสองเท่า
ถ้ามี ๓ ดวง จะเป็นทหารเอก ประจญข้าศึกชนะ
ถ้ามี ๔ ดวง จะมีภรรยาดี ๆ มาก ๆ
ถ้ามี ๕ ดวง จะได้เป็นโหราจารย์ หรือเสนาบดี
๓) ดาว ๑ เป็นมหาอุจ จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก ชนะศัตรู มีมิตรดี ความรู้มาก มีวาสนายิ่งญาติ
ดาว ๒ เป็นมหาอุจ จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก เป็นที่รักแก่มหาชน อายุยืน ลูกหลานมาก
ดาว ๓ เป็นมหาอุจ เป็นผู้กล้าโวหาร โทโสร้ายหายเร็ว มีชื่อเสียง รบชนะ บริบูรณ์ด้วยอาหาร
ดาว ๔ มหาอุจ เป็นคนรูปงาม มีทรัพย์ มีสุข มีความรู้ดี ลูกเมีย บริวารมาก
ดาว ๗ หรือ ๘ เป็นมหาอุจ แรงด้วยโภคทรัพย์ ใจกร้าวกล้าแกร่ง มีอำนาจวาสนา มีลูกดีสมใจ ชนะศัตรู อายุยืน
ดาว ๕ มหาอุจ มีปัญญา คนเกลียดน้อย เพราะว่าเป็นผู้มีไมตรีทำแต่ประโยชน์ให้ จะไปที่ใดย่อมมีลาภ คผู้ใหญ่ ครูอาจารย์รักมาก
ดาว ๖ มหาอุจ เป็นผู้มีทรัพย์ รู้ธรรม เรียบร้อย
กรกฎครูกันย์พุธ ผ่องด้าว
ดุลเสาร์ส่วนราหุจ เลอพิจิก เจิดแฮ
ภุมม์มกรศุกร์ท้าว เทิดเบื้องมีนเฉลิม
หมายเหตุ
๑) อุจ แปลว่า สูง เนื่องจากดาวเคราะห์ในโหราศาสตร์ไทยของเรามีดาวเป็นอุจจาวิลาศอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่างจากอุจจาวิลาศจึงเรียกดาวอุจนี้ว่า มหาอุจ
ดาวเคราะห์ ถ้าบริสุทธิ์ก็ให้คุณแก่เจ้าชาตาดีนัก
๒) จำนวนของดาวอุจในดวงชาตา
ถ้ามี ๑ ดวง จะมี ข้าทาสมาก
ถ้ามี ๒ ดวง จะมีปัญญามาก มีทรัพย์มากกว่าญาติสองเท่า
ถ้ามี ๓ ดวง จะเป็นทหารเอก ประจญข้าศึกชนะ
ถ้ามี ๔ ดวง จะมีภรรยาดี ๆ มาก ๆ
ถ้ามี ๕ ดวง จะได้เป็นโหราจารย์ หรือเสนาบดี
๓) ดาว ๑ เป็นมหาอุจ จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก ชนะศัตรู มีมิตรดี ความรู้มาก มีวาสนายิ่งญาติ
ดาว ๒ เป็นมหาอุจ จะเป็นผู้มีทรัพย์มาก เป็นที่รักแก่มหาชน อายุยืน ลูกหลานมาก
ดาว ๓ เป็นมหาอุจ เป็นผู้กล้าโวหาร โทโสร้ายหายเร็ว มีชื่อเสียง รบชนะ บริบูรณ์ด้วยอาหาร
ดาว ๔ มหาอุจ เป็นคนรูปงาม มีทรัพย์ มีสุข มีความรู้ดี ลูกเมีย บริวารมาก
ดาว ๗ หรือ ๘ เป็นมหาอุจ แรงด้วยโภคทรัพย์ ใจกร้าวกล้าแกร่ง มีอำนาจวาสนา มีลูกดีสมใจ ชนะศัตรู อายุยืน
ดาว ๕ มหาอุจ มีปัญญา คนเกลียดน้อย เพราะว่าเป็นผู้มีไมตรีทำแต่ประโยชน์ให้ จะไปที่ใดย่อมมีลาภ คผู้ใหญ่ ครูอาจารย์รักมาก
ดาว ๖ มหาอุจ เป็นผู้มีทรัพย์ รู้ธรรม เรียบร้อย
พระเกตุ ๙ มหาอุจ
ดาวเกตุ เป็นมหาอุจ ณ ตำแหน่งที่อยู่ในช่องว่างของทั้ง ๔ ราศี คือ ๒(มิถุน) ๔(สิงห์) ๘(ธนู) และ ๑0 (กุมภ์)
ผล: ผู้ใดมีพระ ๙ อยู่ในตำแหน่งมหาอุจ จะได้เป็นขุนนาง มีความสุชมาก
ผล: ผู้ใดมีพระ ๙ อยู่ในตำแหน่งมหาอุจ จะได้เป็นขุนนาง มีความสุชมาก
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เหนือดวงชาตา
อันที่จริงคนเรานั้นถ้าจิตใจไม่ว้าวุ่น ทำให้สงบแล้วก็เกือบจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พ้นจากความเป็นปุถุชันแล้ว แต่คนธรรมดานั้นจิตใจยากที่จะสงบระงับได้ การฟุ้งซ่านนี้เองที่เป็นเหตุให้คนเราถูกผูกมัดด้วยอำนาจพลังบวกและพลังลบของธรรมชาติ ทำให้ไม่มีอิสระเสรีต้องขึ้นอยู่กับดวงชาตาราศี และการโคจรของดวงดาวบนท้องฟ้าที่โหราจารย์ทั้งหลายได้ทำสถิติกันไว้ โหราศาสตร์จึงมีขึ้นด้วยเหตุนี้ก็มีแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้นที่ถูกกำหนดได้ตามวิชาโหราศาสตร์ แต่คนที่ทำแต่ความดีมาก ๆ แล้วชาตาชีวิตจะทำอะไรให้ได้ โหราศาสตร์ไม่อาจหยั่งเข้าไปถึงในกรรมดีหรือชั่วของคนเราหรอก วิชาโหราศาสตร์จึงยึดถือเป็นบรรทัดฐานไปทั้งหมดมิได้ คนดีแม้ชาตาชีวิตบ่งไว้ว่าจะไม่ดีอย่างไร แต่พลังแห่งกุศลธรรมนั้นใหญ่หลวงนัก สามารถพลิกความคาดหมายของโหราศาสตร์ได้ คนจนก็กลายเป็นคนรวยได้ คนอายุสั้นก็กลายเป็นคนอายุยืนได้
อ้างอิง : โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
อ้างอิง : โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
รหัสลับแห่งจักรวาล
รหัสลับแห่งจักรวาล
ดาวอาทิตย์ ราชาแห่งจักรวาล
ดาวจันทร์ ราชินีแห่งจักรวาล
ดาวอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม
ดาวพุธ เทพเจ้าผู้ชาญฉลาด
ดาวพฤหัส เทพเจ้าแห่งคุณธรรม
ดาวศุกร์ เทพเจ้าแห่งความรัก
ดาวเสาร์ เทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม
ดาวราหู คราสจันทรเทพ
ดาวอาทิตย์ ราชาแห่งจักรวาล
ดาวจันทร์ ราชินีแห่งจักรวาล
ดาวอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม
ดาวพุธ เทพเจ้าผู้ชาญฉลาด
ดาวพฤหัส เทพเจ้าแห่งคุณธรรม
ดาวศุกร์ เทพเจ้าแห่งความรัก
ดาวเสาร์ เทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม
ดาวราหู คราสจันทรเทพ
ราหูที่ปรากฏในวรรณคดี
... อาจารย์ เทพ สาริกบุตร กล่าวถึงราหู ในโหราศาสตร์ไทยในวรรณคดีว่า
“ใน ด้านที่เกี่ยวกับลัคนา ถ้าหากลัคนาสถิตในราศีเมษ พฤษภ กรกฎ และมีราหูกุมลัคน์ ราหูในตำแหน่งนี้จะส่งคุณให้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ราหูนี้เป็นจุดคราส อันเกิดจากอาทิตย์และจันทร์ และ เมื่อมาสถิตในเรือนอุจของตนเอง คือราศีเมษอันเป็นราศีอุจน์ของอาทิตย์ ราศีพฤษภ ก็เป็นราศีอุจน์ของจันทร์ ผลของอุจน์จึงบันดาลอิทธิพลให้ ส่วนราศีกรกฎนั้นเล่า ก็เป็นเรือนอุจน์ของพฤหัสบดีอันเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ก็ย่อมจะบันดาลผลดีให้เช่นกัน ฉะนั้นท่านโบราณาจารย์จึงวางตำรับไว้ว่า
“อสุรินทร์มาตร์แม้น กุมลัคน์
เมษ พฤษภ ตามจักร เลิศแล้ว
ชาตินั้นย่อมทรงศักดิ์ ยศยิ่ง หมื่นนา
เป็นทหารชาญแกล้ว ยุทธกล้ากลางณรงค์ ฯลฯ”
“ใน ด้านที่เกี่ยวกับลัคนา ถ้าหากลัคนาสถิตในราศีเมษ พฤษภ กรกฎ และมีราหูกุมลัคน์ ราหูในตำแหน่งนี้จะส่งคุณให้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ราหูนี้เป็นจุดคราส อันเกิดจากอาทิตย์และจันทร์ และ เมื่อมาสถิตในเรือนอุจของตนเอง คือราศีเมษอันเป็นราศีอุจน์ของอาทิตย์ ราศีพฤษภ ก็เป็นราศีอุจน์ของจันทร์ ผลของอุจน์จึงบันดาลอิทธิพลให้ ส่วนราศีกรกฎนั้นเล่า ก็เป็นเรือนอุจน์ของพฤหัสบดีอันเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ก็ย่อมจะบันดาลผลดีให้เช่นกัน ฉะนั้นท่านโบราณาจารย์จึงวางตำรับไว้ว่า
“อสุรินทร์มาตร์แม้น กุมลัคน์
เมษ พฤษภ ตามจักร เลิศแล้ว
ชาตินั้นย่อมทรงศักดิ์ ยศยิ่ง หมื่นนา
เป็นทหารชาญแกล้ว ยุทธกล้ากลางณรงค์ ฯลฯ”
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552
มรณะกับสัตตเลข
ในบทนิยามศัพท์ของคำว่า "มรณะ" ซึ่งเป็นนิยามอันดับที่ ๑ ในฐานที่ ๓ (ฐานปี) ซึ่งกำหนดเรื่องราว หรือ concepts ของเรื่องไว้ดังนี้
มรณะ: ความตาย สูญเสีย รั่วไหล ห่างไกล ล้มเหลว พลัดพราก การป่วยหนัก
มรณะใน concept ที่กล่าวไว้นี้มันจะมีความหมายอย่างเช่นที่กล่าวไว้นี้จริงจริง ถ้าในบริบทของดวงจร แต่ถ้าในสถานะที่ยังคงเป็น ดวงเดิม อยู่ คือยังเป็นช่วงที่ยังมิได้มีการพยากรณ์อะไรเลยนั้น มรณะจะไม่มีความหมายในลักษณะ ความตายเช่นที่ว่าไว้ แต่จะหมายถึง "รากฐาน หรือ พื้นฐาน ของชีวิต" ทั้งนี้เพราะในดวงเดิมนั้นชีวิตยังไม่มีการดำเนินการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย จะตายมาตั้งแต่เกิดได้อย่างไร ดังนั้น "มรณะ" ในดวงเดิม จึงหมายถึงรากฐานของชีวิตของเจ้าชาตานั้นและมาตรฐานดังกล่าวนั้นก็จะดำรงคงอยู่กับตัวเจ้าชาตาตลอดไป ตัวเลขที่ปรากฏในนิยามนั้นจะเป็นตัวชี้วัด หรือบ่งบอกความเป็นไปหรือครรลองแห่งชีวิตของเขาว่าจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ดีหรือเลว สำเร็จหรือล้มเหลว ก็ใช้ตัวเลข ณ ตำแหน่งนี้แหละเป็นตัวบ่งชี้
มรณะ: ความตาย สูญเสีย รั่วไหล ห่างไกล ล้มเหลว พลัดพราก การป่วยหนัก
มรณะใน concept ที่กล่าวไว้นี้มันจะมีความหมายอย่างเช่นที่กล่าวไว้นี้จริงจริง ถ้าในบริบทของดวงจร แต่ถ้าในสถานะที่ยังคงเป็น ดวงเดิม อยู่ คือยังเป็นช่วงที่ยังมิได้มีการพยากรณ์อะไรเลยนั้น มรณะจะไม่มีความหมายในลักษณะ ความตายเช่นที่ว่าไว้ แต่จะหมายถึง "รากฐาน หรือ พื้นฐาน ของชีวิต" ทั้งนี้เพราะในดวงเดิมนั้นชีวิตยังไม่มีการดำเนินการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย จะตายมาตั้งแต่เกิดได้อย่างไร ดังนั้น "มรณะ" ในดวงเดิม จึงหมายถึงรากฐานของชีวิตของเจ้าชาตานั้นและมาตรฐานดังกล่าวนั้นก็จะดำรงคงอยู่กับตัวเจ้าชาตาตลอดไป ตัวเลขที่ปรากฏในนิยามนั้นจะเป็นตัวชี้วัด หรือบ่งบอกความเป็นไปหรือครรลองแห่งชีวิตของเขาว่าจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ ดีหรือเลว สำเร็จหรือล้มเหลว ก็ใช้ตัวเลข ณ ตำแหน่งนี้แหละเป็นตัวบ่งชี้
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552
คู่ดาวในมหาสัตตเลข
ดาวุคู่มิตร จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีดังนี้
๑-๕
๒-๔
๓-๖
๗-๘
ดาวคู่ศัตรู จะหักล้างบ่อนเบียนกัน มีดังนี้
๑-๓
๒-๕
๔-๘
๖-๗
ดาวคู่ธาตุ คล้ายกับดาวคู่มิตร แต่ความสัมพันธ์กันนั้นจะเสมือนกับเป็นญาติมากกว่าที่จะเป็นเพื่อน คือจะลึกซึ้งนุ่มนวลกว่า และจะหมายถึงความเป็นปึกแผ่นมั่นคงกว่า ดาวคู่ธาตุมดังนี้
๑-๗
๒-๕
๓-๘
๔-๖
ดาวคู่สมพล สมพลแปลว่ามีกำลังเสมอ ซึ่งจะหมายถึงดาวนั้นทรงพลังมากกว่าที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว การรวมตัวของดาวคู่สมพลก็คือเป็นดาวที่ทรงพลังนั่นเอง เช่นดาวอาทิตย์(๑) มาสัมพันธ์กับดาวศุกร์(๖) ในภพใด ก็หมายถีงภพนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น เช่นถ้ามาสัมพันธ์กันที่ "กัมมะ" ก็แสดงว่าอาชีพการงานที่เข้มแข็ง สัมพันธ์ที่ "ลาภะ" ก็หมายถึงความสำเร็จ หรือจะได้ลาภก้อนใหญ่ เช่นนี้เป็นต้น
ดาวคู่สมพลมีดังนี้
๑-๖
๒-๘
๓-๕
๔-๗
๑-๕
๒-๔
๓-๖
๗-๘
ดาวคู่ศัตรู จะหักล้างบ่อนเบียนกัน มีดังนี้
๑-๓
๒-๕
๔-๘
๖-๗
ดาวคู่ธาตุ คล้ายกับดาวคู่มิตร แต่ความสัมพันธ์กันนั้นจะเสมือนกับเป็นญาติมากกว่าที่จะเป็นเพื่อน คือจะลึกซึ้งนุ่มนวลกว่า และจะหมายถึงความเป็นปึกแผ่นมั่นคงกว่า ดาวคู่ธาตุมดังนี้
๑-๗
๒-๕
๓-๘
๔-๖
ดาวคู่สมพล สมพลแปลว่ามีกำลังเสมอ ซึ่งจะหมายถึงดาวนั้นทรงพลังมากกว่าที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว การรวมตัวของดาวคู่สมพลก็คือเป็นดาวที่ทรงพลังนั่นเอง เช่นดาวอาทิตย์(๑) มาสัมพันธ์กับดาวศุกร์(๖) ในภพใด ก็หมายถีงภพนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น เช่นถ้ามาสัมพันธ์กันที่ "กัมมะ" ก็แสดงว่าอาชีพการงานที่เข้มแข็ง สัมพันธ์ที่ "ลาภะ" ก็หมายถึงความสำเร็จ หรือจะได้ลาภก้อนใหญ่ เช่นนี้เป็นต้น
ดาวคู่สมพลมีดังนี้
๑-๖
๒-๘
๓-๕
๔-๗
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ภูมิพยากรณ์ในมหาสัตตฯ
บูรพาจารย์ได้ให้นิยามศัพท์เฉพาะแห่ง ภพภูมิการพยากรณ์ ทั้ง ๒๑ ตำแหน่งไว้ดังนี้
ตำแหน่งภพของฐานวัน: อัตตะ หินะ ธนัง ปิตา มาตา โภคา มัชฌิมา
ตำแหน่งภพของฐานเดือน: ตนุ กดุมพะ สหัชชะ พันธุ ปุตตะ อริ ปัตนิ
ตำแหน่งภพของฐานปี: มรณะ ศุภะ กัมมะ ลาภะ พยายะ ทาสี ทาสา
บทนิยาม
ฐานที่ ๑
(๑) อัตตะ : ตัวเอง ความเป็นตัวตน สิ่งที่เป็นของตน วาสนาชีวิต
(๒) หินะ: ความชั่วร้าย ตำหนิ ความบกพร่อง ความด้อย โทษ
(๓) ธนัง: เงินตรา เงินที่ออมไว้ ทรัพย์สมบัติ ฐานะ
(๔) ปิตา: บิดา ผู้ใหญ่ชาย ผู้ปกป้องชาย ที่พึ่ง ส่วนภายนอก
(๕) มาตา: มารดา ผู้ใหญ่หญิง ผู้ปกป้องหญิง ที่พึ่ง ส่วนภายใน
(๖) โภคา: ทรัพย์สมบัติ ฐานาความเป็นอยู่ อสังหาริมทรัพย์
(๗) มัชฌิมา: ปานกลาง ส่วนกลาง ปกติ สาธารณะ ส่วนรวม
ฐานที่ ๒
(๘) ตนุ : ตัวตนในปัจจุบัน วาสนา ภาวะการครองชีพ ส่วนตัว
(๙) กดุมพะ: การเงิน สิ่งที่ได้มา หลักทรัพย์
(๑0) สหัชชะ: สังคม มิตรสหาย การติดต่อข่าวสาร เดินทางใกล้ ๆ พี่น้อง
(๑๑) พันธุ: ญาติพื่น้อง ครอบครัว บ้าน ที่ดิน ยานพาหนะ ถิ่นเกิด เผ่าพันธ์ุุ การค้ำประกัน ความมั่นคง ความผูกพัน พันธกรณี
(๑๒) ปุตตะ: บุตร เด็ก ๆ ที่อ่อนกว่า การเกิดใหม่ การเสี่ยง ความรักใคร่ ความบันเทิงสนุกสนาน ชื่อเสียงเกียรติยศการรับจ้าง
(๑๓) อริ : ศัตรู อุปสรรคต่าง ๆ การเจ็บป่วย หนี้สิน คนใช้ ขัดแย้ง
(๑๔) ปัตนิ : คู่ครอง หุ้นส่วน ความร่วมมือ สิ่งตรงข้าม ซอยเป็นส่วน ๆ
ฐานที่ ๓
(๑๕) มรณะ: ความตาย สูญเสีย รั่วไหล ห่างไกล ล้มเหลว พลัดพราก การป่วยหนัก
(๑๖) ศุภะ: เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ต่างประเทศ ต่างถิ่น เดินทางไกล ผู้ที่เหนือ ผู้บังคับบัญชา ผู้อุปถัมภ์ ที่พึ่ง บ้านหลังใหม่
(๑๗) กัมมะ: อาชีพการงาน การกระทำ กรรมเก่า ความทุกข์ โชคเคราะห์
(๑๘) ลาภะ: ลาภ สิ่งที่ได้มาง่าย ความหวัง ความสมหวัง ความโลภ สิ่งที่เชื่อมโยง ความยินดี
(๑๙) พยายะ: การป่วยไข้ ความเสื่อม ความเร้นลับอำพราง ปัญหาที่คาดไม่ถึง คดีความ การถูกคุมขัง ความลับ
(๒0) ทาสี: ความเหนื่อยยากเพื่อตัวเอง ผู้ที่ต่ำกว่า ความมุ่งมั่น
(๒๑) ทาสา: ผู้อื่น เหนื่อยเพื่อผู้อื่น ความเลื่อนลอย เกี่ยวพันกับผู้อื่น แพ้
ตำแหน่งภพของฐานวัน: อัตตะ หินะ ธนัง ปิตา มาตา โภคา มัชฌิมา
ตำแหน่งภพของฐานเดือน: ตนุ กดุมพะ สหัชชะ พันธุ ปุตตะ อริ ปัตนิ
ตำแหน่งภพของฐานปี: มรณะ ศุภะ กัมมะ ลาภะ พยายะ ทาสี ทาสา
บทนิยาม
ฐานที่ ๑
(๑) อัตตะ : ตัวเอง ความเป็นตัวตน สิ่งที่เป็นของตน วาสนาชีวิต
(๒) หินะ: ความชั่วร้าย ตำหนิ ความบกพร่อง ความด้อย โทษ
(๓) ธนัง: เงินตรา เงินที่ออมไว้ ทรัพย์สมบัติ ฐานะ
(๔) ปิตา: บิดา ผู้ใหญ่ชาย ผู้ปกป้องชาย ที่พึ่ง ส่วนภายนอก
(๕) มาตา: มารดา ผู้ใหญ่หญิง ผู้ปกป้องหญิง ที่พึ่ง ส่วนภายใน
(๖) โภคา: ทรัพย์สมบัติ ฐานาความเป็นอยู่ อสังหาริมทรัพย์
(๗) มัชฌิมา: ปานกลาง ส่วนกลาง ปกติ สาธารณะ ส่วนรวม
ฐานที่ ๒
(๘) ตนุ : ตัวตนในปัจจุบัน วาสนา ภาวะการครองชีพ ส่วนตัว
(๙) กดุมพะ: การเงิน สิ่งที่ได้มา หลักทรัพย์
(๑0) สหัชชะ: สังคม มิตรสหาย การติดต่อข่าวสาร เดินทางใกล้ ๆ พี่น้อง
(๑๑) พันธุ: ญาติพื่น้อง ครอบครัว บ้าน ที่ดิน ยานพาหนะ ถิ่นเกิด เผ่าพันธ์ุุ การค้ำประกัน ความมั่นคง ความผูกพัน พันธกรณี
(๑๒) ปุตตะ: บุตร เด็ก ๆ ที่อ่อนกว่า การเกิดใหม่ การเสี่ยง ความรักใคร่ ความบันเทิงสนุกสนาน ชื่อเสียงเกียรติยศการรับจ้าง
(๑๓) อริ : ศัตรู อุปสรรคต่าง ๆ การเจ็บป่วย หนี้สิน คนใช้ ขัดแย้ง
(๑๔) ปัตนิ : คู่ครอง หุ้นส่วน ความร่วมมือ สิ่งตรงข้าม ซอยเป็นส่วน ๆ
ฐานที่ ๓
(๑๕) มรณะ: ความตาย สูญเสีย รั่วไหล ห่างไกล ล้มเหลว พลัดพราก การป่วยหนัก
(๑๖) ศุภะ: เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ต่างประเทศ ต่างถิ่น เดินทางไกล ผู้ที่เหนือ ผู้บังคับบัญชา ผู้อุปถัมภ์ ที่พึ่ง บ้านหลังใหม่
(๑๗) กัมมะ: อาชีพการงาน การกระทำ กรรมเก่า ความทุกข์ โชคเคราะห์
(๑๘) ลาภะ: ลาภ สิ่งที่ได้มาง่าย ความหวัง ความสมหวัง ความโลภ สิ่งที่เชื่อมโยง ความยินดี
(๑๙) พยายะ: การป่วยไข้ ความเสื่อม ความเร้นลับอำพราง ปัญหาที่คาดไม่ถึง คดีความ การถูกคุมขัง ความลับ
(๒0) ทาสี: ความเหนื่อยยากเพื่อตัวเอง ผู้ที่ต่ำกว่า ความมุ่งมั่น
(๒๑) ทาสา: ผู้อื่น เหนื่อยเพื่อผู้อื่น ความเลื่อนลอย เกี่ยวพันกับผู้อื่น แพ้
ดวงดาวในมหาสัตตเลข
พระ ๑ ดาวอาทิตย์ หมายถึง ยศศักดิ์ ความยิ่งใหญ่ ความร้อน
พระ ๒ ดาวจันทร์ หมายถึง ความอ่อนโยน แบบบาง การบริการ
พระ ๓ ดาวอังคาร หมายถึง กล้าหาญ ขยัน วู่วาม แข็งแรง
พระ ๔ ดาวพุธ หมายถึง การปรับตัว ความปรวนแปร คำพูดและข่าวสาร ไหวพริบปฏิภาณ
พระ ๕ ดาวพฤหัสบดี หมายถึง คุณธรรม วิชาการ ผู้ใหญ่ ที่พึ่ง ปัญญา
พระ ๖ ดาวศุกร์ หมายถึง ความร่าเริง ศิลปะ สิ่งสวยงาม ความรัก เงิน
พระ ๗ ดาวเสาร์ หมายถึง ความทุกข์กังวล เหนื่อยยาก ตระหนี่ สุขุม
เราอาจใช้บทกลอนในโหราศาสตร์ไทยช่วยจำได้ ดังนี้
ยศศักดิ์ทายอาทิตย์
รูปจริตทายจันทร์
กล้าแข็งขันทายอังคาร
เจรจาอ่อนหวานทายพุธ
ปัญญาบริสุทธิ์ทายพฤหัสฯ
กิเลสกำหนัดทายศุกร์
โทษทุกข์ทายเสาร์
พระ ๒ ดาวจันทร์ หมายถึง ความอ่อนโยน แบบบาง การบริการ
พระ ๓ ดาวอังคาร หมายถึง กล้าหาญ ขยัน วู่วาม แข็งแรง
พระ ๔ ดาวพุธ หมายถึง การปรับตัว ความปรวนแปร คำพูดและข่าวสาร ไหวพริบปฏิภาณ
พระ ๕ ดาวพฤหัสบดี หมายถึง คุณธรรม วิชาการ ผู้ใหญ่ ที่พึ่ง ปัญญา
พระ ๖ ดาวศุกร์ หมายถึง ความร่าเริง ศิลปะ สิ่งสวยงาม ความรัก เงิน
พระ ๗ ดาวเสาร์ หมายถึง ความทุกข์กังวล เหนื่อยยาก ตระหนี่ สุขุม
เราอาจใช้บทกลอนในโหราศาสตร์ไทยช่วยจำได้ ดังนี้
ยศศักดิ์ทายอาทิตย์
รูปจริตทายจันทร์
กล้าแข็งขันทายอังคาร
เจรจาอ่อนหวานทายพุธ
ปัญญาบริสุทธิ์ทายพฤหัสฯ
กิเลสกำหนัดทายศุกร์
โทษทุกข์ทายเสาร์
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ฐานบวกของระบบสัตตเลข
ในระบบสัตตเลข หรือเลข ๗ ตัว ตัวเลขในฐานบวก (ฐานที่ ๔) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่ใช้บูรณาการเข้าไปกับคำทำนาย เพื่อให้เกิดความชัดเจน มีน้ำหนักและเหตุผลในสาระคำทำนายมากขึ้น ซึ่งนักพยากรณ์ที่ใช้ระบบสัตเลขควร จดจำ เข้าใจ เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทการทำนายที่เผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม
เลข ๓ คือ อังคารเล็ก
เลข ๔ คือ พุธเล็ก
เลข ๕ คือ พฤหัสฯเล็ก
เลข ๖ คือ ดาวศุกร์/กำลังพระอาทิตย์
เลข ๗ คือ เสาร์เล็ก
เลข ๘ คือ ราหู/กำลังพระอาทิตย์
เลข ๙ คือ พระเกตุ : การส่งเสริมเร่งเร้า จิตวิญญาณ โชคเคราะห์ที่อุบัติโดยไม่คาดหมาย ต่างชาติต่างถิ่น พลังเร้นลับ อานุภาพที่มองไม่เห็น
เลข ๑0 คือ กำลังดาวเสาร์ : ความทุกข์ ความเหนื่อยยาก ความเนินช้า ความเก่าแก่ ความสุขุมรอบคอบ
เลข ๑๑ คือ ราชาโชค (การมีโชคโดยไม่เหนื่อยมาก) สองเท่า ซ้ำซาก
เลข ๑๒ คือ ราหู : ความลุ่มหลงมัวเมา อบายมุข ความมืดมัว
เลข ๑๓ คือ มหาอุจจ์: ความสูงส่ง พลังหนุน ความใสสว่าง เกียรติยศชื่อเสียง จำนวนมาก
เลข ๑๔ คือ จักรพรรดิ์ : ความยิ่งใหญ่(ไม่สูงสุด) ความสำเร็จ ความมาก
เลข ๑๕ คือ กำลังของดาวจันทร์(ความหมายดุจเดียวกับดาวจันทร์)
เลข ๑๖ คือ โสฬส : ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข สุรุ่ยสุร่าย
เลข ๑๗ คือ กำลังดาวพุธ (ความหมายเดียวกับดาวพุธ)
เลข ๑๘ คือ มหาจักรพรรดิ : ความยิ่งใหญ่สมอัตภาพ สิ่งสูงสุด จมไม่ลง อำนาจ ความมากมาย
เลข ๑๙ คือ กำลังดาวพฤหัสฯ(ความหมายเดียวกับดาวพฤหัสฯ)
เลข ๒0 คือ เสาร์พหุ : ความเหนื่อยยากมาก ทุกข์หนัก ผิดหวัง ขมขื่น
เลข ๒๑ คือ กำลังดาวศุกร์(ความหมายเดียวกับดาวศุกร์) ความรัก การเงิน ความสนุกสนานร่าเริง ความสวยงาม ศิลปะ
เลข ๓ คือ อังคารเล็ก
เลข ๔ คือ พุธเล็ก
เลข ๕ คือ พฤหัสฯเล็ก
เลข ๖ คือ ดาวศุกร์/กำลังพระอาทิตย์
เลข ๗ คือ เสาร์เล็ก
เลข ๘ คือ ราหู/กำลังพระอาทิตย์
เลข ๙ คือ พระเกตุ : การส่งเสริมเร่งเร้า จิตวิญญาณ โชคเคราะห์ที่อุบัติโดยไม่คาดหมาย ต่างชาติต่างถิ่น พลังเร้นลับ อานุภาพที่มองไม่เห็น
เลข ๑0 คือ กำลังดาวเสาร์ : ความทุกข์ ความเหนื่อยยาก ความเนินช้า ความเก่าแก่ ความสุขุมรอบคอบ
เลข ๑๑ คือ ราชาโชค (การมีโชคโดยไม่เหนื่อยมาก) สองเท่า ซ้ำซาก
เลข ๑๒ คือ ราหู : ความลุ่มหลงมัวเมา อบายมุข ความมืดมัว
เลข ๑๓ คือ มหาอุจจ์: ความสูงส่ง พลังหนุน ความใสสว่าง เกียรติยศชื่อเสียง จำนวนมาก
เลข ๑๔ คือ จักรพรรดิ์ : ความยิ่งใหญ่(ไม่สูงสุด) ความสำเร็จ ความมาก
เลข ๑๕ คือ กำลังของดาวจันทร์(ความหมายดุจเดียวกับดาวจันทร์)
เลข ๑๖ คือ โสฬส : ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข สุรุ่ยสุร่าย
เลข ๑๗ คือ กำลังดาวพุธ (ความหมายเดียวกับดาวพุธ)
เลข ๑๘ คือ มหาจักรพรรดิ : ความยิ่งใหญ่สมอัตภาพ สิ่งสูงสุด จมไม่ลง อำนาจ ความมากมาย
เลข ๑๙ คือ กำลังดาวพฤหัสฯ(ความหมายเดียวกับดาวพฤหัสฯ)
เลข ๒0 คือ เสาร์พหุ : ความเหนื่อยยากมาก ทุกข์หนัก ผิดหวัง ขมขื่น
เลข ๒๑ คือ กำลังดาวศุกร์(ความหมายเดียวกับดาวศุกร์) ความรัก การเงิน ความสนุกสนานร่าเริง ความสวยงาม ศิลปะ
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ราหู ดาวร้าย
ถ้าราหูมีตำแหน่งเสียกับดวงชาตากำเนิด และเป็นอริ มรณะ และวินาศ เมื่อราหูโคจรมาสัมพันธ์กับลัคนา โดยทับลัคนา หรือเป็น ๕ , ๙
หรือเป็น ๓, ๑๑ และโคจรสัมพันธ์ถึงตนุลัคน์และตนุเศษ ก็ให้โทษทันทีเช่นกัน ดังที่บูรพาจารย์ได้กล่าวไว้ดังนี้
ราหูโคจรมาต้องลัคน์
แม้สูงศักดิ์สุราลัย
จะจากยศไกร
ให้ร้อนใจไฟเผาผลาญ ฯ
อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า
ราหูประทับลัคน์
ระบัดมักอริรอน
อย่าพลั้งเล่ห์คนวอน
กิจะรับธุระพาล
จงคุณจะคืนโทษ
ทุรโยคประหนึ่งพราน
บินบอกทุรัสสถาน
ก็ประทุษฐะเบียนบีฑ์ฯ
หรือเป็น ๓, ๑๑ และโคจรสัมพันธ์ถึงตนุลัคน์และตนุเศษ ก็ให้โทษทันทีเช่นกัน ดังที่บูรพาจารย์ได้กล่าวไว้ดังนี้
ราหูโคจรมาต้องลัคน์
แม้สูงศักดิ์สุราลัย
จะจากยศไกร
ให้ร้อนใจไฟเผาผลาญ ฯ
อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า
ราหูประทับลัคน์
ระบัดมักอริรอน
อย่าพลั้งเล่ห์คนวอน
กิจะรับธุระพาล
จงคุณจะคืนโทษ
ทุรโยคประหนึ่งพราน
บินบอกทุรัสสถาน
ก็ประทุษฐะเบียนบีฑ์ฯ
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ดาวพลจันทร์
ในราศี พฤษภ กรกฎ ตุลย์ พิจิก มังกร กุมภ์ รวม ๖ ราศี นี้ ถ้าจันทร์สถิตอยู่ในราศีนั้น ๆ ให้ชื่อว่า พลจันทร์ หมายถึงจันทร์นั้นมีกำลังจะให้ผล จะมีลาภ มีทรัพย์มาก
พลังแห่งมุมสัมพันธ์
๑. ดาวกุมกัน ส่งผลต่อกัน ๑oo%
ถ้ากุมลัคน์หรือร่วมลัคน์ ส่งผลลัคน์ ๕o%
๒. ดาวเล็งกัน ส่งผลให้กำลังแก่กัน ๑oo%
ถ้าเล็งลัคนา (เป็น ๗ แก่ลัคนา) ถ่ายพลังแก่ลัคน์ ๗๕%
๓. ดาวเป็นโยค เป็น ๓ ราศีแก่กัน ส่งผลแก่กัน ๒๕%
โยคหน้า และ หลัง ลัคน์ ส่งผลแก่ลัคน์ ๑oo%
๔. ดาวตรีโกณกัน นับ ๕ ราศีระหว่างกัน ส่งกำลังแก่กัน ๕o%
ถ้าตรีโกณแก่ลัคน์ ส่งพลังแก่ลัคน์ ๗๕%
หมายเหตุ โหรตะวันตก ถือว่าดาวที่เป็นคุณต่อกันนั้นเฉพาะในตำแหน่งที่เป็น ๓ ๕ ๙ ๑๑
ถ้ากุมลัคน์หรือร่วมลัคน์ ส่งผลลัคน์ ๕o%
๒. ดาวเล็งกัน ส่งผลให้กำลังแก่กัน ๑oo%
ถ้าเล็งลัคนา (เป็น ๗ แก่ลัคนา) ถ่ายพลังแก่ลัคน์ ๗๕%
๓. ดาวเป็นโยค เป็น ๓ ราศีแก่กัน ส่งผลแก่กัน ๒๕%
โยคหน้า และ หลัง ลัคน์ ส่งผลแก่ลัคน์ ๑oo%
๔. ดาวตรีโกณกัน นับ ๕ ราศีระหว่างกัน ส่งกำลังแก่กัน ๕o%
ถ้าตรีโกณแก่ลัคน์ ส่งพลังแก่ลัคน์ ๗๕%
หมายเหตุ โหรตะวันตก ถือว่าดาวที่เป็นคุณต่อกันนั้นเฉพาะในตำแหน่งที่เป็น ๓ ๕ ๙ ๑๑
ราหูโสภา
ราหู หรือพระ ๘ มักนิยมถือกันว่าเป็นมอด ด้วง แมลง หรือขวาน อยู่ที่ใดย่อมเสียกระทั่งบูรพาจารย์ ท่านกล่าวว่า " มัวเมาทายราหู" เป็นความจริงทีเดียว ราหูคือความมัวเมา แต่เราเอาคำว่ามัว มาแปลว่ามืดสลัวเป็นเงา ๆ หมายถึงค่ำมืดกลางคืนก็ได้ หรือแปลว่ากลุ้ม มึน หลง เพลิน เช่น มัวทำงานเพลิน หรือ มืด ครึ้ม ไม่แจ่มใส และเอาคำว่า เมา มาแปลว่ามีอาการสติฟั่นเฟือน เช่น เมาเหล้า มีอาการเบื่อคลื่นเหียน เช่น เมาคลื่น มีอาการหลงจนหมกมุ่น เช่น เมารัก ถือตัว เช่น เมายศ ฉะนั้นคำว่า มัวเป็นคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษ ส่วนคำว่า เมา เป็นกริยา สำหรับคำว่า ราหุ ร่าห์ ราหู เป็นนามชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขนาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราส หรือ จันทรคลาส เนื่องจากราหูอมไว้ แต่ในตำราโหรว่าเป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคล้ำ และราหูยังเป็นชื่อของปลาฉลามหัวฆ้อนชนิดหนึ่งด้วย
ถ้าเราเรียกคำรวมกันว่า "มัวเมาทายราหู" มีนัยลี้ลับอยู่มากมาย อาจเมาดี หรือ ไม่ดี ก็ได้ ให้ตรวจสอบจากราหูในดวงชาตากำเนิด ถ้าได้ตำแหน่งดี ให้ความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นคุณแก่ลัคนาก็เรยกว่า "ราหูโสภา" แต่ถ้าตรงกันข้าม ก็กล่าวว่า "ราหูไม่โสภา โลกาก็ไม่โสภี" ราหูมิใช่ดาวร้าย บ่อนทำลาย เสมอไป ราหูจึงแบ่งเป็น ๒ ชนิดตามนิสัย คือ ขาว และดำ โบราณจารย์ท่านได้วางบทโคลง ไว้ดังนี้
"อสุรินทร์มาตรแม้น กุมลัคน์
เมษ พฤษภ ตามจักร เลิศแล้ว
ชาตินั้นย่อมทรงศักดิ์ ยศยิ่ง หมื่นนา
เป็นทหารชาญแกล้ว ยุทธกล้ากลางณรงค์ "
คำโคลงนี้แสดงถึงราหูขาวให้คุณดี เป็นราหูโสภาทำให้โลกโสภี และในตำราดาวเคราะห์มาตรฐาน ก็วางตำแหน่งราหูดี ๆ ในหลายจุด เช่น
ราหู อยู่ในราศีกุมภ์เป็นเกษตร ทำให้ เมื่ออายุกลางคนไปแล้วจะรวยมากและมีเพื่อนฝูงมากมายในทุกชั้นชน
ราหู ในราศีพิจิก เป็นมหาอุจ ทำให้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมาก จะไปที่ใดก็มีพาหนะรองรับตลอด มใจกุศลไร้การพยาบาท
ราหู ในราศี ตุลย์ เป็นอุจจาวิลาศ ให้คุณทางเกียรติยศชื่อเสียง และเป็นราชาโชค ความรู้วิชาการต่าง ๆ เหมาะกับการเป็นทหาร นิยมของพวกนักเลง มีบริวารมากอาจเป็นเศรษฐี
ราหูในราศีมังกร เป็นมหาจักร ให้คุณทางอำนาจ มักมีชื่อเสียงร่ำรวยด้วย มอำนาจการปกครองดี มบริวารและพรรคพวกมาก มีโชคชัยชนะศัตรู
สำหรับราหูในราศี กรกฎ ตำแหน่งจุลจักร และราหูอยู่ในราศีเมษ ตำแหน่งเทวีโชค ถ้ากุมลัคนาจึงให้คุณแรงเป็นพิเศษ
ราหูในราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์ ทั้ง ๓ ราศีนี้เป็น "ปกินนะเกณฑ์" ทำให้เจ้าชาตามีีกำลังมาก
และราหูในราศี เมษ พฤษภ กุมภ์ ก็เป็นผลให้มีกำลังมากกล้าหาญ มีบุญวาสนา มีความสุขความเจริญมาก
ความดีของราหูมีอยู่มาก และยิ่งอยู่ในตำแหน่งดีแก่ดวงชาตากำเนิด หรือเป็น ๕ ๙ ๓ ๑๑ แก่ลัคนาหรือตนุลัคน์ ตนุเศษ ย่อมให้คุณต่าง ๆ ในระยะนั้น ๆ
ถ้าเราเรียกคำรวมกันว่า "มัวเมาทายราหู" มีนัยลี้ลับอยู่มากมาย อาจเมาดี หรือ ไม่ดี ก็ได้ ให้ตรวจสอบจากราหูในดวงชาตากำเนิด ถ้าได้ตำแหน่งดี ให้ความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นคุณแก่ลัคนาก็เรยกว่า "ราหูโสภา" แต่ถ้าตรงกันข้าม ก็กล่าวว่า "ราหูไม่โสภา โลกาก็ไม่โสภี" ราหูมิใช่ดาวร้าย บ่อนทำลาย เสมอไป ราหูจึงแบ่งเป็น ๒ ชนิดตามนิสัย คือ ขาว และดำ โบราณจารย์ท่านได้วางบทโคลง ไว้ดังนี้
"อสุรินทร์มาตรแม้น กุมลัคน์
เมษ พฤษภ ตามจักร เลิศแล้ว
ชาตินั้นย่อมทรงศักดิ์ ยศยิ่ง หมื่นนา
เป็นทหารชาญแกล้ว ยุทธกล้ากลางณรงค์ "
คำโคลงนี้แสดงถึงราหูขาวให้คุณดี เป็นราหูโสภาทำให้โลกโสภี และในตำราดาวเคราะห์มาตรฐาน ก็วางตำแหน่งราหูดี ๆ ในหลายจุด เช่น
ราหู อยู่ในราศีกุมภ์เป็นเกษตร ทำให้ เมื่ออายุกลางคนไปแล้วจะรวยมากและมีเพื่อนฝูงมากมายในทุกชั้นชน
ราหู ในราศีพิจิก เป็นมหาอุจ ทำให้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมาก จะไปที่ใดก็มีพาหนะรองรับตลอด มใจกุศลไร้การพยาบาท
ราหู ในราศี ตุลย์ เป็นอุจจาวิลาศ ให้คุณทางเกียรติยศชื่อเสียง และเป็นราชาโชค ความรู้วิชาการต่าง ๆ เหมาะกับการเป็นทหาร นิยมของพวกนักเลง มีบริวารมากอาจเป็นเศรษฐี
ราหูในราศีมังกร เป็นมหาจักร ให้คุณทางอำนาจ มักมีชื่อเสียงร่ำรวยด้วย มอำนาจการปกครองดี มบริวารและพรรคพวกมาก มีโชคชัยชนะศัตรู
สำหรับราหูในราศี กรกฎ ตำแหน่งจุลจักร และราหูอยู่ในราศีเมษ ตำแหน่งเทวีโชค ถ้ากุมลัคนาจึงให้คุณแรงเป็นพิเศษ
ราหูในราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์ ทั้ง ๓ ราศีนี้เป็น "ปกินนะเกณฑ์" ทำให้เจ้าชาตามีีกำลังมาก
และราหูในราศี เมษ พฤษภ กุมภ์ ก็เป็นผลให้มีกำลังมากกล้าหาญ มีบุญวาสนา มีความสุขความเจริญมาก
ความดีของราหูมีอยู่มาก และยิ่งอยู่ในตำแหน่งดีแก่ดวงชาตากำเนิด หรือเป็น ๕ ๙ ๓ ๑๑ แก่ลัคนาหรือตนุลัคน์ ตนุเศษ ย่อมให้คุณต่าง ๆ ในระยะนั้น ๆ
วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โคลงดาวเคราะห์คู่สมพล
ดาวคู่สมพล คือดาวที่มีกำลังรวมกัน เกิดขึ้นจากดาวสองดวงรวมกันอยู่ในราศีเดียวกัน หรือกุมกันในที่แห่งเดียวกันในราศีใดราศีหนึ่งซึ่งเป็นการรวมกำลังกันระหว่างดาวศุภเคราะห์กับดาวบาปเคราะห์ กำลังของดาวรวมกันแต่ละคู่จะเท่ากันกับจำนวนนักษัตรฤกษ์เป็น ๒๗ พอดี หรือเท่ากับฤกษ์ ๒๗ หมู่นั่นเอง
๑ กับ ๖ ๒ กับ ๘ ๓ กับ ๕ และ ๔ กับ ๗
ดาวคู่สมพล ถ้าอยู่ในราศีทวาร จะให้คุณเด่นประเสริฐนัก ถ้าอยู่ในตำแหน่งดีกับลัคนาด้วย จะส่งผลดี คือ
๑. ผู้นั้นจะมีวาสนาสูง ทำการงานสำเร็จได้ง่าย มีอุปสรรคน้อย หรือฟันฝ่าอุปสรรคลงได้เสมอ
๒. คนที่เป็นใหญ่เป็นโตมักจะมีดาวคู่สมพล หรือดาวคู่ธาตุ
ดาวเคราะห์คู่สมพลนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวคู่ฤกษ์ หรือ ดาวคู่ดาวฤกษ์ ท่านเขียนเป็นโคลงไว้ว่า
ระวิศุกร์เทพเจ้า ทวยแถลง
จันทร์ราหูสู่สำแดง เด่นชี้
ภุมม์ครูคู่พลแข็ง ขานเรียก สมพลนา
พุธเสาร์ดาวเยี่ยงนี้ ยิ่งล้ำกำลัง
๑ กับ ๖ ๒ กับ ๘ ๓ กับ ๕ และ ๔ กับ ๗
ดาวคู่สมพล ถ้าอยู่ในราศีทวาร จะให้คุณเด่นประเสริฐนัก ถ้าอยู่ในตำแหน่งดีกับลัคนาด้วย จะส่งผลดี คือ
๑. ผู้นั้นจะมีวาสนาสูง ทำการงานสำเร็จได้ง่าย มีอุปสรรคน้อย หรือฟันฝ่าอุปสรรคลงได้เสมอ
๒. คนที่เป็นใหญ่เป็นโตมักจะมีดาวคู่สมพล หรือดาวคู่ธาตุ
ดาวเคราะห์คู่สมพลนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวคู่ฤกษ์ หรือ ดาวคู่ดาวฤกษ์ ท่านเขียนเป็นโคลงไว้ว่า
ระวิศุกร์เทพเจ้า ทวยแถลง
จันทร์ราหูสู่สำแดง เด่นชี้
ภุมม์ครูคู่พลแข็ง ขานเรียก สมพลนา
พุธเสาร์ดาวเยี่ยงนี้ ยิ่งล้ำกำลัง
ข้อยกเว้นจากดาวเคราะห์
ข้อยกเว้นจากดาวเคราะห์ต่าง ๆ มีมากมาย ซึ่งเป็นกลเม็ดการพยากรณ์ของอาจารย์ ต่อไปนี้จะเป็นหลักการพิจารณาถึงข้อยกเว้นบางประการของดาวเคราะห์ที่ปรากฏในพื้นของดวงชาตาที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักพยากรณ์
1. ดาวที่ได้ตำแหน่ง ประหรือนิจแล้วเล็งกัน หมายถึง
ประ เล็ง ประ กลัับ เป็น เกษตร เช่น ดาวเสาร์ ในราศีกรกฎ(ประ) กับ ดาวจันทร์ในราศีมังกร (ประ)ท่านว่าทั้งคู่ เป็น เกษตร มิใช่ประ
นิจ เล็ง นิจ กลับ เป็นอุจ เช่น ดาวเสาร์ ในราศีเมษ (เป็นนิจ) กับ ดาวอาทิตย์ในราศีตุล (นิจ ) กลับ เป็น อุจ มิใช่นิจ
2. ดาวที่สลับเรือนเกษตรกัน ท่านว่าได้เกษตรเหมือนกัน เช่นดาวจันทร์ในราศีเมษ ดาวอังคารในราศีกรกฎ ท่านว่า ทั้งจันทร์และอังคารได้ตำแหน่งเกษตรให้คุณเหมือนกัน
3. ดาวที่ได้ตำแหน่ง ประ หรือ นิจ หากไปสถิตในเรือน อริ มรณะ วินาศ กับลัคนา ท่านว่ากลับให้คุณแก่เจ้าชาตา เพราะเข้า กฎ ลบ-ลบ กลายเป็นบวก
4. ดาวได้ตำแหน่งมาตรฐานทั้งสิบดวง ถ้าต่างดวงต่างได้ตำแหน่งแล้วสถิตเป็น ตรีโกณกัน หรือเล็งกัน จะให้คุณอย่างที่สุด เช่น ดาวจันทร์ในราศเมษ ดาวพุธในราศีสิงห์ ไต้ตำแหน่งมหาจักรทั้งคู่ ตามอำนาจของดวงดาวนั้น ทำให้เจ้าของชาตามเสน่ห์สมกับดาวคู่มิตรจริง ๆ หรือดาวพุธ กับ ดาวพฤหัสบดี เป็นเกษตรทั้งคู่เล็งกันนั้นดีมากให้คุณแรง ตัวหนึ่งตัวใดเป็นเจ้าเรือนกฎุมพะ หรือพันธุด้วยจะมีทรัพย์สมบัติมาก บางท่านมีที่ดินเป็นพัน ๆ ไร่ เรียกว่าราชาที่ดินทีีเดียว
5. ดาวที่ได้ตำแหน่งเกษตรนั้น ท่านว่าถึงอย่างไรก็ไม่เสีย แม้จะไปสถิตในเรือนอริ มรณะ วินาศ หรือได้ตำแหน่งพินทุบาศว์ ก็ไม่เสียทั้งนั้น ทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งความเป็นเกษตรอยู่วันยังค่ำ ถ้าดาวเกษตรเป็นเจ้าเรือนอริ มักจะมีร่างกายแข็งแรงปราศจากศัตรูรบกวน ถ้าอยู่มรณะก็มีีความสงบสุข ความสงบ ไม่ค่อยสร้อยเศร้า ถ้าอยู่วินาศก็ปาศจากความคับแค้นใจเว้นจากความนินาศฉิบหายเท่านั้น
6. มีดาวพิเศษสองดวง คือ ดวงจุลจักร กับ ดวงเทวีโชค ถ้ากุมลัคนาจึงจะให้คุณเต็มที่ คล้ายกับมหาจักร และราชาโชค ผิดกันบ้างเล็กน้อย เนื่องจากของใหญ่กับของเล็ก
1. ดาวที่ได้ตำแหน่ง ประหรือนิจแล้วเล็งกัน หมายถึง
ประ เล็ง ประ กลัับ เป็น เกษตร เช่น ดาวเสาร์ ในราศีกรกฎ(ประ) กับ ดาวจันทร์ในราศีมังกร (ประ)ท่านว่าทั้งคู่ เป็น เกษตร มิใช่ประ
นิจ เล็ง นิจ กลับ เป็นอุจ เช่น ดาวเสาร์ ในราศีเมษ (เป็นนิจ) กับ ดาวอาทิตย์ในราศีตุล (นิจ ) กลับ เป็น อุจ มิใช่นิจ
2. ดาวที่สลับเรือนเกษตรกัน ท่านว่าได้เกษตรเหมือนกัน เช่นดาวจันทร์ในราศีเมษ ดาวอังคารในราศีกรกฎ ท่านว่า ทั้งจันทร์และอังคารได้ตำแหน่งเกษตรให้คุณเหมือนกัน
3. ดาวที่ได้ตำแหน่ง ประ หรือ นิจ หากไปสถิตในเรือน อริ มรณะ วินาศ กับลัคนา ท่านว่ากลับให้คุณแก่เจ้าชาตา เพราะเข้า กฎ ลบ-ลบ กลายเป็นบวก
4. ดาวได้ตำแหน่งมาตรฐานทั้งสิบดวง ถ้าต่างดวงต่างได้ตำแหน่งแล้วสถิตเป็น ตรีโกณกัน หรือเล็งกัน จะให้คุณอย่างที่สุด เช่น ดาวจันทร์ในราศเมษ ดาวพุธในราศีสิงห์ ไต้ตำแหน่งมหาจักรทั้งคู่ ตามอำนาจของดวงดาวนั้น ทำให้เจ้าของชาตามเสน่ห์สมกับดาวคู่มิตรจริง ๆ หรือดาวพุธ กับ ดาวพฤหัสบดี เป็นเกษตรทั้งคู่เล็งกันนั้นดีมากให้คุณแรง ตัวหนึ่งตัวใดเป็นเจ้าเรือนกฎุมพะ หรือพันธุด้วยจะมีทรัพย์สมบัติมาก บางท่านมีที่ดินเป็นพัน ๆ ไร่ เรียกว่าราชาที่ดินทีีเดียว
5. ดาวที่ได้ตำแหน่งเกษตรนั้น ท่านว่าถึงอย่างไรก็ไม่เสีย แม้จะไปสถิตในเรือนอริ มรณะ วินาศ หรือได้ตำแหน่งพินทุบาศว์ ก็ไม่เสียทั้งนั้น ทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งความเป็นเกษตรอยู่วันยังค่ำ ถ้าดาวเกษตรเป็นเจ้าเรือนอริ มักจะมีร่างกายแข็งแรงปราศจากศัตรูรบกวน ถ้าอยู่มรณะก็มีีความสงบสุข ความสงบ ไม่ค่อยสร้อยเศร้า ถ้าอยู่วินาศก็ปาศจากความคับแค้นใจเว้นจากความนินาศฉิบหายเท่านั้น
6. มีดาวพิเศษสองดวง คือ ดวงจุลจักร กับ ดวงเทวีโชค ถ้ากุมลัคนาจึงจะให้คุณเต็มที่ คล้ายกับมหาจักร และราชาโชค ผิดกันบ้างเล็กน้อย เนื่องจากของใหญ่กับของเล็ก
หลักการวิเคราะห์ดาว
การพิจารณาดาวเคราะห์บนพื้นดวงชาตา ถ้านำคำพยากรณ์สำหรับดาวเคราะห์ที่เป็นดวงมาตรฐานมาพยากรณ์ตามตำราที่ว่าไว้จริงแล้ว ก็ต้องผิดหวัง แต่ถ้านำคำจำกัดความของดวงมาตรฐานแต่ละดวงมากล่าวไว้แล้ว จะมั่นใจได้ว่ามีความถูกต้องดีมาก ดังเช่น
ดาวทีี่ว่าดีให้คุณ หมายถึงดาวที่ได้ตำแหน่ง เกษตร อุจ-มหาอุจ อุจจาวิลาศ มหาจักร ราชาโชค องค์เกณฑ์ อุดมเกณฑ์ ฯลฯ ดาวที่ว่านี้จะส่งผลให้ 2 อย่าง คือ ดี ตามเรือนชาตาและดีตามความหมายของดาว
ดาวที่ว่าเสียให้โทษ หมายถึงดาวที่ได้ตำแหน่ง ประ นิจ พินทุบาทว์ เป็นเจ้าเรือนในเรือนภพ อริ มรณะ วินาศ เป็นต้น ดาวที่ว่านี้เสียก็จะส่งผลเสีย 2 อย่างเหมือนกัน คือ เสียตามเรือนชาตาและเสียตามดวงดาว
ดาวทีี่ว่าดีให้คุณ หมายถึงดาวที่ได้ตำแหน่ง เกษตร อุจ-มหาอุจ อุจจาวิลาศ มหาจักร ราชาโชค องค์เกณฑ์ อุดมเกณฑ์ ฯลฯ ดาวที่ว่านี้จะส่งผลให้ 2 อย่าง คือ ดี ตามเรือนชาตาและดีตามความหมายของดาว
ดาวที่ว่าเสียให้โทษ หมายถึงดาวที่ได้ตำแหน่ง ประ นิจ พินทุบาทว์ เป็นเจ้าเรือนในเรือนภพ อริ มรณะ วินาศ เป็นต้น ดาวที่ว่านี้เสียก็จะส่งผลเสีย 2 อย่างเหมือนกัน คือ เสียตามเรือนชาตาและเสียตามดวงดาว
พระ ๕ เป็นนิจในราศีมังกร
พระ ๕ ในราศีมังกร ดวงนิจ มักพลาดด้วยคำพูด "โอฐภัย" จะต้องถูกจองจำด้วยถ้าไม่ระวังถ้อยคำ ทั้งอาชีพก็ปราศจากความสุข แม้ในราชการก็ต้องทำงานหนัก
พระ ๕ เป็นนิจในราศีมังกรนี้ โดยมากก็มีความสำเร็จยิ่งใหญ่หลายท่าน เพราะดาว ๕ ในราศีมังกรเป็นเรือนธาตุของตน ปกติดาว ๕ ให้คุณยิ่งบ้าง หย่อนบ้าง แต่ประเภทเดียว แต่เมื่อเป็นนิจเช่นนี้ก็พิจารณาจากลัคนา ถ้าลัคนาอยู่ในเรือนเสียกับพระ ๕ อีกสถานหนึ่งแล้ว พระ ๕ ก็ต้องเด่นในดวงมิต้องสงสััยหรือแก้ไขแต่อย่างไร
พระ ๕ เป็นนิจตำแหน่งนี้ แสดงศิลปปรัชญาแก่เจ้าชาตาอย่างแท้จริง การช่างทุกอย่างจะจัดจ้านยิ่งกว่าผู้ได้รับการศึกษามาโดยเฉพาะเสียอีก ยิ่งเดรฉานวิชาด้วยจะประสิทธิ์แข็งขลังกว่าผู้อื่น
ถ้าพระ ๕ เป็นนิจ เป็นตนุเศษ หรือลัคนาสถิตในราศีดี ก็ต้องพลิกพระ ๕ เป็นนิจนั้นกลับไปอยู่ที่ชอบ ทำให้เจ้าชาตารุ่งโจน์ขึ้นโดยมิต้องสงสัย
พระ ๕ เป็นนิจในราศีมังกรนี้ โดยมากก็มีความสำเร็จยิ่งใหญ่หลายท่าน เพราะดาว ๕ ในราศีมังกรเป็นเรือนธาตุของตน ปกติดาว ๕ ให้คุณยิ่งบ้าง หย่อนบ้าง แต่ประเภทเดียว แต่เมื่อเป็นนิจเช่นนี้ก็พิจารณาจากลัคนา ถ้าลัคนาอยู่ในเรือนเสียกับพระ ๕ อีกสถานหนึ่งแล้ว พระ ๕ ก็ต้องเด่นในดวงมิต้องสงสััยหรือแก้ไขแต่อย่างไร
พระ ๕ เป็นนิจตำแหน่งนี้ แสดงศิลปปรัชญาแก่เจ้าชาตาอย่างแท้จริง การช่างทุกอย่างจะจัดจ้านยิ่งกว่าผู้ได้รับการศึกษามาโดยเฉพาะเสียอีก ยิ่งเดรฉานวิชาด้วยจะประสิทธิ์แข็งขลังกว่าผู้อื่น
ถ้าพระ ๕ เป็นนิจ เป็นตนุเศษ หรือลัคนาสถิตในราศีดี ก็ต้องพลิกพระ ๕ เป็นนิจนั้นกลับไปอยู่ที่ชอบ ทำให้เจ้าชาตารุ่งโจน์ขึ้นโดยมิต้องสงสัย
ดาวเป็นนิจแต่ไร้โทษ
ดาวที่มีมาตรฐานฐานนิจ(ต่ำ ด้วย) แต่ไร้โทษต่อเจ้าชาตา (นิจจะภุงคะราชาโยค / ดวงกลับ)
ในพื้นดวงชาตากำเนิด ผู้ใดมีดาวนิจในดวงชาตา อย่าพึ่งด่วนสรุปทำนายว่าเสีย ได้โปรดตรวจพินิจในหลักเกณฑ์ตามศาสตร์ที่ระบุว่า ดาวนิจนั้นถ้าไปตรงกับหลักของ "นิจจะภังคะราชาโยค" แล้ว ดาวนั้้นก็หาเกิดพลังในการดลบันดาลโทษทุกข์แก่เจ้าชาตาได้ แต่กลับเสริมดวงชาตาให้ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ หรือความสำเร็จในที่สุดซึ่งมีกฎเกณฑ์ดังนี้
1. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตร หรือดาวอุจ ประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นอยู่ในภพเกณฑ์(ภพที่ 1, 4, 7, 10) แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษทุกข์แก่เจ้าชาตา
2. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตรหรืออุจประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นไปกุมหรือเล็งดาวนิจนั้น หรือทำมุมสัมพันธ์กับดาวนิจด้วยเกณฑ์พิเศษของดาวนั้นเอง( อังคารมีเกณฑ์ 4,8 เสาร์มีเกณฑ์ 3, 10 พฤหัสบดี มีเกณฑ์ 5, 9 สามารถส่งแสงให้แก่ดาวที่สัมพันธ์ถึงได้ 100%) ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
3. ถ้าดาวเจ้าเรือนในราศีอุจของดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่เป็นโทษ
4. ถ้าดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนาหรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
5. ดาวนิจเกาะนวางค์ที่ครองด้วยดาวเคราะห์เจ้าเรือนเกณฑ์ประจำราศีหรืออุจของดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษ หมายความว่าเมื่อตรวจทางนวางค์จักรแล้วดาวนิจนั้นได้ตำแหน่งอุจนั่นเอง
ในพื้นดวงชาตากำเนิด ผู้ใดมีดาวนิจในดวงชาตา อย่าพึ่งด่วนสรุปทำนายว่าเสีย ได้โปรดตรวจพินิจในหลักเกณฑ์ตามศาสตร์ที่ระบุว่า ดาวนิจนั้นถ้าไปตรงกับหลักของ "นิจจะภังคะราชาโยค" แล้ว ดาวนั้้นก็หาเกิดพลังในการดลบันดาลโทษทุกข์แก่เจ้าชาตาได้ แต่กลับเสริมดวงชาตาให้ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ หรือความสำเร็จในที่สุดซึ่งมีกฎเกณฑ์ดังนี้
1. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตร หรือดาวอุจ ประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นอยู่ในภพเกณฑ์(ภพที่ 1, 4, 7, 10) แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษทุกข์แก่เจ้าชาตา
2. ถ้าดาวเจ้าเรือนเกษตรหรืออุจประจำราศีที่ดาวนิจสถิตนั้นไปกุมหรือเล็งดาวนิจนั้น หรือทำมุมสัมพันธ์กับดาวนิจด้วยเกณฑ์พิเศษของดาวนั้นเอง( อังคารมีเกณฑ์ 4,8 เสาร์มีเกณฑ์ 3, 10 พฤหัสบดี มีเกณฑ์ 5, 9 สามารถส่งแสงให้แก่ดาวที่สัมพันธ์ถึงได้ 100%) ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
3. ถ้าดาวเจ้าเรือนในราศีอุจของดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนา หรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่เป็นโทษ
4. ถ้าดาวนิจนั้นอยู่ในภพเกณฑ์แก่ลัคนาหรือจันทร์ในดวงชาตา ดาวนิจก็ไม่ก่อโทษ
5. ดาวนิจเกาะนวางค์ที่ครองด้วยดาวเคราะห์เจ้าเรือนเกณฑ์ประจำราศีหรืออุจของดาวนิจนั้นก็ไม่ก่อโทษ หมายความว่าเมื่อตรวจทางนวางค์จักรแล้วดาวนิจนั้นได้ตำแหน่งอุจนั่นเอง
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552
กฎ ลบ-ลบ กลายเป็นบวก
โหรมักกล่าวกันเสมอว่า "ดาวที่เสีย และยังได้ตำแหน่งเสียอีก กลัับเป็นดี " สอดคล้องกับหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ว่า นิเสธของนิเสธ จะกลับเป็น ไม่นิเสธ หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า ลบเจอลบเป็นบวก
นั่นคือ ศัตรูของเจ้าชะตาเมื่อตายไปแล้ว จะไปทำอะไรแก่เจ้าชะตาได้ เช่นเจ้าเรือนอริศัตรู เจ้าเรือนมรณะตัวสูญหาย เจ้าเรือนวินาศตัวล้มละลาย และดาวเจ้าเรือนทั้งสามตัวนี้ยังไม่สถิตอยู่ เป็นมรณะวินาศอีก ก็หมายความว่า ตัวอุุปสรรค หรือตัวยุ่งนี้ย่อมไร้อุปสรรค จึงกลายเป็บ ลบ-ลบ กลายเป็นบวกนั่นเอง เช่นเจ้าเรือนกฎุมพะไปเป็นประมรณะก็เข้าในลักษณะเสียพบเสียเป็นดีไป ซึ่งในประเด็นนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ
ขอให้เข้าใจว่าจากเรือนอริ มรณะ ไปเป็น มรณะ วินาศ แล้ว อื่น ๆ นอกจาก 3 เรือนนี้ อาจจะเป็น ลบ-ลบ กลายเป็นบวกจริง แต่กว่าจะเป็นบวกได้ก็ต้องเป็นลบเสียก่อน แล้วบางทอาจจะดีภายหลังได้ เช่นดาวเจ้าเรือนกฎุมพะไปเป็นอริ ก็พยากรณ์ว่า มทรัพย์สมบัติไม่ได้เป็นเสียหายไปหมด และถ้ายังได้ตำแหน่งประอีกครั้ง ก็พยากรณ์อีกว่า เมื่อแตกทำลายมาก ๆ เข้าก็จะรู้จักหาทางป้องกัน ก็อาจจะกลายเป็นผู้มีฐานะดีขึ้นมาได้ หรือไม่มีฐานะก็เป็นไปได้เช่นกัน
กฎ ลบ-ลบ เป็นบวกนี้ห้ามนำดาวทางทักษา คือดาวที่เป็นศรี หรือกาลกิณีมาใช้เป็นอันขาด เพราะอยู่นอกหลักโหร
นั่นคือ ศัตรูของเจ้าชะตาเมื่อตายไปแล้ว จะไปทำอะไรแก่เจ้าชะตาได้ เช่นเจ้าเรือนอริศัตรู เจ้าเรือนมรณะตัวสูญหาย เจ้าเรือนวินาศตัวล้มละลาย และดาวเจ้าเรือนทั้งสามตัวนี้ยังไม่สถิตอยู่ เป็นมรณะวินาศอีก ก็หมายความว่า ตัวอุุปสรรค หรือตัวยุ่งนี้ย่อมไร้อุปสรรค จึงกลายเป็บ ลบ-ลบ กลายเป็นบวกนั่นเอง เช่นเจ้าเรือนกฎุมพะไปเป็นประมรณะก็เข้าในลักษณะเสียพบเสียเป็นดีไป ซึ่งในประเด็นนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ
ขอให้เข้าใจว่าจากเรือนอริ มรณะ ไปเป็น มรณะ วินาศ แล้ว อื่น ๆ นอกจาก 3 เรือนนี้ อาจจะเป็น ลบ-ลบ กลายเป็นบวกจริง แต่กว่าจะเป็นบวกได้ก็ต้องเป็นลบเสียก่อน แล้วบางทอาจจะดีภายหลังได้ เช่นดาวเจ้าเรือนกฎุมพะไปเป็นอริ ก็พยากรณ์ว่า มทรัพย์สมบัติไม่ได้เป็นเสียหายไปหมด และถ้ายังได้ตำแหน่งประอีกครั้ง ก็พยากรณ์อีกว่า เมื่อแตกทำลายมาก ๆ เข้าก็จะรู้จักหาทางป้องกัน ก็อาจจะกลายเป็นผู้มีฐานะดีขึ้นมาได้ หรือไม่มีฐานะก็เป็นไปได้เช่นกัน
กฎ ลบ-ลบ เป็นบวกนี้ห้ามนำดาวทางทักษา คือดาวที่เป็นศรี หรือกาลกิณีมาใช้เป็นอันขาด เพราะอยู่นอกหลักโหร
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เทพอสูร(ดาว ๘ )
ดาว ๘ เทพอสูรผู้อหังการ์
********************
ในโหรฯนั้น ดาวคู่มิตรถึงกันย่อมมีพลังส่งผลในเรื่องของการให้คุณ และให้โทษไปพร้อมกัน โดยเฉพาะคู่มิตรที่เป็นบาปเคราะห์ อย่างราหู (๘) จรถึง เสาร์ (๗) หรือ อังคาร (๓) จรถึง ศุกร์ (๖) ซึ่งผมได้เน้นให้เห็นถึงสภาพของบาปเคราะห์ ไม่ว่าจะจรไปทับดาวใด เรือนใด หรือแม้แต่ ดาวศุภเคราะห์ จรมาต้องบาปเคราะห์ ก็ย่อมให้โทษเสมอ เหมือนคนชั่ว อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ก็ย่อมไม่ละสันดานชั่ว ย่อมเบียดเบียนคนที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าคนนั้น จะเป็นคนชั่ว หรือ คนดี ก็ตาม
จริงที่โหรโบราณท่านตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากดาวบาปเคราะห์ร้าย ไปอยู่ในภพทุสถานะ หรือ จรไปต้องบาปเคราะห์ด้วยกัน ก็จะทำการเบียนกันเอง ทำให้บาปเคราะห์นั้นเปลี่ยนจากร้าย กลายเป็นดี หรือ บรรเทาเบาบางความเลวร้ายลงไป แต่ก็นั่นแหละ กฎเกณฑ์ที่ให้ไว้ ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นกฎเกณฑ์ เปรียบเสมือนส้วมที่เหม็น เมื่อเอายาดับกลิ่นไปราด ก็ดับกลิ่นได้ หายเหม็น แต่มันก็เหม็นอยู่นั่นแหละ คือ เปลี่ยนจากเหม็นกลิ่นส้วม มาเหม็นน้ำยาดับกลิ่นแทน หรือ เปรียบเสมือนผ้าขาวที่เปื้อนสี แก้อย่างไร ก็ไม่หายเปื้อน วิธีแก้มีอย่างเดียว เอาไปย้อมสีที่เปื้อนนั้น ก็จะกลายเป็นผ้าผืนใหม่ที่สวย แต่สภาพของความเป็นสีขาว ย่อมเสียไป
กฎเกณฑ์ เสียพบเสียเป็นดี ถ้าเป็นดังเช่น ดาวเจ้าเรือนอริ ไปอยู่ในภพมรณะ หรือ อริ ไปอยู่วินาศนะ อย่างนี้ถือว่าดี หมายถึง ศัตรูคิดร้ายตายไปเอง หรือ วอดวายไปเอง แต่ในทางโหราศาสตร์นั้น ไม่มีอะไรจะได้เปรียบเสียเปรียบ เมื่อมีดี ก็ต้องมีเสียควบคู่กันไป (จะมาหักกลบลบล้างกันไม่ได้ ดังเช่นกรรมดี กรรมชั่ว ไม่อาจมาหักล้างกันได้ ต้องได้รับทั้งผลดี และ ผลชั่ว) กรณีที่ดาวศุภเคราะห์โคจรไปพบบาปเคราะห์ให้คุณแก่ดาวดวงนั้น ขณะเดียวกันตัวศุภเคราะห์เองที่โคจรไปพบนั้น กลับมัวหมองลง เปรียบได้กับ นิทานเรื่องชาวนากับงูเห่า หรือ คนดีทำคุณกับคนเลว คนเลวได้ผล แต่คนดีไม่ได้อะไรกลับมาเลย ดีไม่ดี โดนคนเลวทำร้ายเอาอีก ฉันใดก็ฉันนั้น
ในกรณีที่ดาวเจ้าเรือนอริ ไปอยู่ในภพวินาศนะ ทำให้ศัตรูวอดวายไปก็จริง แต่อย่าลืมว่า ภพวินาศนะนั้น เป็นภพที่มีความหมายถึง สิ่งเร้นลับ ปิดบัง ซ่อนเร้น ไม่จริงใจ บางทีศัตรูอาจจะทำทีดูเหมือนว่ายอมพ่ายแพ้ และอาจรอจังหวเพื่อจะแก้แค้นภายหลัง นอกจากนั้น ภพนี้ยังหมายถึง สิ่งอันปิดบังซ่อนเร้น หรือไม่เปิดเผยของเจ้าชะตา เช่น บ้านที่อยู่ห่างไกล, บ้านลับ ๆ หรือ บ้านหลังที่สอง, เมียน้อย หรือ เมียลับ ๆ, ทรัพย์สินที่ซ่อนเอาไว้ หรือ เก็บเอาไว้ในรูปของใบหุ้น ฯลฯ อาจจะถูกขโมย , หุ้นตก , เมียมีชู้ หรือคบหากับชายอื่นอีก ฯลฯ รวมความแล้ว ย่อมเกิดความเสียหายจนได้ ดังนั้น อย่าได้มองเพียงแต่เพียงแง่ใดแง่หนึ่งเพียงแง่เดียว
ผู้ที่ศึกษาโหราศาสตร์ควรจะต้องทำความเข้าใจว่า แม้เสาร์ (๗) จะเป็นคู่มิตรกับ ราหู (๘) แต่เมื่อพบกันแล้ว โทษย่อมเกิดกับเสาร์เสมอ เป็นของตายตัว เหมือนอังคาร (๓) คู่มิตรกับ ศุกร์ (๖) ถ้าศุกร์ เป็นดาวตนุลัคน์ ดาวอังคาร ดาวฆาต หรือ บาปเคราะห์ที่ส่งผลในด้านอุบัติเหตุ การเจ็บไข้กระทันหัน การมีเรื่องทะเลาะวิวาท ฯลฯ เมื่อโคจรมาทับศุกร์ (๖) เจ้าเรือนลัคน์ อย่างนี้ ทายไปได้เลยว่า จะเจ็บไข้ไม่สบาย หรือ ได้รับอุบัติเหตุ มีเรื่องทะเลาะวิวาท กฎเกณฑ์นี้เป็นของตายตัว ถือเป็นเคล็ดสำคัญ เป็นหลักเกณฑ์ปฐมที่จะต้องจดจำไว้ ไม่มีการยกเว้นว่า เป็นคู่มิตร หรือ คู่อะไร บาปเคราะห์จะต้องเป็นบาปเคราะห์ ย่อมให้โทษเสมอ
ดาวเสาร์ (๗) ที่มีกำลัง เช่น เป็นเกษตร หรือ มหาอุจ ถ้าเป็นดาวเจ้าเรือนภพอะไร ก็จะให้กำลังแก่ภพนั้น ๆ อย่างรุนแรง เช่น เป็นดาวเจ้าเรือนกัมมะ ก็ให้คุณแก่กัมมะอย่างแรงมาก อย่างนี้ท่านเรียกว่า “บาปเคราะห์ส่ง” แต่ทว่า ราหู (๘) เป็นเกษตร หรือ มหาอุจ กลับตรงกันข้าม เพราะสภาพราหู (๘) ดังที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า “ราหูไม่ใช่ดาว” จึงพ้นขอบเขตของโลกธรรม คือ ไม่มีดี และชั่ว ระคนกัน มีแต่โทษอย่างเดียว ที่ดีนั้น ก็คงเป็นไปกับความชั่ว ซึ่งเมื่อชั่วหายไป ความดีก็เกิดขึ้น
เช่น ดาวเสาร์ (๗) นั้น เป็นดาวบาปเคราะห์ ย่อมมีธาตุสองอย่างรวมกัน คือ ดี และ ชั่ว แต่เปอร์เซ็นต์ของความร้ายมีมากกว่า จึงมีสภาพเป็นบาปเคราะห์ พอราหู (๘) โคจรมาทับ หรือ เสาร์ (๗) โคจรมาทับราหู (๘) ความร้ายอันเป็นโทษสมบัติของเสาร์ (๗) โดยตรง (เช่น ปัญหาอุปสรรค ความล้มเหลว ผิดหวัง ความทุกข์ เศร้าหมอง ฯลฯ) ก็จะถูกราหู (๘) ที่เป็นคราส บดบังโทษนั้นสิ้น ดังนี้ ความดีของเสาร์ (๗) ก็จะหลุดออกมา และก็รุนแรงเสียด้วย เพราะว่าเสาร์เป็นดาวพระเคราะห์ใหญ่ ย่อมมีฤทธิ์มากกว่าพระเคราะห์เล็ก เป็นของธรรมดา
ดังนั้น ราหู (๘) เมื่อสถิตอยู่ภพใด ย่อมเกิดโทษแก่ภพนั้น เป็นกฎตายตัว แม้ดาวบาปเคราะห์อื่น เช่น อังคาร (๓) เสาร์ (๗) เกตุ (๙) มฤตยู (๐) เนปจูน (น) และ พลูโต (พ) ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่ภพใด ย่อมให้โทษแก่ภพนั้นเสมอ ไม่มีการยกเว้น แม้ว่าจะอยู่ในภพทุสถานะใด ๆ
ในการพิจารณาดวงชะตาบุคคล ราหู (๘) นั้น เมื่ออยู่ภพใดในพื้นดวง ก็เสมือนว่าเป็นตัวแทนของภพนั้นเช่นกัน ตามหลักวิชาโหราศาสตร์แผนใหม่ ระบบพลูหลวง หรือ เกษตรเรือนเดียวได้จัดให้ราหู (๘) และ เกตุ (๙) เป็นเกษตรในราศีเมถุน หากเจ้าชะตามีลัคนาอยู่ในราศีตุลย์ และมีราหู (๘) อยู่ในภพปัตนิที่ราศีเมษ เมื่อราหู (๘) จรมาทับลัคน์ หรือ ทับดาวศุกร์ (๖) เจ้าเรือนลัคน์ อย่างนี้ ทำนายได้เลยว่า ในช่วงที่ราหู (๘) ทับอยู่นั้น (ประมาณปีครึ่ง) จะเป็นช่วงจังหวะที่จะพบคู่ ส่วนจะดีหรือไม่ แท้หรือเปล่า ? อยู่กันยืนยาวแค่ไหน ? ต้องพิจารณาส่วนอื่น ๆ ประกอบ
ลักษณะของราหู (๘) เมื่อจะใช้ทำนายลักษณะรูปร่าง หน้าตา ของบุคคลนั้น มีอยู่หลายมิติ หรือ หลายแบบ เอาแน่นอนไม่ได้ บางคนก็ว่า ผิวคล้ำ มีลักษณะการกระทำที่แผลง ๆ บางตำราก็ว่า ร่างท้วม ผิวเนื้อดำ ดวงหน้ารูปไข่ หรือ กลม แต่จากการสังเกตเท่าที่เห็นมานั้น ยืนยันได้ว่า ลักษณะของราหูนั้น เป็นไปได้หลายลักษณะ ซึ่งต้องแล้วแต่ว่ามีดาวใดส่งอิทธิพลมาถึงด้วย เช่น บุคคลราหูกุมลัคน์ หรือ ลอยเหนือศีรษะขณะเกิด (อยู่ภพกัมมะ) นั้น มีทั้ง อ้วน ผอม แต่หน้ามน หน้าผากมน กว้าง คางหลุม ผิวมีทั้งขาว และ ดำ ดำแดงก็มี เอาแน่ไม่ได้
แต่ที่แน่อยู่อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าราหู (๘) ไปอยู่ในเรือนปัตนิ หรือ กุมดาวปัตนิแล้ว คู่ครองมักจะเป็นคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างฐานะความเป็นอยู่ ฯลฯ หรือ เป็นหม้าย ผ่านการมีเรือนมาแล้ว หากไม่ได้คู่ลักษณะที่ว่าไว้ โอกาสได้คู่ที่ไม่ดี กินเหล้า เมายา เสเพล ตามลักษณะนิสัยของราหู ที่เป็นตัวลุ่มหลงมัวเมา ย่อมมีมาก
เรามาดูตัวอย่างบุคคลที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของราหูกันบ้าง ว่า มีรูปร่างลักษณะนิสัยใจคออย่างไร จะยกตัวอย่างให้เห็นจริง พอสังเขป คือ
ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ (เกิด ๒๙ มีนาคม ๒๔๖๖ เวลา ๒๓.๒๕ น.) ท่านผู้นี้ จัดว่า เป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของราหูเต็มที่ กล่าวคือ ราหู (๘) ลอยเหนือศีรษะขณะเกิด และ ราหู (๘) กับ เนปจูน (น) ศุกร์ (๖) ยังทำมุมตรีโกณถึงดาวอังคาร (๓) เจ้าเรือนลัคน์ จึงส่งอิทธิพลเต็มที่
ท่านมีความสามารถในการบรรยายดนตรีอย่างตลกคะนอง มีลูกเล่นมากมายแค่ไหน ใคร ๆ ย่อมรู้จักกันดี ลักษณะของท่านเป็นคนกว้าง และเปิดเผย และมีความสามารถสารพัด นี่คือ อิทธิพลส่วนดีของราหู
แต่ราหูก็ทำให้ท่านต้องจัดว่า เป็นคนแผลง ๆ เพราะว่า มีความสามารถแปลกกว่าคนอื่น กล่าวคือ ท่านเป็นนักวิชาการเกษตร เป็นนักบริหารงานชั้นเยี่ยม แต่ก็มีความสามารถเป็นอัจฉริยะทางดนตรี ทั้งยังเป็นนักพูดที่เป็นกันเองกับคนฟัง โดยถอดเอาบุคลิกของนักบริหารออกไปจนหมดสิ้น จนรู้สึกว่า ท่านเป็นเพื่อนกับผู้ฟังโดยตลอด เมื่อท่านอยู่บทบาทอะไร ท่านจะปล่อยให้อยู่ในบทบาทนั้นจนหมดตัวทีเดียว นี่คือ ส่วนดีของราหู ส่วนรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง ลักษณะของท่านเป็นเช่นไร ถ้าใครไม่เคยเห็นท่านในจอทีวี โดยเฉพาะเด็กรุ่นหลัง ๆ ก็ให้นึกเอาลักษณะรูปร่างของราหูที่บอกไว้ในตำรา ท่านน่ะเข้าเป๊ะ ทุกประการ
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (เกิด ๒๐ เมษายน ๒๔๕๔ เวลา ๐๗.๒๐ น.) ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยผู้นี้ แม้จะมีดาวหลายดวงกุมลัคนา แต่ก็มีราหู (๘) กุมลัคนาอยู่ด้วย ราหูจึงมีส่วนปรุงแต่งให้ท่านมีความสามารถหลายทาง เป็นนักประพันธ์ นักการเมือง นักพูด นักแสดงภาพยนตร์ แสดงโขน ฯลฯ ลีลาในการเขียนหนังสือของท่านแปลก ไม่เหมือนใคร นี่ก็เพราะอิทธิพลของราหู
สมเด็จกรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช (ประสูติ ๑๑ มกราคม ๒๔๐๓ เวลา ๐๗.๑๖ น.) สมเด็จผู้นี้ เป็นที่รู้จักกันดีว่า พระองค์เป็นผู้กล้า ไม่เกรงกลัวใคร และกล้าที่จะทำ โดยที่ไม่มีใครกล้าได้ ท่านทำอะไรบางอย่างจนคนบางคนอาจเห็นว่า ท่านทำอะไรแผลง ๆ แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องจากประชาชนว่า เป็นหลักของแผ่นดิน ราหูกุมพระลัคนา ทำให้พระองค์ทรงมีพระบุคลิกลักษณะพิเศษ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ซ้ำแบบใคร
ในที่นี้ พอจะเห็นได้ว่า ลักษณะของราหูกุมลัคน์นั้น ใจคอแกล้วกล้า ยึดมั่นในหลักการ และกล้าทำ ถ้าคิดว่าตนทำถูก ราหูนั้น มีลักษณะองอาจ เข้มแข็ง ดังเช่น ท่านจอมพล เจียง ไคเช็ค (เกิด ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๓๖ เวลา ๐๔.๐๐ น.) ลัคนากุมราหูอยู่ราศีเมษ, ท่านมุสโสลินี (เกิด ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น.) ลัคนากุมราหูอยู่ราศีตุล
ราหู ทำให้กล้าที่จะแสดงหลักการอย่างเด็ดเดี่ยว ดังเช่น พ.อ.ประจวบ วัชรปาน (เกิด ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ เวลา ๐๙.๑๓ น.) ท่านเป็นนายแพทย์ และโหรผู้เชี่ยวชาญทางภารตะ ได้ให้ความรู้ทางโหร แก่นักพยากรณ์ทุกท่านตลอดมา ท่านกล้าที่จะแสดงหลักการอย่างไม่หวั่นไหวใด ๆ ทั้งสิ้น
อุษณา เพลิงธรรม (เกิด ๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๓ เวลา ๑๖.๕๓ น.) นักประพันธ์เอกผู้นี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความละเมียดละไม แบบโรแมนติก เขียนหนังสือได้ประณีต และฝัน ไม่ซ้ำแบบใคร สำนวนแปลกใหม่ เป็นที่เลื่องลือกันในสมัยก่อน
อิทธิพลของราหูที่กุมลัคนา ทำให้กล้าที่จะทำอะไรแปลกแหวกแนว โดยรักความจริง อารมณ์ร้อนรุนแรง แต่เมื่อผลิตผลงานประพันธ์แล้ว เยือกเย็นเสมือนสายน้ำ นี่เป็นอิทธิพลของราหู ทำให้เป็นอัจฉริยะ
โก้ บางกอก (เกิด ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๒๐ น.) นักประพันธ์ท่านนี้ มีชื่อเสียงโด่งดัง และเชี่ยวชาญเขียนหัสนิยาย เป็นนายตำรวจมีชื่อเสียง ราหู (๘) ที่กุมลัคน์ ในราศีเมษ เรียกว่า ราหูบุญอสุราฤทธิ์ ซึ่งโหรโบราณยกย่องกันว่า เป็นราหูมีฤทธิ์ เช่นเดียวกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ราหูก็กุมลัคน์ในราศีนี้
ดาวพฤหัสบดี (๕) กับ ดาวจันทร์ (๒) ศุภเคราะห์ ขนาบหน้าหลังราหู (๘) อุ้มเอาไว้ น้อมนำให้ราหูเด่น ทำให้เจริญด้วยยศศักดิ์ และมีชื่อเสียง
เท่าที่ได้ยกตัวอย่างราหูกุมลัคนา ของบุคคลที่มีชื่อเสียง ล้วนเป็นอัจฉริยะ และสร้างสมคุณความดีไว้มากมาย จะเห็นได้ว่า การที่โบราณท่านว่า “ดูมัวเมาให้ดูราหู” และพรรณาราหูในแง่ร้ายมากกว่าดีนั้น ดูจะเป็นการเขียนเพียงแง่มุมเดียว ดังนั้น การพิจารณาดวงชะตานั้น จะพิจารณาเพียงดาวเดียวมากุมลัคน์ แล้วทำนายลักษณะนิสัย พฤติกรรม ความดี – เลว ออกมานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
จริงอยู่ ราหู เป็นตัวมัวเมา แต่ถ้าได้รับกระแสที่ดีจากศุภเคราะห์ที่เด่น ๆ ก็จะกลับทำให้ บุคคลผู้นั้น ลุ่มหลงมัวเมาไปในทางที่ดีได้ เช่น มีดาวพฤหัสบดี (๕) เป็นเกษตร ทำมุมร่วมธาตุกับราหู หรือ เดินนำหน้าราหู อย่างนี้ จะส่งผลทำให้เจ้าชะตา ลุ่มหลงมัวเมาในทางศาสนา เคร่งศาสนา หรือ ชอบในทางแสวงหาความรู้ ทางด้านวิชาการต่าง ๆ และที่ ราหูกุมลัคน์ โบราณท่านว่า มีผิวดำนั้น ก็ไม่จริงเสมอไป ราหูกุมลัคน์ มีผิวขาว ก็มีให้เห็นมากมาย เช่น บุษยา รังสี นักร้องชื่อดัง วงสุนทราภรณ์ (เกิด ๑๓ สิงหาคม ๒๔๘๓ เวลา ๑๑.๔๕ น.) หรือ อาพันชนิตร สุวรรณศร (เกิด ๖ กันยายน ๒๔๗๙ เวลา ๑๖.๐๘ น.) ดาราทีวี นักพูด นักพากย์ ฯลฯ มีความสามารถหลายด้าน ฯลฯ เป็นต้น
********************
ในโหรฯนั้น ดาวคู่มิตรถึงกันย่อมมีพลังส่งผลในเรื่องของการให้คุณ และให้โทษไปพร้อมกัน โดยเฉพาะคู่มิตรที่เป็นบาปเคราะห์ อย่างราหู (๘) จรถึง เสาร์ (๗) หรือ อังคาร (๓) จรถึง ศุกร์ (๖) ซึ่งผมได้เน้นให้เห็นถึงสภาพของบาปเคราะห์ ไม่ว่าจะจรไปทับดาวใด เรือนใด หรือแม้แต่ ดาวศุภเคราะห์ จรมาต้องบาปเคราะห์ ก็ย่อมให้โทษเสมอ เหมือนคนชั่ว อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ก็ย่อมไม่ละสันดานชั่ว ย่อมเบียดเบียนคนที่อยู่รอบข้าง ไม่ว่าคนนั้น จะเป็นคนชั่ว หรือ คนดี ก็ตาม
จริงที่โหรโบราณท่านตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากดาวบาปเคราะห์ร้าย ไปอยู่ในภพทุสถานะ หรือ จรไปต้องบาปเคราะห์ด้วยกัน ก็จะทำการเบียนกันเอง ทำให้บาปเคราะห์นั้นเปลี่ยนจากร้าย กลายเป็นดี หรือ บรรเทาเบาบางความเลวร้ายลงไป แต่ก็นั่นแหละ กฎเกณฑ์ที่ให้ไว้ ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นกฎเกณฑ์ เปรียบเสมือนส้วมที่เหม็น เมื่อเอายาดับกลิ่นไปราด ก็ดับกลิ่นได้ หายเหม็น แต่มันก็เหม็นอยู่นั่นแหละ คือ เปลี่ยนจากเหม็นกลิ่นส้วม มาเหม็นน้ำยาดับกลิ่นแทน หรือ เปรียบเสมือนผ้าขาวที่เปื้อนสี แก้อย่างไร ก็ไม่หายเปื้อน วิธีแก้มีอย่างเดียว เอาไปย้อมสีที่เปื้อนนั้น ก็จะกลายเป็นผ้าผืนใหม่ที่สวย แต่สภาพของความเป็นสีขาว ย่อมเสียไป
กฎเกณฑ์ เสียพบเสียเป็นดี ถ้าเป็นดังเช่น ดาวเจ้าเรือนอริ ไปอยู่ในภพมรณะ หรือ อริ ไปอยู่วินาศนะ อย่างนี้ถือว่าดี หมายถึง ศัตรูคิดร้ายตายไปเอง หรือ วอดวายไปเอง แต่ในทางโหราศาสตร์นั้น ไม่มีอะไรจะได้เปรียบเสียเปรียบ เมื่อมีดี ก็ต้องมีเสียควบคู่กันไป (จะมาหักกลบลบล้างกันไม่ได้ ดังเช่นกรรมดี กรรมชั่ว ไม่อาจมาหักล้างกันได้ ต้องได้รับทั้งผลดี และ ผลชั่ว) กรณีที่ดาวศุภเคราะห์โคจรไปพบบาปเคราะห์ให้คุณแก่ดาวดวงนั้น ขณะเดียวกันตัวศุภเคราะห์เองที่โคจรไปพบนั้น กลับมัวหมองลง เปรียบได้กับ นิทานเรื่องชาวนากับงูเห่า หรือ คนดีทำคุณกับคนเลว คนเลวได้ผล แต่คนดีไม่ได้อะไรกลับมาเลย ดีไม่ดี โดนคนเลวทำร้ายเอาอีก ฉันใดก็ฉันนั้น
ในกรณีที่ดาวเจ้าเรือนอริ ไปอยู่ในภพวินาศนะ ทำให้ศัตรูวอดวายไปก็จริง แต่อย่าลืมว่า ภพวินาศนะนั้น เป็นภพที่มีความหมายถึง สิ่งเร้นลับ ปิดบัง ซ่อนเร้น ไม่จริงใจ บางทีศัตรูอาจจะทำทีดูเหมือนว่ายอมพ่ายแพ้ และอาจรอจังหวเพื่อจะแก้แค้นภายหลัง นอกจากนั้น ภพนี้ยังหมายถึง สิ่งอันปิดบังซ่อนเร้น หรือไม่เปิดเผยของเจ้าชะตา เช่น บ้านที่อยู่ห่างไกล, บ้านลับ ๆ หรือ บ้านหลังที่สอง, เมียน้อย หรือ เมียลับ ๆ, ทรัพย์สินที่ซ่อนเอาไว้ หรือ เก็บเอาไว้ในรูปของใบหุ้น ฯลฯ อาจจะถูกขโมย , หุ้นตก , เมียมีชู้ หรือคบหากับชายอื่นอีก ฯลฯ รวมความแล้ว ย่อมเกิดความเสียหายจนได้ ดังนั้น อย่าได้มองเพียงแต่เพียงแง่ใดแง่หนึ่งเพียงแง่เดียว
ผู้ที่ศึกษาโหราศาสตร์ควรจะต้องทำความเข้าใจว่า แม้เสาร์ (๗) จะเป็นคู่มิตรกับ ราหู (๘) แต่เมื่อพบกันแล้ว โทษย่อมเกิดกับเสาร์เสมอ เป็นของตายตัว เหมือนอังคาร (๓) คู่มิตรกับ ศุกร์ (๖) ถ้าศุกร์ เป็นดาวตนุลัคน์ ดาวอังคาร ดาวฆาต หรือ บาปเคราะห์ที่ส่งผลในด้านอุบัติเหตุ การเจ็บไข้กระทันหัน การมีเรื่องทะเลาะวิวาท ฯลฯ เมื่อโคจรมาทับศุกร์ (๖) เจ้าเรือนลัคน์ อย่างนี้ ทายไปได้เลยว่า จะเจ็บไข้ไม่สบาย หรือ ได้รับอุบัติเหตุ มีเรื่องทะเลาะวิวาท กฎเกณฑ์นี้เป็นของตายตัว ถือเป็นเคล็ดสำคัญ เป็นหลักเกณฑ์ปฐมที่จะต้องจดจำไว้ ไม่มีการยกเว้นว่า เป็นคู่มิตร หรือ คู่อะไร บาปเคราะห์จะต้องเป็นบาปเคราะห์ ย่อมให้โทษเสมอ
ดาวเสาร์ (๗) ที่มีกำลัง เช่น เป็นเกษตร หรือ มหาอุจ ถ้าเป็นดาวเจ้าเรือนภพอะไร ก็จะให้กำลังแก่ภพนั้น ๆ อย่างรุนแรง เช่น เป็นดาวเจ้าเรือนกัมมะ ก็ให้คุณแก่กัมมะอย่างแรงมาก อย่างนี้ท่านเรียกว่า “บาปเคราะห์ส่ง” แต่ทว่า ราหู (๘) เป็นเกษตร หรือ มหาอุจ กลับตรงกันข้าม เพราะสภาพราหู (๘) ดังที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า “ราหูไม่ใช่ดาว” จึงพ้นขอบเขตของโลกธรรม คือ ไม่มีดี และชั่ว ระคนกัน มีแต่โทษอย่างเดียว ที่ดีนั้น ก็คงเป็นไปกับความชั่ว ซึ่งเมื่อชั่วหายไป ความดีก็เกิดขึ้น
เช่น ดาวเสาร์ (๗) นั้น เป็นดาวบาปเคราะห์ ย่อมมีธาตุสองอย่างรวมกัน คือ ดี และ ชั่ว แต่เปอร์เซ็นต์ของความร้ายมีมากกว่า จึงมีสภาพเป็นบาปเคราะห์ พอราหู (๘) โคจรมาทับ หรือ เสาร์ (๗) โคจรมาทับราหู (๘) ความร้ายอันเป็นโทษสมบัติของเสาร์ (๗) โดยตรง (เช่น ปัญหาอุปสรรค ความล้มเหลว ผิดหวัง ความทุกข์ เศร้าหมอง ฯลฯ) ก็จะถูกราหู (๘) ที่เป็นคราส บดบังโทษนั้นสิ้น ดังนี้ ความดีของเสาร์ (๗) ก็จะหลุดออกมา และก็รุนแรงเสียด้วย เพราะว่าเสาร์เป็นดาวพระเคราะห์ใหญ่ ย่อมมีฤทธิ์มากกว่าพระเคราะห์เล็ก เป็นของธรรมดา
ดังนั้น ราหู (๘) เมื่อสถิตอยู่ภพใด ย่อมเกิดโทษแก่ภพนั้น เป็นกฎตายตัว แม้ดาวบาปเคราะห์อื่น เช่น อังคาร (๓) เสาร์ (๗) เกตุ (๙) มฤตยู (๐) เนปจูน (น) และ พลูโต (พ) ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่ภพใด ย่อมให้โทษแก่ภพนั้นเสมอ ไม่มีการยกเว้น แม้ว่าจะอยู่ในภพทุสถานะใด ๆ
ในการพิจารณาดวงชะตาบุคคล ราหู (๘) นั้น เมื่ออยู่ภพใดในพื้นดวง ก็เสมือนว่าเป็นตัวแทนของภพนั้นเช่นกัน ตามหลักวิชาโหราศาสตร์แผนใหม่ ระบบพลูหลวง หรือ เกษตรเรือนเดียวได้จัดให้ราหู (๘) และ เกตุ (๙) เป็นเกษตรในราศีเมถุน หากเจ้าชะตามีลัคนาอยู่ในราศีตุลย์ และมีราหู (๘) อยู่ในภพปัตนิที่ราศีเมษ เมื่อราหู (๘) จรมาทับลัคน์ หรือ ทับดาวศุกร์ (๖) เจ้าเรือนลัคน์ อย่างนี้ ทำนายได้เลยว่า ในช่วงที่ราหู (๘) ทับอยู่นั้น (ประมาณปีครึ่ง) จะเป็นช่วงจังหวะที่จะพบคู่ ส่วนจะดีหรือไม่ แท้หรือเปล่า ? อยู่กันยืนยาวแค่ไหน ? ต้องพิจารณาส่วนอื่น ๆ ประกอบ
ลักษณะของราหู (๘) เมื่อจะใช้ทำนายลักษณะรูปร่าง หน้าตา ของบุคคลนั้น มีอยู่หลายมิติ หรือ หลายแบบ เอาแน่นอนไม่ได้ บางคนก็ว่า ผิวคล้ำ มีลักษณะการกระทำที่แผลง ๆ บางตำราก็ว่า ร่างท้วม ผิวเนื้อดำ ดวงหน้ารูปไข่ หรือ กลม แต่จากการสังเกตเท่าที่เห็นมานั้น ยืนยันได้ว่า ลักษณะของราหูนั้น เป็นไปได้หลายลักษณะ ซึ่งต้องแล้วแต่ว่ามีดาวใดส่งอิทธิพลมาถึงด้วย เช่น บุคคลราหูกุมลัคน์ หรือ ลอยเหนือศีรษะขณะเกิด (อยู่ภพกัมมะ) นั้น มีทั้ง อ้วน ผอม แต่หน้ามน หน้าผากมน กว้าง คางหลุม ผิวมีทั้งขาว และ ดำ ดำแดงก็มี เอาแน่ไม่ได้
แต่ที่แน่อยู่อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าราหู (๘) ไปอยู่ในเรือนปัตนิ หรือ กุมดาวปัตนิแล้ว คู่ครองมักจะเป็นคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างฐานะความเป็นอยู่ ฯลฯ หรือ เป็นหม้าย ผ่านการมีเรือนมาแล้ว หากไม่ได้คู่ลักษณะที่ว่าไว้ โอกาสได้คู่ที่ไม่ดี กินเหล้า เมายา เสเพล ตามลักษณะนิสัยของราหู ที่เป็นตัวลุ่มหลงมัวเมา ย่อมมีมาก
เรามาดูตัวอย่างบุคคลที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของราหูกันบ้าง ว่า มีรูปร่างลักษณะนิสัยใจคออย่างไร จะยกตัวอย่างให้เห็นจริง พอสังเขป คือ
ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ (เกิด ๒๙ มีนาคม ๒๔๖๖ เวลา ๒๓.๒๕ น.) ท่านผู้นี้ จัดว่า เป็นบุคคลที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของราหูเต็มที่ กล่าวคือ ราหู (๘) ลอยเหนือศีรษะขณะเกิด และ ราหู (๘) กับ เนปจูน (น) ศุกร์ (๖) ยังทำมุมตรีโกณถึงดาวอังคาร (๓) เจ้าเรือนลัคน์ จึงส่งอิทธิพลเต็มที่
ท่านมีความสามารถในการบรรยายดนตรีอย่างตลกคะนอง มีลูกเล่นมากมายแค่ไหน ใคร ๆ ย่อมรู้จักกันดี ลักษณะของท่านเป็นคนกว้าง และเปิดเผย และมีความสามารถสารพัด นี่คือ อิทธิพลส่วนดีของราหู
แต่ราหูก็ทำให้ท่านต้องจัดว่า เป็นคนแผลง ๆ เพราะว่า มีความสามารถแปลกกว่าคนอื่น กล่าวคือ ท่านเป็นนักวิชาการเกษตร เป็นนักบริหารงานชั้นเยี่ยม แต่ก็มีความสามารถเป็นอัจฉริยะทางดนตรี ทั้งยังเป็นนักพูดที่เป็นกันเองกับคนฟัง โดยถอดเอาบุคลิกของนักบริหารออกไปจนหมดสิ้น จนรู้สึกว่า ท่านเป็นเพื่อนกับผู้ฟังโดยตลอด เมื่อท่านอยู่บทบาทอะไร ท่านจะปล่อยให้อยู่ในบทบาทนั้นจนหมดตัวทีเดียว นี่คือ ส่วนดีของราหู ส่วนรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง ลักษณะของท่านเป็นเช่นไร ถ้าใครไม่เคยเห็นท่านในจอทีวี โดยเฉพาะเด็กรุ่นหลัง ๆ ก็ให้นึกเอาลักษณะรูปร่างของราหูที่บอกไว้ในตำรา ท่านน่ะเข้าเป๊ะ ทุกประการ
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (เกิด ๒๐ เมษายน ๒๔๕๔ เวลา ๐๗.๒๐ น.) ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยผู้นี้ แม้จะมีดาวหลายดวงกุมลัคนา แต่ก็มีราหู (๘) กุมลัคนาอยู่ด้วย ราหูจึงมีส่วนปรุงแต่งให้ท่านมีความสามารถหลายทาง เป็นนักประพันธ์ นักการเมือง นักพูด นักแสดงภาพยนตร์ แสดงโขน ฯลฯ ลีลาในการเขียนหนังสือของท่านแปลก ไม่เหมือนใคร นี่ก็เพราะอิทธิพลของราหู
สมเด็จกรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช (ประสูติ ๑๑ มกราคม ๒๔๐๓ เวลา ๐๗.๑๖ น.) สมเด็จผู้นี้ เป็นที่รู้จักกันดีว่า พระองค์เป็นผู้กล้า ไม่เกรงกลัวใคร และกล้าที่จะทำ โดยที่ไม่มีใครกล้าได้ ท่านทำอะไรบางอย่างจนคนบางคนอาจเห็นว่า ท่านทำอะไรแผลง ๆ แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องจากประชาชนว่า เป็นหลักของแผ่นดิน ราหูกุมพระลัคนา ทำให้พระองค์ทรงมีพระบุคลิกลักษณะพิเศษ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ซ้ำแบบใคร
ในที่นี้ พอจะเห็นได้ว่า ลักษณะของราหูกุมลัคน์นั้น ใจคอแกล้วกล้า ยึดมั่นในหลักการ และกล้าทำ ถ้าคิดว่าตนทำถูก ราหูนั้น มีลักษณะองอาจ เข้มแข็ง ดังเช่น ท่านจอมพล เจียง ไคเช็ค (เกิด ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๓๖ เวลา ๐๔.๐๐ น.) ลัคนากุมราหูอยู่ราศีเมษ, ท่านมุสโสลินี (เกิด ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น.) ลัคนากุมราหูอยู่ราศีตุล
ราหู ทำให้กล้าที่จะแสดงหลักการอย่างเด็ดเดี่ยว ดังเช่น พ.อ.ประจวบ วัชรปาน (เกิด ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ เวลา ๐๙.๑๓ น.) ท่านเป็นนายแพทย์ และโหรผู้เชี่ยวชาญทางภารตะ ได้ให้ความรู้ทางโหร แก่นักพยากรณ์ทุกท่านตลอดมา ท่านกล้าที่จะแสดงหลักการอย่างไม่หวั่นไหวใด ๆ ทั้งสิ้น
อุษณา เพลิงธรรม (เกิด ๑๗ มิถุนายน ๒๔๖๓ เวลา ๑๖.๕๓ น.) นักประพันธ์เอกผู้นี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความละเมียดละไม แบบโรแมนติก เขียนหนังสือได้ประณีต และฝัน ไม่ซ้ำแบบใคร สำนวนแปลกใหม่ เป็นที่เลื่องลือกันในสมัยก่อน
อิทธิพลของราหูที่กุมลัคนา ทำให้กล้าที่จะทำอะไรแปลกแหวกแนว โดยรักความจริง อารมณ์ร้อนรุนแรง แต่เมื่อผลิตผลงานประพันธ์แล้ว เยือกเย็นเสมือนสายน้ำ นี่เป็นอิทธิพลของราหู ทำให้เป็นอัจฉริยะ
โก้ บางกอก (เกิด ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๒๐ น.) นักประพันธ์ท่านนี้ มีชื่อเสียงโด่งดัง และเชี่ยวชาญเขียนหัสนิยาย เป็นนายตำรวจมีชื่อเสียง ราหู (๘) ที่กุมลัคน์ ในราศีเมษ เรียกว่า ราหูบุญอสุราฤทธิ์ ซึ่งโหรโบราณยกย่องกันว่า เป็นราหูมีฤทธิ์ เช่นเดียวกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ราหูก็กุมลัคน์ในราศีนี้
ดาวพฤหัสบดี (๕) กับ ดาวจันทร์ (๒) ศุภเคราะห์ ขนาบหน้าหลังราหู (๘) อุ้มเอาไว้ น้อมนำให้ราหูเด่น ทำให้เจริญด้วยยศศักดิ์ และมีชื่อเสียง
เท่าที่ได้ยกตัวอย่างราหูกุมลัคนา ของบุคคลที่มีชื่อเสียง ล้วนเป็นอัจฉริยะ และสร้างสมคุณความดีไว้มากมาย จะเห็นได้ว่า การที่โบราณท่านว่า “ดูมัวเมาให้ดูราหู” และพรรณาราหูในแง่ร้ายมากกว่าดีนั้น ดูจะเป็นการเขียนเพียงแง่มุมเดียว ดังนั้น การพิจารณาดวงชะตานั้น จะพิจารณาเพียงดาวเดียวมากุมลัคน์ แล้วทำนายลักษณะนิสัย พฤติกรรม ความดี – เลว ออกมานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
จริงอยู่ ราหู เป็นตัวมัวเมา แต่ถ้าได้รับกระแสที่ดีจากศุภเคราะห์ที่เด่น ๆ ก็จะกลับทำให้ บุคคลผู้นั้น ลุ่มหลงมัวเมาไปในทางที่ดีได้ เช่น มีดาวพฤหัสบดี (๕) เป็นเกษตร ทำมุมร่วมธาตุกับราหู หรือ เดินนำหน้าราหู อย่างนี้ จะส่งผลทำให้เจ้าชะตา ลุ่มหลงมัวเมาในทางศาสนา เคร่งศาสนา หรือ ชอบในทางแสวงหาความรู้ ทางด้านวิชาการต่าง ๆ และที่ ราหูกุมลัคน์ โบราณท่านว่า มีผิวดำนั้น ก็ไม่จริงเสมอไป ราหูกุมลัคน์ มีผิวขาว ก็มีให้เห็นมากมาย เช่น บุษยา รังสี นักร้องชื่อดัง วงสุนทราภรณ์ (เกิด ๑๓ สิงหาคม ๒๔๘๓ เวลา ๑๑.๔๕ น.) หรือ อาพันชนิตร สุวรรณศร (เกิด ๖ กันยายน ๒๔๗๙ เวลา ๑๖.๐๘ น.) ดาราทีวี นักพูด นักพากย์ ฯลฯ มีความสามารถหลายด้าน ฯลฯ เป็นต้น
จันทร์กำเนิด(ดาว๒)-จิตวิญญาน
เมื่อเริ่มเรียนโหรฯก็ต้องศึกษาจากลัคนาและฤกษ์กำเนิดก่อนเพื่อกำหนดกรอบในการทำนายได้ชัดขึ้น
แต่โบราณในทุกตำราจะกล่าวถึงจันทร์กำเนิดไว้เสมอ ทำให้ได้มุมมองว่าในเมื่อโบราณยังกล่าวถึงจันทร์แสดงว่าจันทร์ก็ย่อมมีส่วน บอกขอบเขตการทำนายได้ด้วย
ลัคนาเปรียบเสมือนตัวตนของเจ้าชะตา เป็นสังขารเป็นที่อยู่ของการปรุงแต่งต่าง ๆ แต่จันทร์เป็นจิตใจเป็นตัวกระตุ้นให้สังขารนั้นดำเนินไปตามความต้องการของ จิตใจ โบราณจึงต้องพิจารณาจันทร์ควบคู่ไปกับลัคนาเสมอ (ได้มีโอกาสได้ใช้ ซึ่งต้องขอให้เครดิตบรรพชนว่าเก่งมาก ที่สามารถ แยกจำพวกบุคคลออกได้โดยใช้ฤกษ์ลัคนาและจันทร์) เรื่องราวในดวงชะตาเป็นเรื่องที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะมีปฎิกิริยาหรือมีการตอบสนองต่อเรื่องราวเหล่านี้อย่างไรต้องดู จันทร์เป็นหลัก ถ้าจันทร์ดี เด่น เข้มแข็ง และเกาะฤกษ์ดี เขาจะสามารถแก้ปัญหาและผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตไปได้และเริ่มสรรค์สร้างชีวิตใหม่ กำลังใจที่ดีและเข็มแข็งสามารถทำให้ชีวิตของแต่ละคนดำรงอยู่และขับเคลื่อนไปตาม กระแสแห่งดวงดาวได้โดยไม่ยาก เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมในคนบางคน ดาวบางดวงและกฎเกณฑ์บางอย่างจึงใช้ไม่ได้ และดาวบางดวงกฎเกณฑ์บางอย่างจึงใช้ได้ ลองสังเกตดูที่จันทร์ เพราะโลกเรานี้อยู่ได้ด้วยแสงอาทิตย์ และดำเนินได้ด้วยความเกื้อหนุนของจันทร์ ครั้งโบราณ บรรพชนได้เขียนตำราว่าด้วยเรื่องของจันทร์ไว้ด้วย แสดงว่าท่านต้องสังเกตเห็นเหมือนกัน
ส่วนเรื่องฤกษ์นั้น มี 27 ฤกษ์ สามกลุ่ม อ่านฤกษ์กำเนิดได้ก่อนอ่านฤกษ์จันทร์ได้ เช่น
ถ้าเกิดสมโณฤกษ์ เขาจะค่อนข้างใช้ชีวิตอย่างสมถะ เพราะว่าเขาเกิดในฤกษ์ที่ดาวเจ้าฤกษ์และเจ้าการส่งเสริมหรือให้ผลในทางนั้น แต่ถ้าหากเขาไม่สามารถใช้ชีวิตหรือพอเพียงในทางสมถะได้เป็นเพราะ ถ้าหากจันทร์เขาเกาะเทศาตรีฤกษ์ซึ่งเทศาตรีฤกษ์ก็จะหมายถึงการไม่อยู่ติดที่ เดินทาง หาความสำราญ ใจเขาไม่พอตามสภาพนั่นเอง ใจเขาก็จะขวนขวายและแสวงหา ทีนี้ก็จะเกิดเป็นความขัดแย้ง และเกิดเป็นความทุกข์ และตามมาด้วยการดิ้นรน
ขอให้ใช้ความสังเกตเปรียบเทียบและตั้งคำถามให้บ่อย ๆ ใช้ตรวจดูตัวเราเอง ทดสอบจากตัวเอง และใช้กับคนรอบข้าง คนในครอบครัวก่อน แล้วจะเห็นความน่าทึ่ง มหัศจรรย์ของโหราศาสตร์
แต่โบราณในทุกตำราจะกล่าวถึงจันทร์กำเนิดไว้เสมอ ทำให้ได้มุมมองว่าในเมื่อโบราณยังกล่าวถึงจันทร์แสดงว่าจันทร์ก็ย่อมมีส่วน บอกขอบเขตการทำนายได้ด้วย
ลัคนาเปรียบเสมือนตัวตนของเจ้าชะตา เป็นสังขารเป็นที่อยู่ของการปรุงแต่งต่าง ๆ แต่จันทร์เป็นจิตใจเป็นตัวกระตุ้นให้สังขารนั้นดำเนินไปตามความต้องการของ จิตใจ โบราณจึงต้องพิจารณาจันทร์ควบคู่ไปกับลัคนาเสมอ (ได้มีโอกาสได้ใช้ ซึ่งต้องขอให้เครดิตบรรพชนว่าเก่งมาก ที่สามารถ แยกจำพวกบุคคลออกได้โดยใช้ฤกษ์ลัคนาและจันทร์) เรื่องราวในดวงชะตาเป็นเรื่องที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะมีปฎิกิริยาหรือมีการตอบสนองต่อเรื่องราวเหล่านี้อย่างไรต้องดู จันทร์เป็นหลัก ถ้าจันทร์ดี เด่น เข้มแข็ง และเกาะฤกษ์ดี เขาจะสามารถแก้ปัญหาและผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตไปได้และเริ่มสรรค์สร้างชีวิตใหม่ กำลังใจที่ดีและเข็มแข็งสามารถทำให้ชีวิตของแต่ละคนดำรงอยู่และขับเคลื่อนไปตาม กระแสแห่งดวงดาวได้โดยไม่ยาก เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมในคนบางคน ดาวบางดวงและกฎเกณฑ์บางอย่างจึงใช้ไม่ได้ และดาวบางดวงกฎเกณฑ์บางอย่างจึงใช้ได้ ลองสังเกตดูที่จันทร์ เพราะโลกเรานี้อยู่ได้ด้วยแสงอาทิตย์ และดำเนินได้ด้วยความเกื้อหนุนของจันทร์ ครั้งโบราณ บรรพชนได้เขียนตำราว่าด้วยเรื่องของจันทร์ไว้ด้วย แสดงว่าท่านต้องสังเกตเห็นเหมือนกัน
ส่วนเรื่องฤกษ์นั้น มี 27 ฤกษ์ สามกลุ่ม อ่านฤกษ์กำเนิดได้ก่อนอ่านฤกษ์จันทร์ได้ เช่น
ถ้าเกิดสมโณฤกษ์ เขาจะค่อนข้างใช้ชีวิตอย่างสมถะ เพราะว่าเขาเกิดในฤกษ์ที่ดาวเจ้าฤกษ์และเจ้าการส่งเสริมหรือให้ผลในทางนั้น แต่ถ้าหากเขาไม่สามารถใช้ชีวิตหรือพอเพียงในทางสมถะได้เป็นเพราะ ถ้าหากจันทร์เขาเกาะเทศาตรีฤกษ์ซึ่งเทศาตรีฤกษ์ก็จะหมายถึงการไม่อยู่ติดที่ เดินทาง หาความสำราญ ใจเขาไม่พอตามสภาพนั่นเอง ใจเขาก็จะขวนขวายและแสวงหา ทีนี้ก็จะเกิดเป็นความขัดแย้ง และเกิดเป็นความทุกข์ และตามมาด้วยการดิ้นรน
ขอให้ใช้ความสังเกตเปรียบเทียบและตั้งคำถามให้บ่อย ๆ ใช้ตรวจดูตัวเราเอง ทดสอบจากตัวเอง และใช้กับคนรอบข้าง คนในครอบครัวก่อน แล้วจะเห็นความน่าทึ่ง มหัศจรรย์ของโหราศาสตร์
ดาวในและนอกเรือนชาตา
ดาวพระเคราะห์เรือนนอก - เรือนใน
ดาวพระเคราะห์ต่างๆแต่ละ ดวงที่ปรากฎในดวงชะตานั้น จะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ "พระเคราะห์เรือนนอก" และ " พระเคราะห์เรือนใน"
1 พระเคราะห์เรือนนอก ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่สถิตอยู่ในราศีต่างๆในดวงชะตา
2 พระเคราะห์เรือนใน ได้แก่ การเป็นดาวเจ้าเรือน
คุณและโทษของดาวพระเคราะห์
ความหมายของดาวพระเคราะห์ ด้านให้คุณ คือ ด้านดี ด้านให้โทษ คือ ด้านเสีย แต่ละด้านนั้นมีรายละเอียดเป็นหัวข้อสำคัญ ดังนี้
ดาวอาทิตย์ เด่น มีน้ำใสใจจริง มีความจริงจังและจริงใจ มุ่งมั่น มีใจเป็นนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักความยุติธรรม หยิ่งทรนงในเกียรติยศและศักดิ์ศรี ถือตัว เจ้ายศเจ้าศักดิ์ ชอบปรุงแต่งภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีอยู่เสมอ มีความสดชื่นเบิกบาน ทะเยอทะยานและมีความกระตือรือร้นอยู่เป็นนิจสิน
ดาวอาทิตย์ เสื่อม ไม่มีสปิริต ชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ ปล่อยตัวตามสบาย ไม่สนใจในเรื่องเกียรติยศและชื่อเสียง เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจในความรู้สึกของผู้อื่น รักง่ายหน่ายเร็ว ทำตัวเหมือนคนเบื่อโลก
ดาวจันทร์ เด่น มีธรรมชาติทางอารมณ์มั่นคงดี จิตใจและความรู้สึกเป็นปกติคงเส้นคงวา สุภาพอ่อนโยน มีความเห็นอกเห็นใจ เมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ สัดส่วน เป็นที่ต้องตาต้องใจและดึงดูดใจคน
ดาวจันทร์ เสื่อม มีธรรมชาติทางอารมณ์ไม่ดี จิตใจและอารมณ์อ่อนไหวง่ายและแปรปรวนเร็ว ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวในกิจการของผู้อื่น ไม่ชอบเอาอกเอาใจใคร รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ สัดส่วน ไม่เป็นที่ดึงดูดใจคน คุณสมบัติของกุลสตรีบกพร่อง
ดาวอังคาร เด่น มีจิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้น เอาการเอางาน เลือดลมดี ชอบการผจญภัย มีใจเป็นนักกีฬา
ดาวอังคาร เสื่อม มีจิตใจอ่อนแอและขี้ขลาด สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง การไหลเวียนของโลหิตบกพร่อง ใจร้อน มีแนวโน้มไปในทางกร้าวร้าว มุทะลุดุดัน หุนหันพลันแล่น ชอบหาเรื่องใส่ตัว
ดาวพุธ เด่น มีธรรมชาติทางความคิดดี เฉลียวฉลาด คล่องแคล่วว่องไว มีเชาว์ปัญญา ปฎิภาณไหวพริบดี ช่างพูดช่างคุย เป็นคนมีเหตุผล มีความคล่องตัวและเก่งหลายด้าน การศึกษาต้องดูที่ดาวพุธเป็นหลักด้วย
ดาวพุธ เสื่อม มีธรรมชาติทางความคิดไม่ดี ใช้ความเฉลียวฉลาดของตนเองไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เจ้าเล่ห์ มารยาสาไถย พูดจาไม่เป็นเรื่องเป็นราว หาสาระประโยชน์ไม่ได้ ชอบตำหนิติเตียน สอดรู้สอดเห็น ชอบโวยวายจนติดเป็นนิสัย อารมณ์หงุดหงิดเป็นประจำ ประสาทอ่อน พิจารณาความคดโกงให้ดูดาวพุธเสื่อมเป็นหลัก
ดาวพฤหัส เด่น มีธรรมชาติเป็นคนรักสงบ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่าเริงเบิกบานอยู่ในแนวทางที่ถูกที่ควร มีความเชื่อมั่นในตัวเอง รู้จักพัฒนาตัวเอง ซื่อสัตย์สุจริต รักความยุติธรรม ชีวิตมักประสบแต่ความโชคดี และความเจริญรุ่งเรือง
ดาวพฤหัส เสื่อม มักขาดความยั้งคิด ควบคุมตัวเองไม่ได้ ใช้จ่ายเงินสรุ่ยสุร่าย โลภมาก งมงายในสิ่งไร้สาระ มีสติปัญญาก็ไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้
ดาวศุกร์ เด่น มี ธรรมชาติในการปรุงแต่ง ดัดแปลง มีหัวในทางศิลปะ สุภาพอ่อนโยน จงรักภักดี รักสันติ รู้จักกาละเทศะ รู้ผ่อนหนักผ่อนเบา มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ใกล้ชิด เจ้าชู้ ลุ่มหลงในกิเลสตัณหาและโลกีย์วิสัย นิยมชมชอบในสิ่งสวยงาม รักธรรมชาติ
ดาวศุกร์ เสื่อม มีธรรมชาติเป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง โลภโมโทสัน ชอบหลงระเริงในแสงสีศิวิไลย์ มีตัณหาราคะมาก ไม่ค่อยสงวนตัว ไม่รักเกียรติ
ดาวเสาร์ เด่น เป็น คนเอาการเอางาน หนักแน่น อดทน เก็บกด ไม่ชอบเข้าสังคม สมถะ เก็บอารมณ์ได้ดี ซ่อนความรู้สึกเก่ง อ่านไม่ออกว่าดีหรือร้าย สุขุมเยือกเย็น เป็นผู้ใหญ่ แต่ถ้าโกรธแล้วจะรุนแรง ห้ามไม่อยู่เลยทีเดียว มีความละเอียดถี่ถ้วน ระมัดระวัง รักสงบ
ดาวเสาร์ เสื่อม ธรรมชาติ ซึ่งเป็นคนเก็บกดอยู่แล้ว เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งที่เสื่อม ทำให้เป็นคนคิดมาก มีวิตกกังวล ฟุ้งซ่าน เงียบขรึมจนน่ากลัว เฉื่อยชา เย็นชาไม่มีชีวิตชีวา เจ้าทุกข์ อมทุกข์ ลืมเหตุการณ์สะเทือนใจไม่ได้ ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ตระหนี่ จู้จี้ ขี้บ่น ไม่ชอบเข้าสังคม
ดาวราหู เด่น มีธรรมชาติเป็นคนมีความสามารถรอบด้าน มีความสามารถเฉพาะทางหรือความสามารถพิเศษ เช่น ในด้านกีฬา การพนัน การแข่งขันชิงดีชิงเด่น มีจิตรานุภาพสูง เข้มแข็ง มีความฉลียวฉลาด สามารถชักจูงและโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อถือได้ มีความศรัทธาในตัวของตัวเอง มีประสบการณ์ในด้านอบายมุข แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้เก่ง มีความคล่องตัวสูงในทุกสภาวะ
ดาวราหู เสื่อม มีธรรมชาติในทางลุ่มหลงมัวเมา มักตกอยู่ในโมหะจริต เช่น คิดอยากรวย อยากสวย อยากได้ อยากมีและและอยากเป็น ตลอดจนลุ่มหลงมัวเมาอยู่ใน รูปรส กลิ่น เสียง การสัมผัส มีความวู่วาม บุ่มบ่าม ขาดความยั้งคิด มีพรสวรรค์ในการฉ้อโกง เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง กระล่อน ปลิ้นปล้อน ชอบหลบๆซ่อนๆ อำพรางตัวเอง ตั้งตนอยู่ในความประมาท
ดาวเกตุ เด่น มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองรักษา
ดาวเกตุ เสื่อม มีวิญญาณร้ายคอยรบกวนรังควาน
ดาวมฤตยู เด่น เป็นคนมีสติปัญญาเฉียบแหลม ค่อนไปทางสติเฟื่อง มีอำนาจลึกลับและอิทธิพล เอาชนะอุปสรรคได้อย่างประหลาด มีเสน่ห์ดึงดูด มีหัวคิดริเริ่ม หยั่งรู้และเข้าถึงในศาสตร์ลี้ลับ มีบุคลิกภาพที่เป็นพิเศษเฉพาะตัว มักเกี่ยวเนื่องกับวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นนักค้นคว้า เป็นนักประดิษฐ์กรรมที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
ดาวมฤตยู เสื่อม มักมีเหตุการณ์ไม่ดีที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นคุณ เกิดทุกข์ภัยอาเภท หลงใหลในสิ่งผิดๆ นอกลู่นอกทาง ดันทุรัง แหกคอก กระด้าง ดื้อรั้น ชอบผ่าฝืน เจ้าอารมณ์มาก โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด เอาแต่ใจ และเนื่องจากที่มีนิสัยอารมณ์แบบนี้ จึงทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ดี
พระเคราะห์คู่
ดาวพระเคราะห์ต่างๆ เมื่อดวงหนึ่งไปสถิตร่วมกับดาวพระเคราะห์อีกดวงหนึ่ง จะก่อให้เกิดความหมายพิเศษขึ้นมา จากการสัมพันธ์ของดางวพระเคราะห์คู่นั้นๆ คือ
คู่มิตร เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "ดาวคู่มิตร" คือ
๑ กับ ๕ (อาทิตย์กับพฤหัส) คู่มิตรปานกลาง
๒ กับ ๔ (จันทร์กับพุธ) คู่มิตรบริสุทธิ์
๓ กับ ๖ (อังคารกับศุกร์) คู่มิตรดีมิตรชั่ว
๗ กับ ๘ (เสาร์กับราหู) คู่มิตรชั่ว
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่รวม กันโดยเป็น "คู่มิตร" กัน มีความหมายเป็นกลางๆว่า ความรัก ความเมตตา ความไว้วางใจ คนที่รักใคร่ใกล้ชิด ถ้าดาวคู่มิตรให้ผลทางด้านดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่จะเกิดขึ้น เพราะคนรัก คนใกล้ชิด เพราะมิตร เพราะความไว้วางใจ หรือที่จะได้รับจากคนรัก คนใกล้ชิด หรือจากมิตรนั่นเอง
ถ้าดาวคู่มิตรให้ผลในด้านเสีย ก็ให้ความหมายถึง ผลเสีย ที่ จะเกิดขึ้นเพราะคนรัก คนที่ใกล้ชิด เพราะมิตร เพราะความไว้วางใจ หรือที่จะได้รับจากคนรัก คนใกล้ชิด หรือจากมิตรนั่นเองเป็นเหตุ เข้าทำนองที่ว่า "ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจเอง"
คู่ธาตุ เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่ธาตุ" คือ
๑ กับ ๗ (อาทิตย์กับเสาร์)
๒ กับ ๕ (จันทร์กับพฤหัส)
๓ หับ ๘ (อังคารกับราหู)
๔ กับ ๖ (พุธกับศุกร์)
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ร่วมกันเป็น "คู่ธาตุ"กัน มีความหมายถึง ความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคงถาวร ความสมบูรณ์พูนสุข ความยั่งยืนยาวนาน
ถ้าดาวคู่ธาตุให้ผลทางด้านดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่ จะเกิดขึ้น หรือที่จะได้รับเป็นชิ้นเป็นอัน หรือได้รับอยู่อย่างยาวนาน อย่างมั่นคงถาวร หรือจะได้รับผลประโยชน์จากถาวรวัตถุที่มีอยู่
ถ้าดาวคู่ธาตุให้ผลในทางด้านเสีย ก็ให้ความหมายถึง ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น หรือที่จะได้รับนั้นมีส่วนกระทบกระเทือนถึงหลักฐาน ฐานะ ความมั่นคงถาวร หรือผลเสียนั้นจะต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่าจะหมดไป
คู่สมพล เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่สมพล" คือ
๑ กับ ๖ (อาทิตย์กับศุกร์)
๒ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๓ กับ ๕ (อังคารกับพฤหัส)
๔ กับ ๗ (พุธกับเสาร์)
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ร่วมกันเป็น "คู่สมพล" มีความหมายเป็นกลางๆว่า อำนาจ อิทธิพล ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ ตำแหน่ง หน้าที่
ถ้าดาวคู่สมพลให้ผลในด้าน ดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่จะเกิดขึ้น หรือที่จะสำเร็จ เพราะอำนาจของอิทธิพล เพราะความรู้ความสามารถ ความชำนาญ หรือเพราะตำแหน่งหน้าที่ หรือจากการใช้ความรุ้ความสามารถ
ถ้าดาวคู่สมพลให้ผลทาง ด้านเสีย ก็ให้หมายความถึง ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น จากการใช้อำนาจอิทธิพล หรือเพราะความประมาท หรือเพราะความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป และรวมถึงความเสียหายแก่ตำแหน่งหน้าที่ หรืองานในความรับผิดชอบ
คู่ศัตรู เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่กล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่ศัตรู" คือ
1 กับ 3 (อาทิตย์กับอังคาร)
4 กับ 8 (พุธกับราหู)
6 กับ 7 (ศุกร์กับเสาร์)
2 กับ 5 (จันทร์กับพฤหัส)
ประเภทของดาวเคราะห์
ดาวพระเคราะห์ทั้ง 10 ดวง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1 ดาวศุภเคราะห์ ได้แก่ 2 4 5 6 เป็นประเภทที่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล เรียกว่า ประเภท "บุญฤทธิ์"
2 ดาวบาปเคราะห์ ได้แก่ 1 3 7 8 0 เป็นประเภทที่มีความกล้าแข็ง รุนแรง เรียกว่า ประเภท "อิทธิฤทธิ์"
(ดาวเกตุ จัดอยู่ในประเภทกลางๆ ถ้าได้เกณฑ์ดี จัดเป็นศุภเคราะห์ ถ้าได้เกณฑ์ร้าย จัดเป็นบาปเคราะห์
ถ้าสถิตในทุสถานภพ จัดเป็นดาวบาปเคราะห์ เมื่อออกโคจรไปตามวิถีจักร ย่อมนำพาความหมายของเรือนนั้นๆ ติดตัวไปด้วยเสมอ)
ดาวพระเคราะห์ที่เป็นศัตรูกัน แบ่งได้ดังนี้ คือ
1 ดาวพระเคราะห์คนละประเภทกัน ถือว่าเป็นศัตรูกัน
2 ดาวพระเคราะห์ที่เป็นประเภทบาปเคราะห์ด้วยกัน ถือว่าเป็นศัตรูกัน
ลักษณะการให้คุณและโทษของดาวศุภเคราะห์และบาปเคราะห์
ขึ้นอยู่กับโยคเกณฑ์ดีหรือร้าย และตำแหน่งราศีที่สถิต (ดีหรือเสื่อม) เป็นสำคัญ
ศุภเคราะห์
ระยะเชิงมุมที่ให้คุณ ได้แก่ มุม 0 ํ 30 ํ 60 ํ 120 ํ
ระยะเชิงมุมที่ให้โทษ ได้แก่ มุม 90 ํ 180 ํ และมุมทุสถานะภพ (ให้โทษแบบนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป)
บาปเคราะห์
ระยะเชิงมุมที่ให้คุณ ได้แก่ มุม 30 ํ 60 ํ 120 ํ(ต้องผ่านการมีอุปสรรคก่อนเสมอ)
ระยะเชิงมุมที่ให้โทษ ได้แก่ มุม 0 ํ 90 ํ 180 ํ และมุมทุสถานะภพ
ดาวพระเคราะห์นอก เหนือจากการเป็น คู่มิตร คู่ธาตุ คู่สมพล ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีดาวที่เป็นคู่กันอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "คู่สัมพันธ์" โดยมีความหมายของแต่ละคู่ ดังนี้
ดาวคู่สัมพันธ์
๑ กับ ๒ (อาทิตย์กับจันทร์)
เรียกว่า "คู่ครัวเรือน คู่ผัวเมีย" ดาวคู่นี้มีอิทธิพลปานกลาง คือ เมื่อจะให้คุณ หรือ ให้โทษก็ไม่สู้ร้ายแรง หรือรุนแรงนัก มักเป็นเหตุเพียงเล็กๆน้อยๆในหมู่คณะ หรือครอบครัวเท่านั้น
๑ กับ ๓ (อาทิตย์กับอังคาร)
เรียกว่า "คู่ปะทะเฉพาะหน้า คู่ทะเยอทะยาน" โดยให้ผลดังนี้ คือ
ด้านดี หมายถึง ความกระตือรือร้น ทะเยอทะยานในความก้าวหน้า ความคล่องแคล่วว่องไว หรือได้รับชัยชนะในการต่อสู้แข่งขัน เอาจริงเอาจัง ฯ
ด้านเสีย หมายถึง การชอบใช้อำนาจ เจ้าอารมณ์ อารมณ์ร้อน อุบัติเหตุ การผ่าตัด บาดแผล ฯ
๑ กับ ๔ (อาทิตย์กับพุธ)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่ปะทะเฉพาะหน้า คู่อุบัติเหตุ"
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง มีความกระตือรือร้น มีทะเยอทะยานในความก้าวหน้า มีความคล่องแคล่วว่องไว ได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ในการแข่งขัน
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้าย ต่อลัคนา) หมายถึง การชอบใช้อำนาจ ชอบใช้อิทธิพล เป็นคนเจ้าอารมณ์ อารมณ์ร้อน โมโหร้าย มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บเลือดตกยางออก หรือต้องผ่าตัด
๑ กับ ๖ (อาทิตย์กับศุกร์)
๑ กับ ๘ (อาทิตย์กับราหู)
๒ กับ ๓ (จันทร์กับอังคาร)
๒ กับ ๖ (จันทร์กับศุกร์)
เรียกกันโดยศัพท์โหราศาสตร์ว่า "คู่จันทร์อภิรมย์ ศุกร์เจ้าสำราญ ,คู่สำรวย สำราญ , คู่สะดวกสบาย" เนื่องจากดาวคู่นี้ เป็นดาวศุภเคราะห์ทั้งคู่ ความหมายของดาวแต่ละดวงดูแล้วมีความสวย ความงาม ความอ่อนหวานนิ่มนวลทั้วสิ้น ฉะนั้นเมื่อดาว 2 ดวงนี้สถิตอยู่ราศีเดียวกัน หรือดาวดวงใดดวงหนึ่งจร หรือสถิตอาศัยเรือนซึ่งกันและกัน จะมีความหมายดังนี้
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง ความหวังอันก่อให้เกิดผลแห่งความสำเร็จ ความราบรื่น แจ่มใส ความอำนวยอวยชัยต่างๆ ความโอ่อ่าสง่างาม ความมีชีวิตชีวา ความสนุกสนานร่าเริงบันเทิงใจ ตลอดจนความปลอดโปร่งใจ
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง การปล่อยปละละเลย ประมาทจนเสียเรื่อง ทั้งนี้ด้วยอิทธิพลของดาวศุภเคราะห์ ลักษณะการให้โทษจะเป็นแบบนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งให้โทษแล้วเจ้าชะตาก็ไม่รู้ตัว เนื่องจากเกิดความเคยชิน ดาวคู่นี้ส่งผลให้เกิดความสุขสบายจนเคยตัว จนทำให้ดีแตก กล่าวคือ ความสะดวกสบาย ความโอ่อ่าหรูหรา กลับกลายเป็น ความฟุ่มเฟือย ความฟุ้งเฟ้อ ความหลงระเริง รักความสนุกสนาน ความบันเทิงเริงรมย์ จนกลายเป็นผลแห่งความเลินเล่อ ความประมาท สนุกจนลืมตัว ทำให้เกิดความทุกข์จากความสนุกนั้น โอกาสที่จะให้โทษ มักเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นได้แบบง่ายๆ
๒ กับ ๗ (จันทร์กับเสาร์)
๒ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๓ กับ ๔ (อังคารกับพุธ)
เรียกกันโดยศัพท์โหราศาสตร์ว่า " คู่คิดคู่กระทำ คู่ทฤษฎีคู่ปฏิบัติ คู่วิวาทะ"
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นบุคคลมีความขยันขันแข็ง เป็นผู้คิดแล้วต้องทำ และถ้าได้ทำแล้วก็ทำจริง ไม่ใช่แต่จะพูดอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีวาทะศิลป์ สามารถพูดเรียกร้องความสนใจแก่มหาชนได้ (ดาว ๓ มีความหมายในเรื่องความขยันขันแข็ง ความอดทน การต่อสู้ ส่วนดาว ๔ มีความหมาย เป็นผู้มีปัญญาดี มีความคิดเป็นเลิศ ความคิดความอ่านดี จึงเรียกดาวพระเคราะห์คู่นี้ว่า "คู่คิดคู่กระทำ"
ด้านเสีย (โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง เป็นผู้มีปากมาก ปากเสีย พูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ หาข้อมูลที่เป็นความจริงไม่ได้ และมักจะเดือดร้อนเพราะปาก อาจถูกใส่ความใส่ร้ายป้ายสีอยู่บ่อยๆ หรือถูกฟ้องร้องกล่าวหา เป็นต้น ส่วนใหญ่ดาวคู่นี้ ถ้าว่ากันในด้านเสียแล้ว มักจะเป็นผู้มีปากเสียงกับผู้อื่นตลอดเวลา มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นลงไม้ลงลงมือเลยทีเดียว
๓ กับ ๗ (จันทร์กับเสาร์)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่จองเวร คู่ทรหดอดทน คู่ทุกข์คู่ทรมาน"
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง ส่งผลให้มีความมานะพยายามสูง อดทนต่อความยากลำบากในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าดีหรือร้าย สาหัสหนักหรือเบาก็ตาม มักจะต่อสู้ด้วยดี ไม่ย่อท้อต่อความทุกข์ยากลำบากแม้แต้น้อย
ด้านเสีย (โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง การได้รับความทุกข์ทรมาน เมื่อมีเรื่องหรือปัญหาเกิดขึ้น มักจะยืดเยื้อยาวนานใช้เวลานานกว่าปกติธรรมดา มักจะมีการอาฆาตพยาบาทจองเวรเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกับทั้ง 2ฝ่าย ทั้งตัวเจ้าชะตาเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดาวเคราะห์คู่นี้ เป็นดาวบาปเคราะห์ เป็นคู่แห่งอิทธิฤทธิ์ ฉะนั้นความร้ายแรงจึงมีผลรุนแรงมากแบบรวดเร็วฉับพลัน ตลอดจนหนักหนาสาหัสสากรรจ์ของปัญหาต่างๆที่มีมาสู่เจ้าชะตา
๓ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๔ กับ ๕ (พุธกับพฤหัส)
เรียกกันในศัพท์โหรว่า "คู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต คู่ความคิดคู่สติปัญญา" ในวิทยาการแขนงต่างๆ คู่มันสมอง ความสุขุม เพราะว่าดาวทั้ง 2 ดวงเป็นดาวศุภเคราะห์ มีผลในด้านคิดและสติปัญญา ความเฉลียวฉลาดทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นคู่แห่งศีลธรรม คู่ธรรมะ ได้อีกด้วย
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นคนมีเหตุผล มีระเบียบแบบแผนในการทำงาน และความเป็นอยู่ในครรลองชีวิตประจำวัน มีวิชาการดี ไม่เชื่อถือหรืองมงายอะไรง่ายๆ ในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยเหตุผลและสภาพความเป็นจริง อีกทั้งมีความยุติธรรมมากอีกด้วย ชอบศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลที่มาของเรื่องราวต่างๆ
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง เป็นคนงมงาย ขาดเหตุผล ไม่ทันต่อเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกและสังคม มักมีปัญหาขัดแย้งกับผู้อื่นในด้านวิชาการอยู่เสมอ มักมีการโต้เถียง (เบากว่าคู่ดาว ๓ กับ ดาว ๔ ) ขัดแย้งกันในด้านระเบียบแบบแผนการปฏิบัติ แนวความคิด ความเชื่อ และนโยบาย พูดง่ายๆว่า มีทรรศนะคติไม่ตรงกัน เข้ากันไม่ได้
๔ กับ ๗ (พุธกับเสาร์)
๔ กับ ๘ (พุธกับราหู)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่ชิงไหวชิงพริบ คู่เจ้าเล่ห์เพทุบาย"
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นผู้มีปฏิภาณดี มีความคิดลึกซึ้ง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเก่งและดีรวดเร็วทันใจ มีชั้นเชิงดี รู้เขารู้เรา ฉลาดในการเอาตัวรอด แม้ว่ามีการศึกษาไม่สูงหรือมีฐานะยากจนก็ตามดาวคู่นี้ส่งผลให้ฉลาดทันคน ดาวพุธ ๔ เป็นดาวระบบประสาท ความคิดความอ่าน ดาวปฏิภาณ ส่วนดาวราหู ๘ เป็นดาวเล่ห์เหลี่ยมฉลาดแกมโกง เมื่อรวมกันในราศีใดราศีหนึ่ง หรือดาวดวงหนึ่งดวงใดไปอาศัยซึ่งกันและกัน จะกลายเป็นดาวคู่ที่มีประสิทธิภาพเฉียบคมยิ่งในด้านความดีความเป็นมงคล
ด้านเสีย (มี โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง ความกระล่อนหลอกลวง ความเจ้าเล่ห์ ปลิ้นปล้อน โกหกตอแหล งี่เง่า และมักจะถูกผู้อื่น เช่น เพื่อน ญาติ ผู้ใหญ่ และคนอื่นๆคอยหลอกลวงแหกตาต้มตุ๋นอยู่เป็นนิจ ผลเสียของดาวทั้ง 2 ดวงต่อเจ้าชะตา มักมีสาเหตุมาจากอุปนิสัยของปาก สันดานไม่ดีแห่งตนเอง (ในกรณีกุมลัคน์หรือเป็นเจ้าเรือนทุสถานะภพ ต้องดูด้วยว่า ดาวดวงไหนมีองศาประชิดกับลัคนามากกว่า พิจารณาในรูปแบบของศุภเคราะห์และบาปเคราะห์) มักแสดงออกในด้านชอบโกหกจนติดเป็นนิสัย มีสันดานชอบพูดหลอกลวงจนเคยปาก และในที่สุด ก็จะต้องถูกคนอื่นหลอกลวง ถูกใส่ร้ายนินทาอย่างหนีไม่พ้น เพราะนิสัยชอบตอแหลในสังคมของเจ้าชะตาเอง เป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ เพราะคนประเภทนี้มักจะขาดความจริงใจกับผู้อื่น
๕ กับ ๗ (พฤหัสกับเสาร์)
๕ กับ ๘ (พฤหัสกับราหู)
๖ กับ ๗ (ศุกร์กับเสาร์)
๖ กับ ๘ (ศุกร์กับราหู)
ดาวพระเคราะห์ต่างๆแต่ละ ดวงที่ปรากฎในดวงชะตานั้น จะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ "พระเคราะห์เรือนนอก" และ " พระเคราะห์เรือนใน"
1 พระเคราะห์เรือนนอก ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่สถิตอยู่ในราศีต่างๆในดวงชะตา
2 พระเคราะห์เรือนใน ได้แก่ การเป็นดาวเจ้าเรือน
คุณและโทษของดาวพระเคราะห์
ความหมายของดาวพระเคราะห์ ด้านให้คุณ คือ ด้านดี ด้านให้โทษ คือ ด้านเสีย แต่ละด้านนั้นมีรายละเอียดเป็นหัวข้อสำคัญ ดังนี้
ดาวอาทิตย์ เด่น มีน้ำใสใจจริง มีความจริงจังและจริงใจ มุ่งมั่น มีใจเป็นนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักความยุติธรรม หยิ่งทรนงในเกียรติยศและศักดิ์ศรี ถือตัว เจ้ายศเจ้าศักดิ์ ชอบปรุงแต่งภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีอยู่เสมอ มีความสดชื่นเบิกบาน ทะเยอทะยานและมีความกระตือรือร้นอยู่เป็นนิจสิน
ดาวอาทิตย์ เสื่อม ไม่มีสปิริต ชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ ปล่อยตัวตามสบาย ไม่สนใจในเรื่องเกียรติยศและชื่อเสียง เอาแต่ใจตัวเองเป็นใหญ่ ไม่สนใจในความรู้สึกของผู้อื่น รักง่ายหน่ายเร็ว ทำตัวเหมือนคนเบื่อโลก
ดาวจันทร์ เด่น มีธรรมชาติทางอารมณ์มั่นคงดี จิตใจและความรู้สึกเป็นปกติคงเส้นคงวา สุภาพอ่อนโยน มีความเห็นอกเห็นใจ เมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ สัดส่วน เป็นที่ต้องตาต้องใจและดึงดูดใจคน
ดาวจันทร์ เสื่อม มีธรรมชาติทางอารมณ์ไม่ดี จิตใจและอารมณ์อ่อนไหวง่ายและแปรปรวนเร็ว ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวในกิจการของผู้อื่น ไม่ชอบเอาอกเอาใจใคร รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ สัดส่วน ไม่เป็นที่ดึงดูดใจคน คุณสมบัติของกุลสตรีบกพร่อง
ดาวอังคาร เด่น มีจิตใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้น เอาการเอางาน เลือดลมดี ชอบการผจญภัย มีใจเป็นนักกีฬา
ดาวอังคาร เสื่อม มีจิตใจอ่อนแอและขี้ขลาด สุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง การไหลเวียนของโลหิตบกพร่อง ใจร้อน มีแนวโน้มไปในทางกร้าวร้าว มุทะลุดุดัน หุนหันพลันแล่น ชอบหาเรื่องใส่ตัว
ดาวพุธ เด่น มีธรรมชาติทางความคิดดี เฉลียวฉลาด คล่องแคล่วว่องไว มีเชาว์ปัญญา ปฎิภาณไหวพริบดี ช่างพูดช่างคุย เป็นคนมีเหตุผล มีความคล่องตัวและเก่งหลายด้าน การศึกษาต้องดูที่ดาวพุธเป็นหลักด้วย
ดาวพุธ เสื่อม มีธรรมชาติทางความคิดไม่ดี ใช้ความเฉลียวฉลาดของตนเองไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เจ้าเล่ห์ มารยาสาไถย พูดจาไม่เป็นเรื่องเป็นราว หาสาระประโยชน์ไม่ได้ ชอบตำหนิติเตียน สอดรู้สอดเห็น ชอบโวยวายจนติดเป็นนิสัย อารมณ์หงุดหงิดเป็นประจำ ประสาทอ่อน พิจารณาความคดโกงให้ดูดาวพุธเสื่อมเป็นหลัก
ดาวพฤหัส เด่น มีธรรมชาติเป็นคนรักสงบ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่าเริงเบิกบานอยู่ในแนวทางที่ถูกที่ควร มีความเชื่อมั่นในตัวเอง รู้จักพัฒนาตัวเอง ซื่อสัตย์สุจริต รักความยุติธรรม ชีวิตมักประสบแต่ความโชคดี และความเจริญรุ่งเรือง
ดาวพฤหัส เสื่อม มักขาดความยั้งคิด ควบคุมตัวเองไม่ได้ ใช้จ่ายเงินสรุ่ยสุร่าย โลภมาก งมงายในสิ่งไร้สาระ มีสติปัญญาก็ไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้
ดาวศุกร์ เด่น มี ธรรมชาติในการปรุงแต่ง ดัดแปลง มีหัวในทางศิลปะ สุภาพอ่อนโยน จงรักภักดี รักสันติ รู้จักกาละเทศะ รู้ผ่อนหนักผ่อนเบา มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ใกล้ชิด เจ้าชู้ ลุ่มหลงในกิเลสตัณหาและโลกีย์วิสัย นิยมชมชอบในสิ่งสวยงาม รักธรรมชาติ
ดาวศุกร์ เสื่อม มีธรรมชาติเป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง โลภโมโทสัน ชอบหลงระเริงในแสงสีศิวิไลย์ มีตัณหาราคะมาก ไม่ค่อยสงวนตัว ไม่รักเกียรติ
ดาวเสาร์ เด่น เป็น คนเอาการเอางาน หนักแน่น อดทน เก็บกด ไม่ชอบเข้าสังคม สมถะ เก็บอารมณ์ได้ดี ซ่อนความรู้สึกเก่ง อ่านไม่ออกว่าดีหรือร้าย สุขุมเยือกเย็น เป็นผู้ใหญ่ แต่ถ้าโกรธแล้วจะรุนแรง ห้ามไม่อยู่เลยทีเดียว มีความละเอียดถี่ถ้วน ระมัดระวัง รักสงบ
ดาวเสาร์ เสื่อม ธรรมชาติ ซึ่งเป็นคนเก็บกดอยู่แล้ว เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งที่เสื่อม ทำให้เป็นคนคิดมาก มีวิตกกังวล ฟุ้งซ่าน เงียบขรึมจนน่ากลัว เฉื่อยชา เย็นชาไม่มีชีวิตชีวา เจ้าทุกข์ อมทุกข์ ลืมเหตุการณ์สะเทือนใจไม่ได้ ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ตระหนี่ จู้จี้ ขี้บ่น ไม่ชอบเข้าสังคม
ดาวราหู เด่น มีธรรมชาติเป็นคนมีความสามารถรอบด้าน มีความสามารถเฉพาะทางหรือความสามารถพิเศษ เช่น ในด้านกีฬา การพนัน การแข่งขันชิงดีชิงเด่น มีจิตรานุภาพสูง เข้มแข็ง มีความฉลียวฉลาด สามารถชักจูงและโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อถือได้ มีความศรัทธาในตัวของตัวเอง มีประสบการณ์ในด้านอบายมุข แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้เก่ง มีความคล่องตัวสูงในทุกสภาวะ
ดาวราหู เสื่อม มีธรรมชาติในทางลุ่มหลงมัวเมา มักตกอยู่ในโมหะจริต เช่น คิดอยากรวย อยากสวย อยากได้ อยากมีและและอยากเป็น ตลอดจนลุ่มหลงมัวเมาอยู่ใน รูปรส กลิ่น เสียง การสัมผัส มีความวู่วาม บุ่มบ่าม ขาดความยั้งคิด มีพรสวรรค์ในการฉ้อโกง เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง กระล่อน ปลิ้นปล้อน ชอบหลบๆซ่อนๆ อำพรางตัวเอง ตั้งตนอยู่ในความประมาท
ดาวเกตุ เด่น มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองรักษา
ดาวเกตุ เสื่อม มีวิญญาณร้ายคอยรบกวนรังควาน
ดาวมฤตยู เด่น เป็นคนมีสติปัญญาเฉียบแหลม ค่อนไปทางสติเฟื่อง มีอำนาจลึกลับและอิทธิพล เอาชนะอุปสรรคได้อย่างประหลาด มีเสน่ห์ดึงดูด มีหัวคิดริเริ่ม หยั่งรู้และเข้าถึงในศาสตร์ลี้ลับ มีบุคลิกภาพที่เป็นพิเศษเฉพาะตัว มักเกี่ยวเนื่องกับวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นนักค้นคว้า เป็นนักประดิษฐ์กรรมที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
ดาวมฤตยู เสื่อม มักมีเหตุการณ์ไม่ดีที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นคุณ เกิดทุกข์ภัยอาเภท หลงใหลในสิ่งผิดๆ นอกลู่นอกทาง ดันทุรัง แหกคอก กระด้าง ดื้อรั้น ชอบผ่าฝืน เจ้าอารมณ์มาก โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด เอาแต่ใจ และเนื่องจากที่มีนิสัยอารมณ์แบบนี้ จึงทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ดี
พระเคราะห์คู่
ดาวพระเคราะห์ต่างๆ เมื่อดวงหนึ่งไปสถิตร่วมกับดาวพระเคราะห์อีกดวงหนึ่ง จะก่อให้เกิดความหมายพิเศษขึ้นมา จากการสัมพันธ์ของดางวพระเคราะห์คู่นั้นๆ คือ
คู่มิตร เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "ดาวคู่มิตร" คือ
๑ กับ ๕ (อาทิตย์กับพฤหัส) คู่มิตรปานกลาง
๒ กับ ๔ (จันทร์กับพุธ) คู่มิตรบริสุทธิ์
๓ กับ ๖ (อังคารกับศุกร์) คู่มิตรดีมิตรชั่ว
๗ กับ ๘ (เสาร์กับราหู) คู่มิตรชั่ว
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่รวม กันโดยเป็น "คู่มิตร" กัน มีความหมายเป็นกลางๆว่า ความรัก ความเมตตา ความไว้วางใจ คนที่รักใคร่ใกล้ชิด ถ้าดาวคู่มิตรให้ผลทางด้านดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่จะเกิดขึ้น เพราะคนรัก คนใกล้ชิด เพราะมิตร เพราะความไว้วางใจ หรือที่จะได้รับจากคนรัก คนใกล้ชิด หรือจากมิตรนั่นเอง
ถ้าดาวคู่มิตรให้ผลในด้านเสีย ก็ให้ความหมายถึง ผลเสีย ที่ จะเกิดขึ้นเพราะคนรัก คนที่ใกล้ชิด เพราะมิตร เพราะความไว้วางใจ หรือที่จะได้รับจากคนรัก คนใกล้ชิด หรือจากมิตรนั่นเองเป็นเหตุ เข้าทำนองที่ว่า "ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจเอง"
คู่ธาตุ เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่ธาตุ" คือ
๑ กับ ๗ (อาทิตย์กับเสาร์)
๒ กับ ๕ (จันทร์กับพฤหัส)
๓ หับ ๘ (อังคารกับราหู)
๔ กับ ๖ (พุธกับศุกร์)
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ร่วมกันเป็น "คู่ธาตุ"กัน มีความหมายถึง ความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคงถาวร ความสมบูรณ์พูนสุข ความยั่งยืนยาวนาน
ถ้าดาวคู่ธาตุให้ผลทางด้านดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่ จะเกิดขึ้น หรือที่จะได้รับเป็นชิ้นเป็นอัน หรือได้รับอยู่อย่างยาวนาน อย่างมั่นคงถาวร หรือจะได้รับผลประโยชน์จากถาวรวัตถุที่มีอยู่
ถ้าดาวคู่ธาตุให้ผลในทางด้านเสีย ก็ให้ความหมายถึง ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น หรือที่จะได้รับนั้นมีส่วนกระทบกระเทือนถึงหลักฐาน ฐานะ ความมั่นคงถาวร หรือผลเสียนั้นจะต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่าจะหมดไป
คู่สมพล เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่สมพล" คือ
๑ กับ ๖ (อาทิตย์กับศุกร์)
๒ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๓ กับ ๕ (อังคารกับพฤหัส)
๔ กับ ๗ (พุธกับเสาร์)
ดาวพระเคราะห์ที่อยู่ร่วมกันเป็น "คู่สมพล" มีความหมายเป็นกลางๆว่า อำนาจ อิทธิพล ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ ตำแหน่ง หน้าที่
ถ้าดาวคู่สมพลให้ผลในด้าน ดี ก็ให้ความหมายถึง ผลดี ที่จะเกิดขึ้น หรือที่จะสำเร็จ เพราะอำนาจของอิทธิพล เพราะความรู้ความสามารถ ความชำนาญ หรือเพราะตำแหน่งหน้าที่ หรือจากการใช้ความรุ้ความสามารถ
ถ้าดาวคู่สมพลให้ผลทาง ด้านเสีย ก็ให้หมายความถึง ผลเสีย ที่จะเกิดขึ้น จากการใช้อำนาจอิทธิพล หรือเพราะความประมาท หรือเพราะความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป และรวมถึงความเสียหายแก่ตำแหน่งหน้าที่ หรืองานในความรับผิดชอบ
คู่ศัตรู เมื่อมีดาวอยู่ร่วมกันดังที่กล่าวข้างล่างนี้ เรียกว่า "คู่ศัตรู" คือ
1 กับ 3 (อาทิตย์กับอังคาร)
4 กับ 8 (พุธกับราหู)
6 กับ 7 (ศุกร์กับเสาร์)
2 กับ 5 (จันทร์กับพฤหัส)
ประเภทของดาวเคราะห์
ดาวพระเคราะห์ทั้ง 10 ดวง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1 ดาวศุภเคราะห์ ได้แก่ 2 4 5 6 เป็นประเภทที่มีความอ่อนโยน นุ่มนวล เรียกว่า ประเภท "บุญฤทธิ์"
2 ดาวบาปเคราะห์ ได้แก่ 1 3 7 8 0 เป็นประเภทที่มีความกล้าแข็ง รุนแรง เรียกว่า ประเภท "อิทธิฤทธิ์"
(ดาวเกตุ จัดอยู่ในประเภทกลางๆ ถ้าได้เกณฑ์ดี จัดเป็นศุภเคราะห์ ถ้าได้เกณฑ์ร้าย จัดเป็นบาปเคราะห์
ถ้าสถิตในทุสถานภพ จัดเป็นดาวบาปเคราะห์ เมื่อออกโคจรไปตามวิถีจักร ย่อมนำพาความหมายของเรือนนั้นๆ ติดตัวไปด้วยเสมอ)
ดาวพระเคราะห์ที่เป็นศัตรูกัน แบ่งได้ดังนี้ คือ
1 ดาวพระเคราะห์คนละประเภทกัน ถือว่าเป็นศัตรูกัน
2 ดาวพระเคราะห์ที่เป็นประเภทบาปเคราะห์ด้วยกัน ถือว่าเป็นศัตรูกัน
ลักษณะการให้คุณและโทษของดาวศุภเคราะห์และบาปเคราะห์
ขึ้นอยู่กับโยคเกณฑ์ดีหรือร้าย และตำแหน่งราศีที่สถิต (ดีหรือเสื่อม) เป็นสำคัญ
ศุภเคราะห์
ระยะเชิงมุมที่ให้คุณ ได้แก่ มุม 0 ํ 30 ํ 60 ํ 120 ํ
ระยะเชิงมุมที่ให้โทษ ได้แก่ มุม 90 ํ 180 ํ และมุมทุสถานะภพ (ให้โทษแบบนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป)
บาปเคราะห์
ระยะเชิงมุมที่ให้คุณ ได้แก่ มุม 30 ํ 60 ํ 120 ํ(ต้องผ่านการมีอุปสรรคก่อนเสมอ)
ระยะเชิงมุมที่ให้โทษ ได้แก่ มุม 0 ํ 90 ํ 180 ํ และมุมทุสถานะภพ
ดาวพระเคราะห์นอก เหนือจากการเป็น คู่มิตร คู่ธาตุ คู่สมพล ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีดาวที่เป็นคู่กันอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "คู่สัมพันธ์" โดยมีความหมายของแต่ละคู่ ดังนี้
ดาวคู่สัมพันธ์
๑ กับ ๒ (อาทิตย์กับจันทร์)
เรียกว่า "คู่ครัวเรือน คู่ผัวเมีย" ดาวคู่นี้มีอิทธิพลปานกลาง คือ เมื่อจะให้คุณ หรือ ให้โทษก็ไม่สู้ร้ายแรง หรือรุนแรงนัก มักเป็นเหตุเพียงเล็กๆน้อยๆในหมู่คณะ หรือครอบครัวเท่านั้น
๑ กับ ๓ (อาทิตย์กับอังคาร)
เรียกว่า "คู่ปะทะเฉพาะหน้า คู่ทะเยอทะยาน" โดยให้ผลดังนี้ คือ
ด้านดี หมายถึง ความกระตือรือร้น ทะเยอทะยานในความก้าวหน้า ความคล่องแคล่วว่องไว หรือได้รับชัยชนะในการต่อสู้แข่งขัน เอาจริงเอาจัง ฯ
ด้านเสีย หมายถึง การชอบใช้อำนาจ เจ้าอารมณ์ อารมณ์ร้อน อุบัติเหตุ การผ่าตัด บาดแผล ฯ
๑ กับ ๔ (อาทิตย์กับพุธ)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่ปะทะเฉพาะหน้า คู่อุบัติเหตุ"
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง มีความกระตือรือร้น มีทะเยอทะยานในความก้าวหน้า มีความคล่องแคล่วว่องไว ได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ในการแข่งขัน
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้าย ต่อลัคนา) หมายถึง การชอบใช้อำนาจ ชอบใช้อิทธิพล เป็นคนเจ้าอารมณ์ อารมณ์ร้อน โมโหร้าย มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บเลือดตกยางออก หรือต้องผ่าตัด
๑ กับ ๖ (อาทิตย์กับศุกร์)
๑ กับ ๘ (อาทิตย์กับราหู)
๒ กับ ๓ (จันทร์กับอังคาร)
๒ กับ ๖ (จันทร์กับศุกร์)
เรียกกันโดยศัพท์โหราศาสตร์ว่า "คู่จันทร์อภิรมย์ ศุกร์เจ้าสำราญ ,คู่สำรวย สำราญ , คู่สะดวกสบาย" เนื่องจากดาวคู่นี้ เป็นดาวศุภเคราะห์ทั้งคู่ ความหมายของดาวแต่ละดวงดูแล้วมีความสวย ความงาม ความอ่อนหวานนิ่มนวลทั้วสิ้น ฉะนั้นเมื่อดาว 2 ดวงนี้สถิตอยู่ราศีเดียวกัน หรือดาวดวงใดดวงหนึ่งจร หรือสถิตอาศัยเรือนซึ่งกันและกัน จะมีความหมายดังนี้
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง ความหวังอันก่อให้เกิดผลแห่งความสำเร็จ ความราบรื่น แจ่มใส ความอำนวยอวยชัยต่างๆ ความโอ่อ่าสง่างาม ความมีชีวิตชีวา ความสนุกสนานร่าเริงบันเทิงใจ ตลอดจนความปลอดโปร่งใจ
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง การปล่อยปละละเลย ประมาทจนเสียเรื่อง ทั้งนี้ด้วยอิทธิพลของดาวศุภเคราะห์ ลักษณะการให้โทษจะเป็นแบบนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งให้โทษแล้วเจ้าชะตาก็ไม่รู้ตัว เนื่องจากเกิดความเคยชิน ดาวคู่นี้ส่งผลให้เกิดความสุขสบายจนเคยตัว จนทำให้ดีแตก กล่าวคือ ความสะดวกสบาย ความโอ่อ่าหรูหรา กลับกลายเป็น ความฟุ่มเฟือย ความฟุ้งเฟ้อ ความหลงระเริง รักความสนุกสนาน ความบันเทิงเริงรมย์ จนกลายเป็นผลแห่งความเลินเล่อ ความประมาท สนุกจนลืมตัว ทำให้เกิดความทุกข์จากความสนุกนั้น โอกาสที่จะให้โทษ มักเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นได้แบบง่ายๆ
๒ กับ ๗ (จันทร์กับเสาร์)
๒ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๓ กับ ๔ (อังคารกับพุธ)
เรียกกันโดยศัพท์โหราศาสตร์ว่า " คู่คิดคู่กระทำ คู่ทฤษฎีคู่ปฏิบัติ คู่วิวาทะ"
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นบุคคลมีความขยันขันแข็ง เป็นผู้คิดแล้วต้องทำ และถ้าได้ทำแล้วก็ทำจริง ไม่ใช่แต่จะพูดอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีวาทะศิลป์ สามารถพูดเรียกร้องความสนใจแก่มหาชนได้ (ดาว ๓ มีความหมายในเรื่องความขยันขันแข็ง ความอดทน การต่อสู้ ส่วนดาว ๔ มีความหมาย เป็นผู้มีปัญญาดี มีความคิดเป็นเลิศ ความคิดความอ่านดี จึงเรียกดาวพระเคราะห์คู่นี้ว่า "คู่คิดคู่กระทำ"
ด้านเสีย (โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง เป็นผู้มีปากมาก ปากเสีย พูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ หาข้อมูลที่เป็นความจริงไม่ได้ และมักจะเดือดร้อนเพราะปาก อาจถูกใส่ความใส่ร้ายป้ายสีอยู่บ่อยๆ หรือถูกฟ้องร้องกล่าวหา เป็นต้น ส่วนใหญ่ดาวคู่นี้ ถ้าว่ากันในด้านเสียแล้ว มักจะเป็นผู้มีปากเสียงกับผู้อื่นตลอดเวลา มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นลงไม้ลงลงมือเลยทีเดียว
๓ กับ ๗ (จันทร์กับเสาร์)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่จองเวร คู่ทรหดอดทน คู่ทุกข์คู่ทรมาน"
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง ส่งผลให้มีความมานะพยายามสูง อดทนต่อความยากลำบากในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าดีหรือร้าย สาหัสหนักหรือเบาก็ตาม มักจะต่อสู้ด้วยดี ไม่ย่อท้อต่อความทุกข์ยากลำบากแม้แต้น้อย
ด้านเสีย (โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง การได้รับความทุกข์ทรมาน เมื่อมีเรื่องหรือปัญหาเกิดขึ้น มักจะยืดเยื้อยาวนานใช้เวลานานกว่าปกติธรรมดา มักจะมีการอาฆาตพยาบาทจองเวรเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกับทั้ง 2ฝ่าย ทั้งตัวเจ้าชะตาเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดาวเคราะห์คู่นี้ เป็นดาวบาปเคราะห์ เป็นคู่แห่งอิทธิฤทธิ์ ฉะนั้นความร้ายแรงจึงมีผลรุนแรงมากแบบรวดเร็วฉับพลัน ตลอดจนหนักหนาสาหัสสากรรจ์ของปัญหาต่างๆที่มีมาสู่เจ้าชะตา
๓ กับ ๘ (จันทร์กับราหู)
๔ กับ ๕ (พุธกับพฤหัส)
เรียกกันในศัพท์โหรว่า "คู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต คู่ความคิดคู่สติปัญญา" ในวิทยาการแขนงต่างๆ คู่มันสมอง ความสุขุม เพราะว่าดาวทั้ง 2 ดวงเป็นดาวศุภเคราะห์ มีผลในด้านคิดและสติปัญญา ความเฉลียวฉลาดทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นคู่แห่งศีลธรรม คู่ธรรมะ ได้อีกด้วย
ด้านดี (มีโยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นคนมีเหตุผล มีระเบียบแบบแผนในการทำงาน และความเป็นอยู่ในครรลองชีวิตประจำวัน มีวิชาการดี ไม่เชื่อถือหรืองมงายอะไรง่ายๆ ในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยเหตุผลและสภาพความเป็นจริง อีกทั้งมีความยุติธรรมมากอีกด้วย ชอบศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลที่มาของเรื่องราวต่างๆ
ด้านเสีย (มีโยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง เป็นคนงมงาย ขาดเหตุผล ไม่ทันต่อเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกและสังคม มักมีปัญหาขัดแย้งกับผู้อื่นในด้านวิชาการอยู่เสมอ มักมีการโต้เถียง (เบากว่าคู่ดาว ๓ กับ ดาว ๔ ) ขัดแย้งกันในด้านระเบียบแบบแผนการปฏิบัติ แนวความคิด ความเชื่อ และนโยบาย พูดง่ายๆว่า มีทรรศนะคติไม่ตรงกัน เข้ากันไม่ได้
๔ กับ ๗ (พุธกับเสาร์)
๔ กับ ๘ (พุธกับราหู)
เรียกกันโดยศัพท์โหรว่า "คู่ชิงไหวชิงพริบ คู่เจ้าเล่ห์เพทุบาย"
ด้านดี (มี โยคเกณฑ์ดีต่อลัคนา) หมายถึง เป็นผู้มีปฏิภาณดี มีความคิดลึกซึ้ง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเก่งและดีรวดเร็วทันใจ มีชั้นเชิงดี รู้เขารู้เรา ฉลาดในการเอาตัวรอด แม้ว่ามีการศึกษาไม่สูงหรือมีฐานะยากจนก็ตามดาวคู่นี้ส่งผลให้ฉลาดทันคน ดาวพุธ ๔ เป็นดาวระบบประสาท ความคิดความอ่าน ดาวปฏิภาณ ส่วนดาวราหู ๘ เป็นดาวเล่ห์เหลี่ยมฉลาดแกมโกง เมื่อรวมกันในราศีใดราศีหนึ่ง หรือดาวดวงหนึ่งดวงใดไปอาศัยซึ่งกันและกัน จะกลายเป็นดาวคู่ที่มีประสิทธิภาพเฉียบคมยิ่งในด้านความดีความเป็นมงคล
ด้านเสีย (มี โยคเกณฑ์ร้ายต่อลัคนา) หมายถึง ความกระล่อนหลอกลวง ความเจ้าเล่ห์ ปลิ้นปล้อน โกหกตอแหล งี่เง่า และมักจะถูกผู้อื่น เช่น เพื่อน ญาติ ผู้ใหญ่ และคนอื่นๆคอยหลอกลวงแหกตาต้มตุ๋นอยู่เป็นนิจ ผลเสียของดาวทั้ง 2 ดวงต่อเจ้าชะตา มักมีสาเหตุมาจากอุปนิสัยของปาก สันดานไม่ดีแห่งตนเอง (ในกรณีกุมลัคน์หรือเป็นเจ้าเรือนทุสถานะภพ ต้องดูด้วยว่า ดาวดวงไหนมีองศาประชิดกับลัคนามากกว่า พิจารณาในรูปแบบของศุภเคราะห์และบาปเคราะห์) มักแสดงออกในด้านชอบโกหกจนติดเป็นนิสัย มีสันดานชอบพูดหลอกลวงจนเคยปาก และในที่สุด ก็จะต้องถูกคนอื่นหลอกลวง ถูกใส่ร้ายนินทาอย่างหนีไม่พ้น เพราะนิสัยชอบตอแหลในสังคมของเจ้าชะตาเอง เป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ เพราะคนประเภทนี้มักจะขาดความจริงใจกับผู้อื่น
๕ กับ ๗ (พฤหัสกับเสาร์)
๕ กับ ๘ (พฤหัสกับราหู)
๖ กับ ๗ (ศุกร์กับเสาร์)
๖ กับ ๘ (ศุกร์กับราหู)
มุมโหร
มุมในโหราศาสตร์ใช้อย่างไร
การใช้มุมต่างๆในวิชาโหราศาสตร์มีเป็นฐานของ “การสะท้อนของคลื่นเสียง “ ของปัยจัยต่อปัจัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ปัจจัยต่างๆ (ดาว จุดเจ้าชะตา ในโหราศาสตร์) ต้องพิจารณาค่าของมุม(องศา)ของปัจจัยส่งเสริมว่าไปถึงปัจจัยอื่น ซึ่งค่าเหล่านี้มีในดวงทุกดวง ราศีมี 12 ราศีและคลื่นเสียงก็ต่างกันแยกแยะกันไป ราศีโดยรวมมี 360 องศา แบ่งเป็นราศีละ 30 องศา ดวงหนึ่งมีราศี 12 ราศีและคลื่นเสียงต่างๆกัน ยกตัวอย่าง ราศี 4 ราศีทำมุมต่อกัน 90 องศา(จตุโกณ จักรราศีแบ่ง 4 ) มุม 90 องศา มี 4 ราศี ในแต่ละราศีมีดาวอยู่ด้วย และต่างๆก็มีคลื่นเสียงแตกต่างกัน คำทำนายของราศีที่เป็นจตุโกณก็ออกมาผสมกัน(ตรีโกณหรือผสมกัน)
ที่สำคัญก็การแปลอย่างคร่าวมีการแปล(เรื่องของมุม)มีความสำคัญมาก คำนายค่าของปัจจัยมีความหมายที่สุด
จำนวนองศาและมุมต่างๆ
มุมแบ่งเป็น มุมดี มุมร้าย หรือกลาง ต่อจุดปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญคำแปลของจุดปัจจัยขึ้นอยู่กับธรรมชาติของ ดาวหรือเจ้าชะตา ต่างๆซึ่งไม่เหมือนกัน ซึ่งคำนายก็เอามาจาก โหราศาสตร์คลาสิค(โบราณ) การแบ่งมุมเอาจากวงกลม (จักรราศีหนึ่ง)มีตัวเลขเป็น 1 เท่ากับ 360 , 0 องศา มีความหมายว่า ทับกัน การแบ่ง 2 เท่ากับ 180 (เล็ง)องศา, แบ่ง 3 เท่ากับ 120 (ตรีโกณ) องศาและแบ่ง 4 ,90 องศา(จตุโกณ)
Harmonic เลข 1(ทับ) มุม 360 หรือ 0 องศาเป็นสัญลักษณ์ของ ของแท้ ทั้งหมด
Harmonic การแบ่ง 2(เล็ง) มุม 180 องศาเป็นสองเท่ากัน เลข 2 นี้ ทำให้การแบ่ง 2 มีเหนือ ใต้ ตรงข้ามกัน เช่น หญิง ชาย, ข้างบน ข้างล่าง, หยิน หยาง หรืออย่างอื่นๆ เท่ากันอิทธิพลของความตรึงเครียดเพราะความอย่างตรงข้ามกัน
Harmonic เลข 3(ตรีโกณ) มุม 120 องศา มุมนี้มีอิทธิพลของความส่งเสริม หรือขัดกัน ทำให้เข้ากันได้ โดยปกติ ดาวหรือจุดปัจจัยที่ทำมุมตรีโกณจะมีธาตุเดียวกันเสมอ
เลข 4(จตุโกณ) มุม 90 องศา มีอิทธิพลของการแสดง ให้เห็น หรือปรากฏออกมา ตามกฎ ต่างๆ ตามปกติมุมนี้เป็นมุมขัดแย้ง ต่างฝ่ายก็ขัดขวางต่อกัน ทำให้ไม่มีทางที่ไปด้วยกันได้ (โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน ใช้มุมนี้ หรือเป็นเท่าของมุมุนี้โดยหลักปรัชญา 360, 180, 90, 45, 22.5 องศา ส่วนมุมอื่นไม่สนใจ เพราะมีอิทธิพลน้อย)
มุมที่มีอิทธิพลน้อยและอิทธิพลที่เข้ากันได้กัน
โดยพิจารณาบทความข้างบน เราอาจคิดว่าการแบ่งตัวเลขอื่นๆ เช่น 5, 6, 7, 8, 9, และ 10. มุมเหล่านี้ เรียกว่า quintile เป็นมุม 72 องศา Biquintile เป็นมุม 144 องศา, Decile เป็นมุม 36 องศา. Sextile เป็นมุม 60 องศา, ฯลฯ แต่คำนายเรื่องมุมที่มีอิทธิพลน้อย จนไม่น่าสน เราพิจารณาเทคนิคเรื่องมุมที่กันเข้าได้ให้เราแบ่งมุม ให้ 360 องศา แทนที่ไปหามุมที่มีอิทธิพลอ่อน คุณสามารถเลือกการแบ่งมุมเองได้ เช่นแบ่ง 5, แบ่ง 57, แบ่ง 228 ก็ได้ แต่จำไว้ว่าแบ่งด้วยตัวเลขอะไร และเป็นมุมอิทธิพลน้อยทั้งสิ้น
เช่นเราหารด้วย 36 ผลลัพธ์คือ 10(360/36) ดาวต่างๆที่มุมนี้ใช้ จะทับกัน ยกตัวอย่างเช่น เราใช้เลข 36 มีอิทธิพลของกิจกรรมนั้นจะถูกแก้ได้ง่าย: 36=(2*2)*(3*3), เพราะความเครียดระหว่าง มุม เล็ง(2*2) กับมุม (3*3) ทำให้เครียดนั้นถูกแก้ได้ง่ายๆ ในกรณีนี้ มุมที่เข้ากันได้ 36 จะบอกเราว่าจะมีใครสักคนช่วยแก้ปัญหาให้ เราจะรู้ว่าปัญหาเป็นอย่างไร ในมุมที่เข้ากันได้นี้เราจะสามารถพิจารณาดาวมุมแรงจากดวงชะตาได้ ให้จะพิจารณาจรด้วยได้ ว่าจะเกิดอะไร และมุมที่เข้ากันได้ 36 นี้ สามารถจะบอกอายุ 36 ปีได้ด้วย เพราะชีวิตของคนก็พอดีครบรอบที่ดาวอาทิตย์โคจรรอบราศีจักรด้วย จะมีอิทธิพลต่อชีวิต
เมื่อเราพิจารณาเรื่องมุมที่เข้ากันได้(harmonic) เราจะรู้สึกประสบการณ์ที่มุมที่เข้ากันได้(harmonic)หลายๆมุม เกิดอะไรขึ้นบ้าง ยกตัวอย่าง: เราสามารถลบตัวเลขเป็นตัวไปอย่างที่กล่าวมาแล้ว หรือเราตัวเลขอื่นๆมาคำนวณก็ได้ เราสามารถคำนวณได้หลายแบบในดวงกำเนิด แล้วเราตรวจได้
การใช้มุมต่างๆในวิชาโหราศาสตร์มีเป็นฐานของ “การสะท้อนของคลื่นเสียง “ ของปัยจัยต่อปัจัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ปัจจัยต่างๆ (ดาว จุดเจ้าชะตา ในโหราศาสตร์) ต้องพิจารณาค่าของมุม(องศา)ของปัจจัยส่งเสริมว่าไปถึงปัจจัยอื่น ซึ่งค่าเหล่านี้มีในดวงทุกดวง ราศีมี 12 ราศีและคลื่นเสียงก็ต่างกันแยกแยะกันไป ราศีโดยรวมมี 360 องศา แบ่งเป็นราศีละ 30 องศา ดวงหนึ่งมีราศี 12 ราศีและคลื่นเสียงต่างๆกัน ยกตัวอย่าง ราศี 4 ราศีทำมุมต่อกัน 90 องศา(จตุโกณ จักรราศีแบ่ง 4 ) มุม 90 องศา มี 4 ราศี ในแต่ละราศีมีดาวอยู่ด้วย และต่างๆก็มีคลื่นเสียงแตกต่างกัน คำทำนายของราศีที่เป็นจตุโกณก็ออกมาผสมกัน(ตรีโกณหรือผสมกัน)
ที่สำคัญก็การแปลอย่างคร่าวมีการแปล(เรื่องของมุม)มีความสำคัญมาก คำนายค่าของปัจจัยมีความหมายที่สุด
จำนวนองศาและมุมต่างๆ
มุมแบ่งเป็น มุมดี มุมร้าย หรือกลาง ต่อจุดปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญคำแปลของจุดปัจจัยขึ้นอยู่กับธรรมชาติของ ดาวหรือเจ้าชะตา ต่างๆซึ่งไม่เหมือนกัน ซึ่งคำนายก็เอามาจาก โหราศาสตร์คลาสิค(โบราณ) การแบ่งมุมเอาจากวงกลม (จักรราศีหนึ่ง)มีตัวเลขเป็น 1 เท่ากับ 360 , 0 องศา มีความหมายว่า ทับกัน การแบ่ง 2 เท่ากับ 180 (เล็ง)องศา, แบ่ง 3 เท่ากับ 120 (ตรีโกณ) องศาและแบ่ง 4 ,90 องศา(จตุโกณ)
Harmonic เลข 1(ทับ) มุม 360 หรือ 0 องศาเป็นสัญลักษณ์ของ ของแท้ ทั้งหมด
Harmonic การแบ่ง 2(เล็ง) มุม 180 องศาเป็นสองเท่ากัน เลข 2 นี้ ทำให้การแบ่ง 2 มีเหนือ ใต้ ตรงข้ามกัน เช่น หญิง ชาย, ข้างบน ข้างล่าง, หยิน หยาง หรืออย่างอื่นๆ เท่ากันอิทธิพลของความตรึงเครียดเพราะความอย่างตรงข้ามกัน
Harmonic เลข 3(ตรีโกณ) มุม 120 องศา มุมนี้มีอิทธิพลของความส่งเสริม หรือขัดกัน ทำให้เข้ากันได้ โดยปกติ ดาวหรือจุดปัจจัยที่ทำมุมตรีโกณจะมีธาตุเดียวกันเสมอ
เลข 4(จตุโกณ) มุม 90 องศา มีอิทธิพลของการแสดง ให้เห็น หรือปรากฏออกมา ตามกฎ ต่างๆ ตามปกติมุมนี้เป็นมุมขัดแย้ง ต่างฝ่ายก็ขัดขวางต่อกัน ทำให้ไม่มีทางที่ไปด้วยกันได้ (โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน ใช้มุมนี้ หรือเป็นเท่าของมุมุนี้โดยหลักปรัชญา 360, 180, 90, 45, 22.5 องศา ส่วนมุมอื่นไม่สนใจ เพราะมีอิทธิพลน้อย)
มุมที่มีอิทธิพลน้อยและอิทธิพลที่เข้ากันได้กัน
โดยพิจารณาบทความข้างบน เราอาจคิดว่าการแบ่งตัวเลขอื่นๆ เช่น 5, 6, 7, 8, 9, และ 10. มุมเหล่านี้ เรียกว่า quintile เป็นมุม 72 องศา Biquintile เป็นมุม 144 องศา, Decile เป็นมุม 36 องศา. Sextile เป็นมุม 60 องศา, ฯลฯ แต่คำนายเรื่องมุมที่มีอิทธิพลน้อย จนไม่น่าสน เราพิจารณาเทคนิคเรื่องมุมที่กันเข้าได้ให้เราแบ่งมุม ให้ 360 องศา แทนที่ไปหามุมที่มีอิทธิพลอ่อน คุณสามารถเลือกการแบ่งมุมเองได้ เช่นแบ่ง 5, แบ่ง 57, แบ่ง 228 ก็ได้ แต่จำไว้ว่าแบ่งด้วยตัวเลขอะไร และเป็นมุมอิทธิพลน้อยทั้งสิ้น
เช่นเราหารด้วย 36 ผลลัพธ์คือ 10(360/36) ดาวต่างๆที่มุมนี้ใช้ จะทับกัน ยกตัวอย่างเช่น เราใช้เลข 36 มีอิทธิพลของกิจกรรมนั้นจะถูกแก้ได้ง่าย: 36=(2*2)*(3*3), เพราะความเครียดระหว่าง มุม เล็ง(2*2) กับมุม (3*3) ทำให้เครียดนั้นถูกแก้ได้ง่ายๆ ในกรณีนี้ มุมที่เข้ากันได้ 36 จะบอกเราว่าจะมีใครสักคนช่วยแก้ปัญหาให้ เราจะรู้ว่าปัญหาเป็นอย่างไร ในมุมที่เข้ากันได้นี้เราจะสามารถพิจารณาดาวมุมแรงจากดวงชะตาได้ ให้จะพิจารณาจรด้วยได้ ว่าจะเกิดอะไร และมุมที่เข้ากันได้ 36 นี้ สามารถจะบอกอายุ 36 ปีได้ด้วย เพราะชีวิตของคนก็พอดีครบรอบที่ดาวอาทิตย์โคจรรอบราศีจักรด้วย จะมีอิทธิพลต่อชีวิต
เมื่อเราพิจารณาเรื่องมุมที่เข้ากันได้(harmonic) เราจะรู้สึกประสบการณ์ที่มุมที่เข้ากันได้(harmonic)หลายๆมุม เกิดอะไรขึ้นบ้าง ยกตัวอย่าง: เราสามารถลบตัวเลขเป็นตัวไปอย่างที่กล่าวมาแล้ว หรือเราตัวเลขอื่นๆมาคำนวณก็ได้ เราสามารถคำนวณได้หลายแบบในดวงกำเนิด แล้วเราตรวจได้
ดวงนวางค์จักรเชิงมุมสัมพันธ์
บทความนี้เขียนโดยพลังวัชร์ ในปุจฉา-วิสัชนา เห็นว่าน่าสนใจให้มุมมองของ ทฤษฎีมุมสัมพันธ์ของดาวได้ดี สามารถบูรณาการเพื่อให้เข้าใจในโหราศาสตร์มากขึ้น เห็นได้ว่าโหราศาสตร์ล้วนมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน มีการพัฒนาการออกไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรม ภาษาของแต่ละท้องถิ่น
จึงนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้ง
การใช้ดวงนวางค์จักร ตรวจสอบมุมสัมพันธ์(Aspect)ของดาว
ในปัจจุบัน มีการใช้ดวงนวางค์จักรกันอย่างแพร่หลาย
ส่วนใหญ่จะใช้หนักไปทางตรวจสอบมาตรฐานของดาว(เช่นเกษตร ประ อุจจ์ นิจ)
ว่าถ้าได้มาตรฐานทั้งดวงราศีจักร และดวงนวางค์จักร พร้อมกัน
จึงจะเรียกไว้ได้มาตรฐานแท้หรือดี
แต่นี้เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่จะทำให้ได้ใช้ดวงนวางค์จักรกันอย่ามีลูกเล่นมากขึ้น
ในการใช้ตรวจสอบการทำมุมของดาว หรือที่โหราศาสตร์สากลเรียกว่า Aspest
มุมสัมพันธ์(Aspect) หรือ การทำมุมของดาวนั้น หมายถึงการที่ดาว 2 ดวงที่เราสนใจ
มีระยะเชิงมุม(คล้ายวิชาเรขาคณิต) ต่อกันอย่างไร
โดยโหราศาสตร์สากลถือว่า ถ้าดาวที่เราสนใจ ไม่ได้ทำมุมในระดับถึงกันแบบองศา จะไม่มีอิทธิพลถึงกัน
ขอยกตัวอย่างมุมสัมพันธ์ที่เห็นกันอย่างเด่นชัดเช่น ๑ อาทิตย์ อยู่ในราศี เมษกุมกับ ๒ จันทร์ในราศีเมษเช่นเดียวกัน
ถ้าถือตามลักษณะการกุมของดาว ๑ อาทิตย์ จะมีอิทธิพลครอบงำ ๒ จันทร์เต็มที่
ก็คือต้องกุมกัน ณ ตำแหน่งองศาเดียวกัน จึงเรียกว่าสนิทองศา
หรือให้มีระยะห่างกัน(หรือแรงเอื้อม - Orb)ได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งขึ้นอยู่กับมติของแต่ละสำนัก เช่น 3 องศา 5 องศา หรือ 10 องศาหน้าหลังดาวที่เข้าทำมุมนั้น
เช่น ๑ อาทิตย์ อยู่ 15 องศาราศีเมษ ถ้าถือแรงเอื้อม 3 องศา
ถ้า ๒ จันทร์อยู่ใน 12 องศา - 18 องศาราศีเมษ ก็ให้ถือว่า ๑ อาทิตย์มีอิทธิพลครอบงำ ๒ จันทร์เต็มที่เป็นต้น
นี่เป็นทัศนะของโหราศาสตร์สากล ซึ่งก็มีโหราศาสตร์ไทยบางสำนักปรับมาใช้ในการพยากรณ์เหมือนกัน
แต่ในโหราศาสตร์ไทยเดิมนั้น จะถือว่าดาวมีอิทธิพลถึงกันได้ ต้องมีลักษณะที่สัมพันธ์กันในทางนวางค์จักร
และใช้ดวงนวางค์จักรในการตัดสิน
(ถ้าท่านใดยังไม่มีความรู้ด้านจักรราศีวิภาค ที่แบ่งเป็น 12 ราศี 36 ตรียางค์ 108 นวางค์
ขอให้ไปอ่านกระทู้ 1971 ของอ.สะพานเดินเรือ "คำตอบที่ 36" ทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน
หรือถ้าใครมีแผ่นลัคนาสำเร็จ ก็เอามาดูทำความเข้าใจประกอบก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
และถ้าท่านเขียนรูปดวงประกอบคำอธิบายในแต่ละข้อ วางเทียบกันจะเข้าใจง่ายขึ้นอีกครับ)
เช่นในกรณีที่ยกตัวอย่างข้างต้น ในกรณีของโหราศาสตร์ไทย จะยอมให้ ๑ อาทิตย์ มีอิทธิพลครอบงำ ๒ ได้เต็มที่นั้น
ก็ต่อเมื่อ ๒ จันทร์เข้าในระยะ 13 องศา 20 ลิปดา ถึง 16 องศา 40 ลิปดาในราศีเมษเท่านั้น
(ตกนวางค์ลำดับที่ 5 ในราศีเมษ เรียกปัญจมนวางค์ มีดาวเกษตร ๑ ราศี สิงห์เป็นเจ้านวางค์
ซึ่งเมื่อขับดาวเข้านวางค์จักรแล้ว๑ อาทิตย์ กับ ๒ ต้องกุมกันในราศีสิงห์แห่งดวงนวางค์จักรด้วย)
ตัวอย่างข้างต้นเป็นตัวอย่างของการ"กุม"กัน(Conjunction)ในราศีจักร
และดวงนวางค์ก็ต้อง"กุม"กัน จึงจะมีอิทธิพลถึงกันเต็มที่
กรณี เล็งกัน(180 องศา - Opposition)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ เล็งกับจันทร์ 1 องศา ราศีตุลย์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีตุลย์ มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
หรือ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมถุน เล็งกับจันทร์ 1 องศา ราศีธนู
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมถุน มีดาว ๖ ศุกร์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีธนู มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาว"เล็ง"กัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"เล็ง"กันด้วย
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบเล็งถึงกันแท้
กรณีร่วมธาตุ( ตรีโกณหน้า 120 องศา หรือตรีโกณหลัง 240 องศา -Trine)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ร่วมธาตุ(ตรีโกณหน้า) 1 องศา ราศีสิงห์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีสิงห์ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
หรือ ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ ร่วมธาตุ(ตรีโกณหลัง) 1 องศา ราศีธนู
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีธนู มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาวร่วมธาตุหรือตรีโกณกัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"กุม"กัน
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบตรีโกณถึงกันแท้
กรณีจตุโกณ(จตุโกณหน้า 90 องศา หรือจตุโกณหลัง 270 องศา -Square.)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ จตุโกณหน้า 1 องศา ราศีกรกฎ
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีกรกฏ มีดาว ๒ จันทร์ เกษตรราศีกรกฏเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีกรกฎในดวงนวางค์จักร
หรือ ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์จตุโกณหลัง 1 องศา ราศีมกร
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีมกร มีดาว ๗ เสาร์เกษตรราศีมกรเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีมกรในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาวจตุโกณกัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"จตุโกณ"กันในทิศทางเดียวกัน
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบจตุโกณถึงกันแท้
(เช่นการจตุโกณหน้า ดวงราศีจักร มีดาว ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่ กรกฏ โดยมองไล่จาก ๑ เวียนตามจักรมาหา ๒ ได้ 4 ราศี
ดวงนวางค์ต้องมี ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่กรกฏ หรือ ๑ อยู่เมถุน ๒ อยู่ กันย์ หรือ ๑ พิจิก ๒ อยู่กุมภ์ ก็ได้
โดยมองจาก ๑ ไปหา ๒ ต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันกันกับที่มองจากทางราศีจักร คือเวียนตามราศีจักร 4 ราศีด้วย
เช่นการจตุโกณหลัง ดวงราศีจักร มีดาว ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่ มกร โดยมองไล่จาก ๑ เวียนย้อนจักรมาหา ๒ ได้ 4 ราศี
ดวงนวางค์ต้องมี ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่มกร หรือ ๑ อยู่เมถุน ๒ อยู่มีน หรือ ๑ พิจิก ๒ อยู่กันย์ ก็ได้
โดยมองจาก ๑ ไปหา ๒ ต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันกับที่มองจากทางราศีจักรคือเวียนย้อนราศีจักร 4 ราศีด้วย
ซึ่งในมุมนี้ มองจาก ๒ ไปหา ๑ จะง่ายกว่า แต่แสดงให้เห็นภาพว่าจริงๆแล้วมีที่มาเป็นเช่นนั้น)
กรณี โยคกัน(โยคหน้า 60 องศาและโยคหลัง 300 องศา - Sextile)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์โยคหน้า1 องศาราศีเมถุน
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมถุน มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
หรือ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์โยคหลัง 1 องศาราศีกุมภ์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีกุมภ์ มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาว"โยค"ถึงกัน และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"เล็ง"กันด้วย
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบโยคถึงกันแท้
ดังนั้นจึงขอสรุปเป็นกฏสำหรับเรื่องดังกล่าวว่า
1) ดาว กุม และ ตรีโกณ ในราศีจักร ต้อง "กุม"กันในดวงนวางค์จักรด้วย
2) ดาว เล็ง และ โยค ในราศีจักร ต้อง "เล็ง" กันในดวงนวางค์จักรด้วย
3) ดาว จตุโกณ ในราศีจักร ต้อง "จตุโกณ"ในทิศทางเดียวกัน ในดวงนวางค์จักรด้วย
มุมที่แสดงมานั้น เป็นมุมดาวที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพยากรณ์ คือกุม เล็ง โยค ตรีโกณ จตุโกณ
แต่มุมอ่อนๆ ประเภทอื่นๆ
เช่นมุมศูนย์พาหะ -30 องศา(ใช้กฏจตุโกณหลัง) มุมหนุนหรือศูนยพาหุ - 330 องศา(ใช้กฏจตุโกณหน้า) = Semisextile
มุมอริ - 150 องศา (ใช้กฏจตุโกณหลัง) และมุมมรณะ-210 องศา (ใช้กฏจตุโกณหน้า) = Inconjunct
ซึ่ง 4 มุมดังกล่าวเป็นมุมที่ใช้กันน้อย และเกิดการสับสนได้ง่าย
จึงงดที่จะกล่าว แต่สามาถพิสูจน์ได้แบบเดียวกับที่แสดงมาให้ดูแล้วทั้ง 6 แบบข้างต้น
ส่วนมุม 45 องศา - Semisquare ,135 องศา Sesquiquadrate, 72 องศา Quintile และ 144 องศา Biquintile
เป็นมุมที่ไม่มีใช้เลยในโหราศาสตร์ไทย(เป็นอิทธิพลของโหราศาสตร์สากลล้วนๆ)
และหาขอสรุปเป็นกฏได้ยาก จึงงดที่จะกล่าวเช่นกัน
ผมนำมาฝากนักพยากรณ์ที่ใช้ดวงนวางค์จักร เพราะคิดได้นานแล้ว
แต่ไม่ได้ใช้เลยเพราะหนักไปใช้มุมสัมพันธ์ของดาวเจ้าเรือนเกษตรมากกว่า
และถ้าไม่ได้เขียนฝากไว้ก็กลัวจะลืม และก็ไม่มีใครนำมาใช้กันได้อีก
ขอให้เพื่อนนักพยากรณ์นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมก็แล้วกันครับ
ด้วยความเคารพในศาสตร์แห่งการพยากรณ์
พลังวัชร์
จึงนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้ง
การใช้ดวงนวางค์จักร ตรวจสอบมุมสัมพันธ์(Aspect)ของดาว
ในปัจจุบัน มีการใช้ดวงนวางค์จักรกันอย่างแพร่หลาย
ส่วนใหญ่จะใช้หนักไปทางตรวจสอบมาตรฐานของดาว(เช่นเกษตร ประ อุจจ์ นิจ)
ว่าถ้าได้มาตรฐานทั้งดวงราศีจักร และดวงนวางค์จักร พร้อมกัน
จึงจะเรียกไว้ได้มาตรฐานแท้หรือดี
แต่นี้เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่จะทำให้ได้ใช้ดวงนวางค์จักรกันอย่ามีลูกเล่นมากขึ้น
ในการใช้ตรวจสอบการทำมุมของดาว หรือที่โหราศาสตร์สากลเรียกว่า Aspest
มุมสัมพันธ์(Aspect) หรือ การทำมุมของดาวนั้น หมายถึงการที่ดาว 2 ดวงที่เราสนใจ
มีระยะเชิงมุม(คล้ายวิชาเรขาคณิต) ต่อกันอย่างไร
โดยโหราศาสตร์สากลถือว่า ถ้าดาวที่เราสนใจ ไม่ได้ทำมุมในระดับถึงกันแบบองศา จะไม่มีอิทธิพลถึงกัน
ขอยกตัวอย่างมุมสัมพันธ์ที่เห็นกันอย่างเด่นชัดเช่น ๑ อาทิตย์ อยู่ในราศี เมษกุมกับ ๒ จันทร์ในราศีเมษเช่นเดียวกัน
ถ้าถือตามลักษณะการกุมของดาว ๑ อาทิตย์ จะมีอิทธิพลครอบงำ ๒ จันทร์เต็มที่
ก็คือต้องกุมกัน ณ ตำแหน่งองศาเดียวกัน จึงเรียกว่าสนิทองศา
หรือให้มีระยะห่างกัน(หรือแรงเอื้อม - Orb)ได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งขึ้นอยู่กับมติของแต่ละสำนัก เช่น 3 องศา 5 องศา หรือ 10 องศาหน้าหลังดาวที่เข้าทำมุมนั้น
เช่น ๑ อาทิตย์ อยู่ 15 องศาราศีเมษ ถ้าถือแรงเอื้อม 3 องศา
ถ้า ๒ จันทร์อยู่ใน 12 องศา - 18 องศาราศีเมษ ก็ให้ถือว่า ๑ อาทิตย์มีอิทธิพลครอบงำ ๒ จันทร์เต็มที่เป็นต้น
นี่เป็นทัศนะของโหราศาสตร์สากล ซึ่งก็มีโหราศาสตร์ไทยบางสำนักปรับมาใช้ในการพยากรณ์เหมือนกัน
แต่ในโหราศาสตร์ไทยเดิมนั้น จะถือว่าดาวมีอิทธิพลถึงกันได้ ต้องมีลักษณะที่สัมพันธ์กันในทางนวางค์จักร
และใช้ดวงนวางค์จักรในการตัดสิน
(ถ้าท่านใดยังไม่มีความรู้ด้านจักรราศีวิภาค ที่แบ่งเป็น 12 ราศี 36 ตรียางค์ 108 นวางค์
ขอให้ไปอ่านกระทู้ 1971 ของอ.สะพานเดินเรือ "คำตอบที่ 36" ทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน
หรือถ้าใครมีแผ่นลัคนาสำเร็จ ก็เอามาดูทำความเข้าใจประกอบก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
และถ้าท่านเขียนรูปดวงประกอบคำอธิบายในแต่ละข้อ วางเทียบกันจะเข้าใจง่ายขึ้นอีกครับ)
เช่นในกรณีที่ยกตัวอย่างข้างต้น ในกรณีของโหราศาสตร์ไทย จะยอมให้ ๑ อาทิตย์ มีอิทธิพลครอบงำ ๒ ได้เต็มที่นั้น
ก็ต่อเมื่อ ๒ จันทร์เข้าในระยะ 13 องศา 20 ลิปดา ถึง 16 องศา 40 ลิปดาในราศีเมษเท่านั้น
(ตกนวางค์ลำดับที่ 5 ในราศีเมษ เรียกปัญจมนวางค์ มีดาวเกษตร ๑ ราศี สิงห์เป็นเจ้านวางค์
ซึ่งเมื่อขับดาวเข้านวางค์จักรแล้ว๑ อาทิตย์ กับ ๒ ต้องกุมกันในราศีสิงห์แห่งดวงนวางค์จักรด้วย)
ตัวอย่างข้างต้นเป็นตัวอย่างของการ"กุม"กัน(Conjunction)ในราศีจักร
และดวงนวางค์ก็ต้อง"กุม"กัน จึงจะมีอิทธิพลถึงกันเต็มที่
กรณี เล็งกัน(180 องศา - Opposition)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ เล็งกับจันทร์ 1 องศา ราศีตุลย์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีตุลย์ มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
หรือ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมถุน เล็งกับจันทร์ 1 องศา ราศีธนู
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมถุน มีดาว ๖ ศุกร์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีธนู มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาว"เล็ง"กัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"เล็ง"กันด้วย
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบเล็งถึงกันแท้
กรณีร่วมธาตุ( ตรีโกณหน้า 120 องศา หรือตรีโกณหลัง 240 องศา -Trine)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ร่วมธาตุ(ตรีโกณหน้า) 1 องศา ราศีสิงห์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีสิงห์ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
หรือ ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ ร่วมธาตุ(ตรีโกณหลัง) 1 องศา ราศีธนู
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีธนู มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาวร่วมธาตุหรือตรีโกณกัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"กุม"กัน
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบตรีโกณถึงกันแท้
กรณีจตุโกณ(จตุโกณหน้า 90 องศา หรือจตุโกณหลัง 270 องศา -Square.)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์ จตุโกณหน้า 1 องศา ราศีกรกฎ
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีกรกฏ มีดาว ๒ จันทร์ เกษตรราศีกรกฏเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีกรกฎในดวงนวางค์จักร
หรือ ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์จตุโกณหลัง 1 องศา ราศีมกร
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีมกร มีดาว ๗ เสาร์เกษตรราศีมกรเป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีมกรในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาวจตุโกณกัน
และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"จตุโกณ"กันในทิศทางเดียวกัน
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบจตุโกณถึงกันแท้
(เช่นการจตุโกณหน้า ดวงราศีจักร มีดาว ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่ กรกฏ โดยมองไล่จาก ๑ เวียนตามจักรมาหา ๒ ได้ 4 ราศี
ดวงนวางค์ต้องมี ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่กรกฏ หรือ ๑ อยู่เมถุน ๒ อยู่ กันย์ หรือ ๑ พิจิก ๒ อยู่กุมภ์ ก็ได้
โดยมองจาก ๑ ไปหา ๒ ต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันกันกับที่มองจากทางราศีจักร คือเวียนตามราศีจักร 4 ราศีด้วย
เช่นการจตุโกณหลัง ดวงราศีจักร มีดาว ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่ มกร โดยมองไล่จาก ๑ เวียนย้อนจักรมาหา ๒ ได้ 4 ราศี
ดวงนวางค์ต้องมี ๑ อยู่เมษ ๒ อยู่มกร หรือ ๑ อยู่เมถุน ๒ อยู่มีน หรือ ๑ พิจิก ๒ อยู่กันย์ ก็ได้
โดยมองจาก ๑ ไปหา ๒ ต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันกับที่มองจากทางราศีจักรคือเวียนย้อนราศีจักร 4 ราศีด้วย
ซึ่งในมุมนี้ มองจาก ๒ ไปหา ๑ จะง่ายกว่า แต่แสดงให้เห็นภาพว่าจริงๆแล้วมีที่มาเป็นเช่นนั้น)
กรณี โยคกัน(โยคหน้า 60 องศาและโยคหลัง 300 องศา - Sextile)
๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์โยคหน้า1 องศาราศีเมถุน
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมถุน มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
หรือ๑ อาทิตย์ 1 องศาราศีเมษ มี ๒ จันทร์โยคหลัง 1 องศาราศีกุมภ์
๑ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีเมษ มีดาว ๓ อังคารเกษตรราศีเมษเป็นเจ้านวางค์ ๑ จึงอยู่ในราศีเมษในดวงนวางค์จักร
๒ อยู่นวางค์ลำดับที่ 1 ในราศีกุมภ์ มีดาว ๖ ตุลย์เกษตรราศีตุลย์เป็นเจ้านวางค์ ๒ จึงอยู่ในราศีตุลย์ในดวงนวางค์จักร
เพราะฉนั้น ในกรณีที่ดวงราศีจักร มีดาว"โยค"ถึงกัน และเมื่อตรวจสอบทางนวางค์จักรแล้วดาวคู่นั้น"เล็ง"กันด้วย
จึงเรียกว่าดาวมีความสัมพันธ์แบบโยคถึงกันแท้
ดังนั้นจึงขอสรุปเป็นกฏสำหรับเรื่องดังกล่าวว่า
1) ดาว กุม และ ตรีโกณ ในราศีจักร ต้อง "กุม"กันในดวงนวางค์จักรด้วย
2) ดาว เล็ง และ โยค ในราศีจักร ต้อง "เล็ง" กันในดวงนวางค์จักรด้วย
3) ดาว จตุโกณ ในราศีจักร ต้อง "จตุโกณ"ในทิศทางเดียวกัน ในดวงนวางค์จักรด้วย
มุมที่แสดงมานั้น เป็นมุมดาวที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพยากรณ์ คือกุม เล็ง โยค ตรีโกณ จตุโกณ
แต่มุมอ่อนๆ ประเภทอื่นๆ
เช่นมุมศูนย์พาหะ -30 องศา(ใช้กฏจตุโกณหลัง) มุมหนุนหรือศูนยพาหุ - 330 องศา(ใช้กฏจตุโกณหน้า) = Semisextile
มุมอริ - 150 องศา (ใช้กฏจตุโกณหลัง) และมุมมรณะ-210 องศา (ใช้กฏจตุโกณหน้า) = Inconjunct
ซึ่ง 4 มุมดังกล่าวเป็นมุมที่ใช้กันน้อย และเกิดการสับสนได้ง่าย
จึงงดที่จะกล่าว แต่สามาถพิสูจน์ได้แบบเดียวกับที่แสดงมาให้ดูแล้วทั้ง 6 แบบข้างต้น
ส่วนมุม 45 องศา - Semisquare ,135 องศา Sesquiquadrate, 72 องศา Quintile และ 144 องศา Biquintile
เป็นมุมที่ไม่มีใช้เลยในโหราศาสตร์ไทย(เป็นอิทธิพลของโหราศาสตร์สากลล้วนๆ)
และหาขอสรุปเป็นกฏได้ยาก จึงงดที่จะกล่าวเช่นกัน
ผมนำมาฝากนักพยากรณ์ที่ใช้ดวงนวางค์จักร เพราะคิดได้นานแล้ว
แต่ไม่ได้ใช้เลยเพราะหนักไปใช้มุมสัมพันธ์ของดาวเจ้าเรือนเกษตรมากกว่า
และถ้าไม่ได้เขียนฝากไว้ก็กลัวจะลืม และก็ไม่มีใครนำมาใช้กันได้อีก
ขอให้เพื่อนนักพยากรณ์นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมก็แล้วกันครับ
ด้วยความเคารพในศาสตร์แห่งการพยากรณ์
พลังวัชร์
เด่นดาว
โหราศาตร์ฉบับพลูหลวง
เกษตรแบบใหม่
ดาวเกษตร คำว่า เกษตร แปลว่าสมบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง เพียบพร้อมไปทุกสิ่ง สมหวัง ราบรื่น ปราศจากปัญหาอุปสรรค ตำแหน่งดาวที่ได้ชื่อว่าเป็นเกษตร ย่อมจะให้คุณไปตามลักษณะของดาวนั้น และให้คุณในความหมายเกี่ยวกับเรือนนั้น ๆ เกษตรแบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว
มหาอุจจ์แบบใหม่
ดาวมหาอุจจ์ เป็นดาวให้คุณเสมือนบุคคลหนึ่ง ไปมีวาสนาเด่นในภูมิประเทศอีกแห่งหนึ่ง อุจจ์ แปลว่า สูง ดาวที่สถิตเป็นอุจจ์จึงมีกำลังสูงเยี่ยม โหราจารย์บางคนนิยมว่า มีกำลังมากยิ่งกว่าเกษตรด้วยซ้ำไป ดาวมหาอุจจ์จึงเป็นดาวมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องจดจำเช่นเดียวกับดาวเกษตร ดาวมหาอุจจ์ไปกุมกับดาวอะไร หรืออยู่เรือนใด ก็ให้คุณแก่ดาวและเรือนนั้น ๆ
มหาจักร
ดาวมหาจักร ตำแหน่งดาวในข้อนี้ นิยมยกย่องกันว่า ให้คุณแก่ดวงชะตารองลงมาจากมหาอุจจ์ คำว่า มหาจักร หมายถึง อาวุธอันมีกำลังมาก บ่งไปในทางมีฤทธิ์เดช แสดงว่าดาวนั้น ๆ มีกำลังผาดโผน เมื่อสถิตอยู่ในราศีเช่นนั้น โหรโบราณยกย่องดาวมหาจักรกันมาก รูปร่างหน้าของมหาจักร
ราชาโชค
ราชาโชค ตำแหน่งดาวในราชาโชคนี้ ท่านว่าให้คุณเทียบเท่ากับมหาจักร โดยเฉพาะท่าน ”อายัณโฆษ” โหรชื่อดังที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านให้ความสำคัญแก่ดาวราชาโชคนี้มาก ท่านอาจารย์พลูหลวง ท่านไม่ได้จัดตำแหน่งดาวราชาโชคเพิ่มเติมไปจากเดิม
เกษตรแบบใหม่
ดาวเกษตร คำว่า เกษตร แปลว่าสมบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง เพียบพร้อมไปทุกสิ่ง สมหวัง ราบรื่น ปราศจากปัญหาอุปสรรค ตำแหน่งดาวที่ได้ชื่อว่าเป็นเกษตร ย่อมจะให้คุณไปตามลักษณะของดาวนั้น และให้คุณในความหมายเกี่ยวกับเรือนนั้น ๆ เกษตรแบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว
มหาอุจจ์แบบใหม่
ดาวมหาอุจจ์ เป็นดาวให้คุณเสมือนบุคคลหนึ่ง ไปมีวาสนาเด่นในภูมิประเทศอีกแห่งหนึ่ง อุจจ์ แปลว่า สูง ดาวที่สถิตเป็นอุจจ์จึงมีกำลังสูงเยี่ยม โหราจารย์บางคนนิยมว่า มีกำลังมากยิ่งกว่าเกษตรด้วยซ้ำไป ดาวมหาอุจจ์จึงเป็นดาวมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องจดจำเช่นเดียวกับดาวเกษตร ดาวมหาอุจจ์ไปกุมกับดาวอะไร หรืออยู่เรือนใด ก็ให้คุณแก่ดาวและเรือนนั้น ๆ
มหาจักร
ดาวมหาจักร ตำแหน่งดาวในข้อนี้ นิยมยกย่องกันว่า ให้คุณแก่ดวงชะตารองลงมาจากมหาอุจจ์ คำว่า มหาจักร หมายถึง อาวุธอันมีกำลังมาก บ่งไปในทางมีฤทธิ์เดช แสดงว่าดาวนั้น ๆ มีกำลังผาดโผน เมื่อสถิตอยู่ในราศีเช่นนั้น โหรโบราณยกย่องดาวมหาจักรกันมาก รูปร่างหน้าของมหาจักร
ราชาโชค
ราชาโชค ตำแหน่งดาวในราชาโชคนี้ ท่านว่าให้คุณเทียบเท่ากับมหาจักร โดยเฉพาะท่าน ”อายัณโฆษ” โหรชื่อดังที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านให้ความสำคัญแก่ดาวราชาโชคนี้มาก ท่านอาจารย์พลูหลวง ท่านไม่ได้จัดตำแหน่งดาวราชาโชคเพิ่มเติมไปจากเดิม
คู่ดาว
ในโหราศาสตร์มีดาวคู่ดวงที่มีทั้งเสริมพลัง และทอนพลังกัน และมีบทบาทอย่างยิ่งในการพยากรณ์ดวงชาตาชีวิตของผู้คนที่ผู้ศึกษาศาสตร์พยากรณ์ควรเข้าใจและจดจำให้ขึ้นใจและบูรณาการเข้ากับคำพยากรณ์อย่างเหมาะสมกับกาลและเทศะของบริบทแห่งการพยากรณ์ได้แก่ คู่มิตร คู่ศัตรู และคู่สมพล
พระเคราะห์ ทั้ง ๘ ดวง นอกจากจะมีคู่ธาตุแล้ว ก็ยังมีคู่มิตร คู่ศัตรู และคู่สมพลอีกด้วย ซึ่งได้จะนำเสนอโดยย่อ ทั้งนี้ผู้สนใจอาจกำหนดจำคำกลอนเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการจำก็ได้ ดังนี้...
ดาวคู่มิตร มีบทกลอนว่า
อาทิตย์เป็นมิตรกับครู
จันทร์โฉมตรูพุธนงเยาว์
ศุกร์ปากหวานอังคารรับเอา
ราหูกับเสาร์เป็นมิตรต่อกัน
กล่าวคือ อาทิตย์+พฤหัส (ครู)... จันทร์+พุธ.... ศุกร์+อังคาร.... ราหู+เสาร์....
.....
ดาวคู่ศัตรู มีบทกลอนว่า
อาทิตย์ผิดใจกับอังคาร
พุธอันธพาลรังควานราหู
ศุกร์กับเสาร์เป็นเสี้ยนศัตรู
จันทร์กับครูเป็นอริต่อกัน
กล่าวคือ อาทิตย์+อังคาร.... พุธ+ราหู.... ศุกร์+เสาร์.... จันทร์+พฤหัส (ครู)....
ถ้าว่าพระเคราะห์ที่เป็นมิตรกันก็จะเกื้อหนุนกัน ถ้าเป็นศัตรูก็จะทำลายล้างกัน... ซึ่งในสำนวนไทยที่ได้ยินกันประจำก็เช่น พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ..นั่นคือ คู่ศัตรูมาเจอกัน ก็จะทำให้เจ้าของดวงชตามีปัญหาในชีวิต...ประมาณนี้
ความเป็นมิตรหรือศัตรูของพระเคราะห์เหล่านี้ แตกต่างกันไป ซึ่งผู้เขียนค่อยนำมาเล่าในโอกาสต่อไป....
.......
ดาวคู่สมพล คือพระเคราะห์ที่เอากำลังบวกได้ ๒๗
คู่ สมพลนี้ ผู้เขียนไม่เคยเจอบทกลอน แต่รู้กันทั่วไปว่า ถ้านำกำลังของดวงดาวทั้งสองมาบวกกันได้ ๒๗ ก็จัดเป็น คู่สมพล ซึ่งมี ๔ คู่ ดังต่อไปนี้...
อาทิตย์ (๖) + ศุกร์ (๒๑) = คู่สมพล (๒๗)
จันทร์ (๑๕) + ราหู (๑๒) = คู่สมพล (๒๗)
อังคาร (๘) + พฤหัส (๑๙) = คู่สมพล (๒๗)
พุธ (๑๗) + เสาร์ (๑๐) = คู่สมพล (๒๗)
เลข ๒๗ นี้มาจากที่ใด ?..
คำอธิบายก็ต้องย้อนกลับไปที่เดิม ซึ่งผู้แรกสนใจหรือผู้ต้องการทบทวนก็กลับไปดูที่ ฉันคือศูนย์กลางเอกภพ และ ฉันเป็นส่วนหนึ่งของโลก ได้อีกครั้ง.. จะอธิบายเพิ่มเติมย่อๆ..
เมื่อ โลกเป็นศูนย์กลางเอกภพแล้ว และแบ่งออกไปเป็น ๑๒ ส่วน ก็จะได้ ๑๒ ราศี...ซึ่ง ๑๒ ราศีเหล่านี้จะมีพระเคราะห์แต่ละดวงเป็นเจ้าเรือนสถิตอยู่ ...ส่วนที่ไกลออกไปนั้น ก็ใช้โลกเป็นศูนย์กลางอีกครั้ง แล้วก็แบ่งเป็น ๒๗ ส่วน..
๒๗ ส่วนเหล่านี้ จะมีกลุ่มดาวประจำอยู่แต่ละส่วน เมื่อผ่านส่วนใดก็เรียกว่า ฤกษ์ นั้นๆ เช่น กฤติกาฤกษ์ คือ กลุ่มดาวลูกไก่ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มดาวเหล่านี้ก็มีอิทธิพลต่อดวงชตาเช่นเดียวกัน...
สรุปว่า เลข ๒๗ มาจากนี้... ซึ่งดาวพระเคราะห์คู่ใด ถ้าได้ คู่สมพล ก็หมายถึง ความสมบูรณ์ เพียบพร้อม เต็มเปี่ยม...ทำนองนี้
พระเคราะห์ ทั้ง ๘ ดวง นอกจากจะมีคู่ธาตุแล้ว ก็ยังมีคู่มิตร คู่ศัตรู และคู่สมพลอีกด้วย ซึ่งได้จะนำเสนอโดยย่อ ทั้งนี้ผู้สนใจอาจกำหนดจำคำกลอนเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการจำก็ได้ ดังนี้...
ดาวคู่มิตร มีบทกลอนว่า
อาทิตย์เป็นมิตรกับครู
จันทร์โฉมตรูพุธนงเยาว์
ศุกร์ปากหวานอังคารรับเอา
ราหูกับเสาร์เป็นมิตรต่อกัน
กล่าวคือ อาทิตย์+พฤหัส (ครู)... จันทร์+พุธ.... ศุกร์+อังคาร.... ราหู+เสาร์....
.....
ดาวคู่ศัตรู มีบทกลอนว่า
อาทิตย์ผิดใจกับอังคาร
พุธอันธพาลรังควานราหู
ศุกร์กับเสาร์เป็นเสี้ยนศัตรู
จันทร์กับครูเป็นอริต่อกัน
กล่าวคือ อาทิตย์+อังคาร.... พุธ+ราหู.... ศุกร์+เสาร์.... จันทร์+พฤหัส (ครู)....
ถ้าว่าพระเคราะห์ที่เป็นมิตรกันก็จะเกื้อหนุนกัน ถ้าเป็นศัตรูก็จะทำลายล้างกัน... ซึ่งในสำนวนไทยที่ได้ยินกันประจำก็เช่น พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก ..นั่นคือ คู่ศัตรูมาเจอกัน ก็จะทำให้เจ้าของดวงชตามีปัญหาในชีวิต...ประมาณนี้
ความเป็นมิตรหรือศัตรูของพระเคราะห์เหล่านี้ แตกต่างกันไป ซึ่งผู้เขียนค่อยนำมาเล่าในโอกาสต่อไป....
.......
ดาวคู่สมพล คือพระเคราะห์ที่เอากำลังบวกได้ ๒๗
คู่ สมพลนี้ ผู้เขียนไม่เคยเจอบทกลอน แต่รู้กันทั่วไปว่า ถ้านำกำลังของดวงดาวทั้งสองมาบวกกันได้ ๒๗ ก็จัดเป็น คู่สมพล ซึ่งมี ๔ คู่ ดังต่อไปนี้...
อาทิตย์ (๖) + ศุกร์ (๒๑) = คู่สมพล (๒๗)
จันทร์ (๑๕) + ราหู (๑๒) = คู่สมพล (๒๗)
อังคาร (๘) + พฤหัส (๑๙) = คู่สมพล (๒๗)
พุธ (๑๗) + เสาร์ (๑๐) = คู่สมพล (๒๗)
เลข ๒๗ นี้มาจากที่ใด ?..
คำอธิบายก็ต้องย้อนกลับไปที่เดิม ซึ่งผู้แรกสนใจหรือผู้ต้องการทบทวนก็กลับไปดูที่ ฉันคือศูนย์กลางเอกภพ และ ฉันเป็นส่วนหนึ่งของโลก ได้อีกครั้ง.. จะอธิบายเพิ่มเติมย่อๆ..
เมื่อ โลกเป็นศูนย์กลางเอกภพแล้ว และแบ่งออกไปเป็น ๑๒ ส่วน ก็จะได้ ๑๒ ราศี...ซึ่ง ๑๒ ราศีเหล่านี้จะมีพระเคราะห์แต่ละดวงเป็นเจ้าเรือนสถิตอยู่ ...ส่วนที่ไกลออกไปนั้น ก็ใช้โลกเป็นศูนย์กลางอีกครั้ง แล้วก็แบ่งเป็น ๒๗ ส่วน..
๒๗ ส่วนเหล่านี้ จะมีกลุ่มดาวประจำอยู่แต่ละส่วน เมื่อผ่านส่วนใดก็เรียกว่า ฤกษ์ นั้นๆ เช่น กฤติกาฤกษ์ คือ กลุ่มดาวลูกไก่ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มดาวเหล่านี้ก็มีอิทธิพลต่อดวงชตาเช่นเดียวกัน...
สรุปว่า เลข ๒๗ มาจากนี้... ซึ่งดาวพระเคราะห์คู่ใด ถ้าได้ คู่สมพล ก็หมายถึง ความสมบูรณ์ เพียบพร้อม เต็มเปี่ยม...ทำนองนี้
๗. ดาวในโหราศาสตร์ไทย
ดาวในโหราศาสตร์ไทย
แน่ นอนว่าต้องใช้ดาวจริงที่สามารถคำนวณได้จากดาราศาสตร์ แต่จะเป็นดาวดวงใดบ้างนั้น โหราศาสตร์ไทยได้กำหนดไว้ขั้นต้นอย่างน้อย 10 ดวง ซึ่งในอนาคต ถ้าในทางดาราศาสตร์มีการค้นพบดาวดวงใหม่เพิ่มขึ้น ก็อาจนำมาช่วยในการพยากรณ์ต่อไป โดยก่อนนำมาใช้ก็ต้องมีการบันทึกสถิติเก็บไว้เพื่อสำหรับอ้างอิงว่าการ พยากรณ์น่าจะเป็นไปตามเหตุการณ์ใด
ดาว ทั้ง 10 ดวงนั้น ได้แก่ ดาวอาทิตย์ จันทร์ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์ ราหู เกตุ และมฤตยู ประกอบด้วยดาวจริง 8 ดวง ส่วนอีก 2 ดวงนั้นไม่ใช่ดาว หากแต่เป็นจุดคราสหรือเงาที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งก็คือ ราหูและเกตุนั่นเอง
ดาว เกตุและดาวมฤตยูนั้น เพิ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แต่เดิมนั้นโหราศาสตร์ไทยมีใช้ถึงแค่ดาวราหูเท่านั้น
สัญลักษณ์และอักษรย่อของดาว
อาทิตย์ สัญลักษณ์คือ ๑ อักษรย่อคือ อ
จันทร์ ,, ๒ ,, จ
อังคาร ,, ๓ ,, ภ (ภุมโม)
พุธ ,, ๔ ,, ว (วุธโธ)
พฤหัส ,, ๕ ,, ช (ชีโว)
ศุกร์ ,, ๖ ,, ศ
เสาร์ ,, ๗ ,, ส
ราหู ,, ๘ ,, ร
เกตุ ,, ๙ ,, ก
มฤตยู ,, ๐ ,, ม
ความหมายของดาว
บทกลอนตามคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยโบราณ
ดังนี้
ยศศักดิ์อัครฐานทายอาทิตย์
รูปจริตทายจันทร์
กล้าขยันทายอังคาร
เจรจาอ่อนหวานทายพุธ
ปัญญาบริสุทธิ์ทายพฤหัส
กิเลศกำหนัดทายศุกร์
โทษทุกข์ทายเสาร์
ลุ่มหลงมัวเมาทายราหู
อายุยืนอยู่ทายเกตุ
ภัยอาเพศทายมฤตยู
คำกลอนข้างต้นเป็นความหมายโดยย่อๆ ควรท่องจำเอาไว้ จะมีประโยชน์ในภายหลัง
ตอนนี้ลองอ่านทำความเข้าใจกับความหมายยาวๆ แต่ยังไม่ยาวที่สุดดูบ้าง
ดาว๑ ดาวอาทิตย์
เขา คือหัวหน้าของดาวในภาคกลางวัน ไม่ต้องสาธยายมากก็พอจะเดาความหมายกันได้อยู่แล้ว ถ้าเป็นคนก็ต้องเป็นคนรักเกียรติรักศักดิ์ศรี มีความเป็นผู้นำ ชอบความโอ่อ่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
ดาว ๒ ดาวจันทร์
เป็น หัวหน้าของดาวในภาคกลางคืน สามารถดูด้วยตาเปล่าได้ ให้ความรู้สึกเย็น ถ้าเป็นคนก็จะมีนิสัยเรียบร้อย อ่อนไหวคล้ายผู้หญิง อารมณ์แปรปรวน ปรับตัวง่าย น่ารักน่าใคร่
ดาว ๓ ดาวอังคาร
เขา ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ก็น่าจะใกล้เคียงอยู่ เพราะมีนิสัยกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ใจกล้าบ้าบิ่น อารมณ์ร้อน ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น ชอบออกหน้า เป็นนักบุกเบิก
ดาว ๔ ดาวพุธ
นี่คือเทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นปัญญาทางโลก มีไหวพริบปฏิภาณ ฉลาดคิดฉลาดพูด ชอบเจรจาประสาทะ ถนัดการประชาสัมพันธ์ งานเขียน งานประพันธ์
ดาว ๕ ดาวพฤหัส
เป็น ดาวครูบาอาจารย์ หมายถึงการมีปัญญาในทางธรรม มีคุณธรรม เชื่อมั่นในความคิดตนเอง เป็นนักวิชาการ ใจอารี มีความสุขสงบ คิดดี เป็นกุนซือ หรือที่ปรึกษาที่ดี
ดาว ๖ ดาวศุกร์
ฝรั่งยกให้เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก เป็นผู้ที่มีอารมณ์ศิลป์ โรแมนติก รักหมู่คณะ รักธรรมชาติ รักสวยรักงาม ค่อนข้างเจ้าชู้
ดาว ๗ ดาวเสาร์
เป็น ดาวแห่งความทุกข์ นิสัยเงียบขรึม ค่อนข้างเครียด วิตกกังวล มีความมานะอดทนสูง รอบคอบ ตกอยู่ในภาวะหรือในกรอบของข้อจำกัด อืดอาด ชักช้า
ดาว ๘ ดาวราหู
มี นิสัยลุ่มหลงอะไรได้ง่าย ทำตามอารมณ์ตนเอง ขี้โมโห โกรธง่ายหายเร็ว เอะอะโวยวาย ซุ่มซ่าม ชอบให้คนยกยอปอปั้น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เอาแน่นอนไม่ได้ เจ้าเล่ห์ทันคน
ดาว ๙ ดาวเกตุ
หัวโบราณ คร่ำครึ เชย แต่มีความคิดแปลกๆไม่เหมือนใคร บางครั้งก็ล้ำสมัยบางทีก็ล้าสมัย เอาใจยากเนื่องจากใครๆก็ตามความคิดไม่ค่อยทัน
ดาว ๑0 ดาวมฤตยู
ชอบการเปลี่ยนแปลง การปฏิวัติ มีความมั่นใจในตัวเองสูง ชอบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สนใจศาสตร์ลี้ลับที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้
แน่ นอนว่าต้องใช้ดาวจริงที่สามารถคำนวณได้จากดาราศาสตร์ แต่จะเป็นดาวดวงใดบ้างนั้น โหราศาสตร์ไทยได้กำหนดไว้ขั้นต้นอย่างน้อย 10 ดวง ซึ่งในอนาคต ถ้าในทางดาราศาสตร์มีการค้นพบดาวดวงใหม่เพิ่มขึ้น ก็อาจนำมาช่วยในการพยากรณ์ต่อไป โดยก่อนนำมาใช้ก็ต้องมีการบันทึกสถิติเก็บไว้เพื่อสำหรับอ้างอิงว่าการ พยากรณ์น่าจะเป็นไปตามเหตุการณ์ใด
ดาว ทั้ง 10 ดวงนั้น ได้แก่ ดาวอาทิตย์ จันทร์ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์ ราหู เกตุ และมฤตยู ประกอบด้วยดาวจริง 8 ดวง ส่วนอีก 2 ดวงนั้นไม่ใช่ดาว หากแต่เป็นจุดคราสหรือเงาที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งก็คือ ราหูและเกตุนั่นเอง
ดาว เกตุและดาวมฤตยูนั้น เพิ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แต่เดิมนั้นโหราศาสตร์ไทยมีใช้ถึงแค่ดาวราหูเท่านั้น
สัญลักษณ์และอักษรย่อของดาว
อาทิตย์ สัญลักษณ์คือ ๑ อักษรย่อคือ อ
จันทร์ ,, ๒ ,, จ
อังคาร ,, ๓ ,, ภ (ภุมโม)
พุธ ,, ๔ ,, ว (วุธโธ)
พฤหัส ,, ๕ ,, ช (ชีโว)
ศุกร์ ,, ๖ ,, ศ
เสาร์ ,, ๗ ,, ส
ราหู ,, ๘ ,, ร
เกตุ ,, ๙ ,, ก
มฤตยู ,, ๐ ,, ม
ความหมายของดาว
บทกลอนตามคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยโบราณ
ดังนี้
ยศศักดิ์อัครฐานทายอาทิตย์
รูปจริตทายจันทร์
กล้าขยันทายอังคาร
เจรจาอ่อนหวานทายพุธ
ปัญญาบริสุทธิ์ทายพฤหัส
กิเลศกำหนัดทายศุกร์
โทษทุกข์ทายเสาร์
ลุ่มหลงมัวเมาทายราหู
อายุยืนอยู่ทายเกตุ
ภัยอาเพศทายมฤตยู
คำกลอนข้างต้นเป็นความหมายโดยย่อๆ ควรท่องจำเอาไว้ จะมีประโยชน์ในภายหลัง
ตอนนี้ลองอ่านทำความเข้าใจกับความหมายยาวๆ แต่ยังไม่ยาวที่สุดดูบ้าง
ดาว๑ ดาวอาทิตย์
เขา คือหัวหน้าของดาวในภาคกลางวัน ไม่ต้องสาธยายมากก็พอจะเดาความหมายกันได้อยู่แล้ว ถ้าเป็นคนก็ต้องเป็นคนรักเกียรติรักศักดิ์ศรี มีความเป็นผู้นำ ชอบความโอ่อ่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
ดาว ๒ ดาวจันทร์
เป็น หัวหน้าของดาวในภาคกลางคืน สามารถดูด้วยตาเปล่าได้ ให้ความรู้สึกเย็น ถ้าเป็นคนก็จะมีนิสัยเรียบร้อย อ่อนไหวคล้ายผู้หญิง อารมณ์แปรปรวน ปรับตัวง่าย น่ารักน่าใคร่
ดาว ๓ ดาวอังคาร
เขา ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ก็น่าจะใกล้เคียงอยู่ เพราะมีนิสัยกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ใจกล้าบ้าบิ่น อารมณ์ร้อน ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น ชอบออกหน้า เป็นนักบุกเบิก
ดาว ๔ ดาวพุธ
นี่คือเทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นปัญญาทางโลก มีไหวพริบปฏิภาณ ฉลาดคิดฉลาดพูด ชอบเจรจาประสาทะ ถนัดการประชาสัมพันธ์ งานเขียน งานประพันธ์
ดาว ๕ ดาวพฤหัส
เป็น ดาวครูบาอาจารย์ หมายถึงการมีปัญญาในทางธรรม มีคุณธรรม เชื่อมั่นในความคิดตนเอง เป็นนักวิชาการ ใจอารี มีความสุขสงบ คิดดี เป็นกุนซือ หรือที่ปรึกษาที่ดี
ดาว ๖ ดาวศุกร์
ฝรั่งยกให้เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก เป็นผู้ที่มีอารมณ์ศิลป์ โรแมนติก รักหมู่คณะ รักธรรมชาติ รักสวยรักงาม ค่อนข้างเจ้าชู้
ดาว ๗ ดาวเสาร์
เป็น ดาวแห่งความทุกข์ นิสัยเงียบขรึม ค่อนข้างเครียด วิตกกังวล มีความมานะอดทนสูง รอบคอบ ตกอยู่ในภาวะหรือในกรอบของข้อจำกัด อืดอาด ชักช้า
ดาว ๘ ดาวราหู
มี นิสัยลุ่มหลงอะไรได้ง่าย ทำตามอารมณ์ตนเอง ขี้โมโห โกรธง่ายหายเร็ว เอะอะโวยวาย ซุ่มซ่าม ชอบให้คนยกยอปอปั้น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เอาแน่นอนไม่ได้ เจ้าเล่ห์ทันคน
ดาว ๙ ดาวเกตุ
หัวโบราณ คร่ำครึ เชย แต่มีความคิดแปลกๆไม่เหมือนใคร บางครั้งก็ล้ำสมัยบางทีก็ล้าสมัย เอาใจยากเนื่องจากใครๆก็ตามความคิดไม่ค่อยทัน
ดาว ๑0 ดาวมฤตยู
ชอบการเปลี่ยนแปลง การปฏิวัติ มีความมั่นใจในตัวเองสูง ชอบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สนใจศาสตร์ลี้ลับที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้
๖. เกตุ ๙ ไทย
ต่อ ไป จะได้นำเอาทัศนะเกี่ยวกับดาวเกตุ ที่ได้บันทึกเอาไว้ในหนังสือ ทวาทศเคราะห์ ของท่าน อ.พลูหลวง มาให้นักศึกษา และผู้สนใจได้พิจารณากัน ดังนี้
เนื่องจากพระเกตุ เป็นดาวใหม่ ที่คำนวณขึ้นใช้โดยโหราจารย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง เกตุไทยจึงไม่มีตำนานเล่าไว้ ตำราจักรทีปนีของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส จึงมิได้กล่าวถึงเลย
ลักษณะของดาวเกตุไทยนั้น โหรไทยได้ให้คำนิยามไว้หลาย ๆ ท่าน ส่วนใหญ่ เชื่อว่า เกตุกุมลัคนา มักห่าม ๆ พิกล รูปร่าง แปลกกว่าผู้อื่น (น่าจะรวมถึง ลักษณะเด่นบนในหน้า หรือ จุดเด่นของร่างกายที่เห็นง่าย เช่น พิการ, มีปาน มีใฝ หรือ หน้าตกกระ ฯลฯ – อ.เล็ก พลูโต)
เท่าที่ข้าพเจ้า (อ.พลูหลวง) สังเกตดู เห็นว่า เกตุนั้น เกี่ยวข้องกับของโบราณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัด ไสยศาสตร์ หรือ สถานที่แปลก ๆ ซึ่งดูก็สมกับลักษณะของราศีเมถุน อันเกตุเป็นเกษตรอยู่นั้น เป็นราศีรูปคนคู่ คือ หญิงชายคู่กัน บ้างก็ว่ากำลังเสพเมถุน
มีโหรท่านหนึ่ง เขียนตำรารายงาน เกี่ยวกับเกตุไว้อย่างพิสดาร บันทึก ดังนี้
“เกตุกุมลัคน์ ทำนายว่า เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง พยายามที่จะขึ้นสู่ฐานะอันสูง อันทรงไว้ซึ่งอิทธิพล อันยิ่งใหญ่ในความเป็นเจ้าโลก แต่โดยเหตุที่เกตุเป็นดาวร้าย ผลแห่งการกระทำนี้ ไปได้ไม่ตลอด และพบกับความตายที่ไม่ดีในบั้นปลาย ยิ่งกว่านั้น เกตุที่กุมลัคน์ หรือ สัมพันธ์กับลัคน์ ยังให้โทษในทางโรคเส้นประสาทอีกด้วย เช่น เป็นคนสติวิปลาส หรือ วิกลจริต
เกตุเป็นดาวเซ็กส์ คอยยุแหย่กวนกามให้เกิดราคะ เป็นดาวเซ็กส์ร้ายแรงยิ่งกว่าอังคาร (๓) และ ศุกร์ (๖) รวมกัน เป็นทางเกิดของโรคฮิสทีเรีย กามารมณ์ที่หยาบคาย ร้อนแรง *** โดยเฉพาะสตรี ถ้าเกตุกุมลัคน์ หรือ ร่วมสัมพันธ์กับลัคน์ มักจะมีเม็ดละมุดโผล่ออกมานอกแคมทุกคน ดวงตาแวววาว หยาดเยิ้มอยู่เสมอ
แต่คุณของเกตุก็มีอยู่เหมือนกัน กล่าวคือ คราวชะตาดี เกตุก็ส่งเสริมโชคลาภนั้น ให้ใหญ่โตขึ้นไปอีก เป็นดาวที่คอยผสม และซ้ำเติม เมื่อคราววิบัติให้ย่อยยับทรุดหนักออกไปอีกเป็นทวีคูณ”
ท่านผู้แต่งตำราท่านนี้ ได้สรุปบุคคลผู้อยู่ใต้อิทธิพลของเกตุไว้ว่า “ลักษณะของคนตามพระเคราะห์ดวงนี้ เป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด กล่าวคือ รูปร่างเตี้ย แคระ ผิวเนื้อดำ หรือ ดำแดง” สรุปแล้ว ผู้เขียนรายงานเกี่ยวกับเกตุนี้ เห็นว่าเกตุเป็นดาวกามารมณ์ และรูปร่างพิกล ขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ และเกตุ เป็นดาวเสริมทั้งดี และทั้งชั่ว
แต่ข้าพเจ้า (อ.พลูหลวง) ได้เคยอ่านข้อเขียนของนักพยากรณ์อีกท่านหนึ่ง เขียนไว้ว่า ลักษณะของเกตุนั้นแปลก ๆ บรุษเพศจะมีเครื่องเพศสั้นผิดปกติ ท่านผู้นี้เห็นว่า เกตุทำให้อวัยวะพิกล และค่อนข้างไปทางเล็กและสั้น
ความคิดเหล่านี้ นับว่าเป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องรอพิสูจน์ต่อไป แต่ข้าพเจ้ายังมีความเห็นว่า เกตุเป็นเรื่องของสิ่งเร้นลับ และศักดิ์สิทธิ์ มีความคิดเห็นแปลก ที่ว่ารูปร่างเตี้ยและแคระนั้น ก็ไม่แน่นอน เพราะได้สังเกตว่า บุคคลเกตุกุมลัคนา ร่างสูงยาว มือเท้ายาวก็ตั้งเยอะแยะ
ราศีเมถุน ที่ท่าน อ.พลูหลวง จัดให้ราหู (๘) กับ เกตุ (๙) เป็นเกษตรเจ้าเรือนนั้น ในตำราโหราศาสตร์อินเดีย ได้พรรณนาถึงราศีนี้ไว้ว่า “ราศีเมถุน เจ้าของชะตาจะเป็นผู้มีสติปัญญาดี สนใจในวิชาลึกลับ และชอบค้นคว้า เป็นผู้มีใจอารี มั่งมีพอสมควร”
ในตำราโหราศาสตร์ของฝรั่ง กล่าวถึงราศีเมถุนไว้ว่า “ราศีเมถุน รูปคนแฝด เป็นราศีธาตุลม มีความหมายถึงการไม่พักผ่อน การทำอะไรคล่องแคล่ว ฉลาด มีสิทธิเหนือที่ดิน”
เกตุ (๙) ก็เหมือนกับราหู (๘) คือ มีทั้งดี และไม่ดี สูง ต่ำ ดำ ขาว ไม่แน่นอน เกตุกุมลัคน์ มีอำนาจเหนือบุคคลอื่น ก็มีให้เห็นในประวัติศาสตร์ ดังเช่น ดวงชะตาของจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (เกิด ๒๐ เมษายน ๒๔๓๒ เวลา ๑๘.๓๐ น.) ท่านผู้นี้ มีเกตุกุมลัคนาในราศีตุลย์ มีลักษณะแปลกอยู่บ้างที่เห็นเป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าก็คือ ท่านจอมเผด็จการผู้นี้ ไว้หนวดจิ๋มพิเศษ เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร คล้ายกับ ชาลี แชปปลิน จอมตลกเอกของโลก เพียงแต่ว่า ชาลี แชปปลิน นั้น ใช้หนวดปลอม ส่วนฮิตเลอร์ เป็นหนวดแท้ ๆ
นอกจากนี้ยังมีดวงของท่านมหาเศรษฐีเอกของโลก คือ เฮนรี่ ฝอร์ด (เกิด ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๐๗ เวลา ๑๔.๐๐ น.) ท่านผู้นี้มีดาวเกตุกุมลัคนา ที่ราศีพิจิก ทำให้มีความคิดที่แปลก แหวกแนว และสามารถบันดาลให้ท่านเป็นมหาเศรษฐีเอก จนได้
ส่วนที่ว่า เกตุกุมลัคนา ทำให้รูปร่างพิกล พิการ เตี้ย แคระ ขี้เหร่ นั้น ก็ไม่จริงเสมอไป ด้วยได้เคยเห็นดวงชะตานักร้องสาว แผ่นเสียงทองคำพระราชทานคนหนึ่ง มีเกตุกุมลัคนา ก็เห็นเธอสวยมีเสน่ห์ คนหลงใหลกันมาก แต่เธอมีน้ำเสียงที่แปลก ไม่มีใครเหมือน ก็เพราะเธอมีเกตุกุมลัคน์ที่ราศีมังกร นอกนั้น ยังมีดาราโทรทัศน์สาวคนหนึ่ง เป็นนักแสดง นักร้อง รูปสวย บทบาทแสดงเป็นเยี่ยม เธอมีลัคนากุมเกตุอยู่ที่ราศีธนู
มีดวงชะตาของเด็กที่ระลึกชาติได้ผู้หนึ่ง ที่ได้บันทึกเอาไว้ในปูมโหรของ ท่าน อ.พลูหลวง เด็กคนนี้เกิดวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ เวลา ๐๕.๓๐ น. (ถ้ามีชีวิตอยู่ตอนนี้ไม่เด็ก แก่แล้ว แต่เขาผู้นี้ ระลึกชาติได้ ตอนที่เขาเป็นเด็ก อายุ เพียง ๔ – ๕ ขวบ) ในดวงชะตาของผู้นี้ มีดาวเกตุ (๙) กุมลัคน์ ที่ราศีมังกร โดยที่เกตุไม่ได้กุมลัคน์อยู่โดด ๆ แต่มีศุภเคราะห์ อาทิตย์ (๑) พฤหัสบดี (๕) และ ศุกร์ (๖) กุมอยู่ด้วย มีแบคคัส (บ) เล็ง และ มีจันทร์ (๒) ทำมุมร่วมธาตุ เสริมกำลังให้เกตุ ที่ราศีกันย์
จะเห็นได้ว่า เกตุนั้น เมื่อได้รับอิทธิพลจากศุภเคราะห์หลายดวง จะส่งผลให้มีอิทธิพลแก่เจ้าชะตามากขึ้น และเป็นไปในด้านดี ที่สำคัญก็คือ ท่านผู้นี้ ยังมีพลูโต (พ) ซึ่งเป็นดาวศักดิ์สิทธิ์ดวงหนึ่ง เล็งลัคนา และ ยังมีเนปจูน (น) ดาวแห่งความเร้นลับ ทำมุมตรีโกณถึงลัคนา อีกด้วย
ยังมีดวงพระชะตา เจ้านายของไทย พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าพีระพงศ์ ภานุเดช ทรงเป็นนักกีฬาแข่งรถที่ยุโรป เป็นแชมป์ ได้รับรางวัลสูงสุด ดาราทอง ถึง ๒ ปี ซ้อน มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก พระลัคนากุมเกตุอยู่ราศีมีน เกตุที่กุมลัคนา ทำให้พระองค์กล้าหาญ มีความสามารถเป็นเอก พระวรกายล่ำสันแข็งแรง พระพลานามัยดีเยี่ยม พระองค์ทรงประสูติ เมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๕๗ เวลา ๒๔.๔๕ น. ในพื้นดวงพระชะตา เกตุ (๙) ที่กุมลัคน์ ได้รับกระแสที่ดีจากศุภเคราะห์ ที่สำคัญ คือ จันทร์ (๒) มหาจักร นำหน้า มีพฤหัสบดี (๕) โยคหลัง ทำให้เกตุเด่น ที่สำคัญก็คือ พระลัคนาของพระองค์อยู่ราศีมีน ธาตุน้ำ ดาวเนปจูน (น) เจ้าเรือนลัคน์ อยู่ในราศีกรกฎ ธาตุน้ำ และยังแวดล้อมด้วยดาวศุภเคราะห์ถึง ๔ ดวง คือ มีศุกร์ (๖) นำหน้า อาทิตย์ (๑) พุธ (๔) และ แบคคัส (บ) ตามหลัง ทำให้เนปจูน (น) เจ้าเรือนลัคน์เด่นขึ้น ซึ่งธาตุน้ำนั้น เป็นธาตุที่มีอาการไหลอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่าธาตุใด ๆ จึงทำให้ดวงนี้ ได้ชื่อว่า เป็นจ้าวแห่งความเร็ว
ดังนี้ ภาพพจน์ของเกตุไทย ซึ่งบางท่านระบายสีไว้อย่างผิด ๆ บางทีอาจจะทำให้นักพยากรณ์และผู้สนใจ เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ลักษณะแปลกของเกตุก็ยังมีอยู่ในดวงนี้ คือ ลักษณะกีฬาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจ้าวแห่งความเร็วนั้น ยังไม่มีคนไทยคนใดได้รับมาก่อน หรือ มีความสามารถทางนี้เลย พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีความสามารถผิดแผกแตกต่างจากคนไทยทั่วไป และที่ยังแปลกไปกว่านั้นก็คือ พระองค์ท่านสนใจทางศิลป และมีความสามารถในด้านศิลปแขนงหนึ่งเป็นเยี่ยม เคยประกวดได้รับรางวัลมาแล้วในต่างประเทศ
สรุปแล้ว เกตุกุมลัคน์ จะแสดงอาการทางด้านการผิดแผกแตกต่างจากคนอื่น ๆ ทั่วไป ถ้าบุคคลนั้นเป็นอัจฉริยะ ก็ย่อมจะแสดงความแปลก ความเด่นให้เลื่องลือ จนคนยกย่องสรรเสริญ ดังเช่นดวงของพระองค์เจ้าท่านนี้เป็นต้น
เนื่องจากพระเกตุ เป็นดาวใหม่ ที่คำนวณขึ้นใช้โดยโหราจารย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง เกตุไทยจึงไม่มีตำนานเล่าไว้ ตำราจักรทีปนีของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส จึงมิได้กล่าวถึงเลย
ลักษณะของดาวเกตุไทยนั้น โหรไทยได้ให้คำนิยามไว้หลาย ๆ ท่าน ส่วนใหญ่ เชื่อว่า เกตุกุมลัคนา มักห่าม ๆ พิกล รูปร่าง แปลกกว่าผู้อื่น (น่าจะรวมถึง ลักษณะเด่นบนในหน้า หรือ จุดเด่นของร่างกายที่เห็นง่าย เช่น พิการ, มีปาน มีใฝ หรือ หน้าตกกระ ฯลฯ – อ.เล็ก พลูโต)
เท่าที่ข้าพเจ้า (อ.พลูหลวง) สังเกตดู เห็นว่า เกตุนั้น เกี่ยวข้องกับของโบราณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัด ไสยศาสตร์ หรือ สถานที่แปลก ๆ ซึ่งดูก็สมกับลักษณะของราศีเมถุน อันเกตุเป็นเกษตรอยู่นั้น เป็นราศีรูปคนคู่ คือ หญิงชายคู่กัน บ้างก็ว่ากำลังเสพเมถุน
มีโหรท่านหนึ่ง เขียนตำรารายงาน เกี่ยวกับเกตุไว้อย่างพิสดาร บันทึก ดังนี้
“เกตุกุมลัคน์ ทำนายว่า เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง พยายามที่จะขึ้นสู่ฐานะอันสูง อันทรงไว้ซึ่งอิทธิพล อันยิ่งใหญ่ในความเป็นเจ้าโลก แต่โดยเหตุที่เกตุเป็นดาวร้าย ผลแห่งการกระทำนี้ ไปได้ไม่ตลอด และพบกับความตายที่ไม่ดีในบั้นปลาย ยิ่งกว่านั้น เกตุที่กุมลัคน์ หรือ สัมพันธ์กับลัคน์ ยังให้โทษในทางโรคเส้นประสาทอีกด้วย เช่น เป็นคนสติวิปลาส หรือ วิกลจริต
เกตุเป็นดาวเซ็กส์ คอยยุแหย่กวนกามให้เกิดราคะ เป็นดาวเซ็กส์ร้ายแรงยิ่งกว่าอังคาร (๓) และ ศุกร์ (๖) รวมกัน เป็นทางเกิดของโรคฮิสทีเรีย กามารมณ์ที่หยาบคาย ร้อนแรง *** โดยเฉพาะสตรี ถ้าเกตุกุมลัคน์ หรือ ร่วมสัมพันธ์กับลัคน์ มักจะมีเม็ดละมุดโผล่ออกมานอกแคมทุกคน ดวงตาแวววาว หยาดเยิ้มอยู่เสมอ
แต่คุณของเกตุก็มีอยู่เหมือนกัน กล่าวคือ คราวชะตาดี เกตุก็ส่งเสริมโชคลาภนั้น ให้ใหญ่โตขึ้นไปอีก เป็นดาวที่คอยผสม และซ้ำเติม เมื่อคราววิบัติให้ย่อยยับทรุดหนักออกไปอีกเป็นทวีคูณ”
ท่านผู้แต่งตำราท่านนี้ ได้สรุปบุคคลผู้อยู่ใต้อิทธิพลของเกตุไว้ว่า “ลักษณะของคนตามพระเคราะห์ดวงนี้ เป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด กล่าวคือ รูปร่างเตี้ย แคระ ผิวเนื้อดำ หรือ ดำแดง” สรุปแล้ว ผู้เขียนรายงานเกี่ยวกับเกตุนี้ เห็นว่าเกตุเป็นดาวกามารมณ์ และรูปร่างพิกล ขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ และเกตุ เป็นดาวเสริมทั้งดี และทั้งชั่ว
แต่ข้าพเจ้า (อ.พลูหลวง) ได้เคยอ่านข้อเขียนของนักพยากรณ์อีกท่านหนึ่ง เขียนไว้ว่า ลักษณะของเกตุนั้นแปลก ๆ บรุษเพศจะมีเครื่องเพศสั้นผิดปกติ ท่านผู้นี้เห็นว่า เกตุทำให้อวัยวะพิกล และค่อนข้างไปทางเล็กและสั้น
ความคิดเหล่านี้ นับว่าเป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องรอพิสูจน์ต่อไป แต่ข้าพเจ้ายังมีความเห็นว่า เกตุเป็นเรื่องของสิ่งเร้นลับ และศักดิ์สิทธิ์ มีความคิดเห็นแปลก ที่ว่ารูปร่างเตี้ยและแคระนั้น ก็ไม่แน่นอน เพราะได้สังเกตว่า บุคคลเกตุกุมลัคนา ร่างสูงยาว มือเท้ายาวก็ตั้งเยอะแยะ
ราศีเมถุน ที่ท่าน อ.พลูหลวง จัดให้ราหู (๘) กับ เกตุ (๙) เป็นเกษตรเจ้าเรือนนั้น ในตำราโหราศาสตร์อินเดีย ได้พรรณนาถึงราศีนี้ไว้ว่า “ราศีเมถุน เจ้าของชะตาจะเป็นผู้มีสติปัญญาดี สนใจในวิชาลึกลับ และชอบค้นคว้า เป็นผู้มีใจอารี มั่งมีพอสมควร”
ในตำราโหราศาสตร์ของฝรั่ง กล่าวถึงราศีเมถุนไว้ว่า “ราศีเมถุน รูปคนแฝด เป็นราศีธาตุลม มีความหมายถึงการไม่พักผ่อน การทำอะไรคล่องแคล่ว ฉลาด มีสิทธิเหนือที่ดิน”
เกตุ (๙) ก็เหมือนกับราหู (๘) คือ มีทั้งดี และไม่ดี สูง ต่ำ ดำ ขาว ไม่แน่นอน เกตุกุมลัคน์ มีอำนาจเหนือบุคคลอื่น ก็มีให้เห็นในประวัติศาสตร์ ดังเช่น ดวงชะตาของจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (เกิด ๒๐ เมษายน ๒๔๓๒ เวลา ๑๘.๓๐ น.) ท่านผู้นี้ มีเกตุกุมลัคนาในราศีตุลย์ มีลักษณะแปลกอยู่บ้างที่เห็นเป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าก็คือ ท่านจอมเผด็จการผู้นี้ ไว้หนวดจิ๋มพิเศษ เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร คล้ายกับ ชาลี แชปปลิน จอมตลกเอกของโลก เพียงแต่ว่า ชาลี แชปปลิน นั้น ใช้หนวดปลอม ส่วนฮิตเลอร์ เป็นหนวดแท้ ๆ
นอกจากนี้ยังมีดวงของท่านมหาเศรษฐีเอกของโลก คือ เฮนรี่ ฝอร์ด (เกิด ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๐๗ เวลา ๑๔.๐๐ น.) ท่านผู้นี้มีดาวเกตุกุมลัคนา ที่ราศีพิจิก ทำให้มีความคิดที่แปลก แหวกแนว และสามารถบันดาลให้ท่านเป็นมหาเศรษฐีเอก จนได้
ส่วนที่ว่า เกตุกุมลัคนา ทำให้รูปร่างพิกล พิการ เตี้ย แคระ ขี้เหร่ นั้น ก็ไม่จริงเสมอไป ด้วยได้เคยเห็นดวงชะตานักร้องสาว แผ่นเสียงทองคำพระราชทานคนหนึ่ง มีเกตุกุมลัคนา ก็เห็นเธอสวยมีเสน่ห์ คนหลงใหลกันมาก แต่เธอมีน้ำเสียงที่แปลก ไม่มีใครเหมือน ก็เพราะเธอมีเกตุกุมลัคน์ที่ราศีมังกร นอกนั้น ยังมีดาราโทรทัศน์สาวคนหนึ่ง เป็นนักแสดง นักร้อง รูปสวย บทบาทแสดงเป็นเยี่ยม เธอมีลัคนากุมเกตุอยู่ที่ราศีธนู
มีดวงชะตาของเด็กที่ระลึกชาติได้ผู้หนึ่ง ที่ได้บันทึกเอาไว้ในปูมโหรของ ท่าน อ.พลูหลวง เด็กคนนี้เกิดวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ เวลา ๐๕.๓๐ น. (ถ้ามีชีวิตอยู่ตอนนี้ไม่เด็ก แก่แล้ว แต่เขาผู้นี้ ระลึกชาติได้ ตอนที่เขาเป็นเด็ก อายุ เพียง ๔ – ๕ ขวบ) ในดวงชะตาของผู้นี้ มีดาวเกตุ (๙) กุมลัคน์ ที่ราศีมังกร โดยที่เกตุไม่ได้กุมลัคน์อยู่โดด ๆ แต่มีศุภเคราะห์ อาทิตย์ (๑) พฤหัสบดี (๕) และ ศุกร์ (๖) กุมอยู่ด้วย มีแบคคัส (บ) เล็ง และ มีจันทร์ (๒) ทำมุมร่วมธาตุ เสริมกำลังให้เกตุ ที่ราศีกันย์
จะเห็นได้ว่า เกตุนั้น เมื่อได้รับอิทธิพลจากศุภเคราะห์หลายดวง จะส่งผลให้มีอิทธิพลแก่เจ้าชะตามากขึ้น และเป็นไปในด้านดี ที่สำคัญก็คือ ท่านผู้นี้ ยังมีพลูโต (พ) ซึ่งเป็นดาวศักดิ์สิทธิ์ดวงหนึ่ง เล็งลัคนา และ ยังมีเนปจูน (น) ดาวแห่งความเร้นลับ ทำมุมตรีโกณถึงลัคนา อีกด้วย
ยังมีดวงพระชะตา เจ้านายของไทย พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าพีระพงศ์ ภานุเดช ทรงเป็นนักกีฬาแข่งรถที่ยุโรป เป็นแชมป์ ได้รับรางวัลสูงสุด ดาราทอง ถึง ๒ ปี ซ้อน มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก พระลัคนากุมเกตุอยู่ราศีมีน เกตุที่กุมลัคนา ทำให้พระองค์กล้าหาญ มีความสามารถเป็นเอก พระวรกายล่ำสันแข็งแรง พระพลานามัยดีเยี่ยม พระองค์ทรงประสูติ เมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๕๗ เวลา ๒๔.๔๕ น. ในพื้นดวงพระชะตา เกตุ (๙) ที่กุมลัคน์ ได้รับกระแสที่ดีจากศุภเคราะห์ ที่สำคัญ คือ จันทร์ (๒) มหาจักร นำหน้า มีพฤหัสบดี (๕) โยคหลัง ทำให้เกตุเด่น ที่สำคัญก็คือ พระลัคนาของพระองค์อยู่ราศีมีน ธาตุน้ำ ดาวเนปจูน (น) เจ้าเรือนลัคน์ อยู่ในราศีกรกฎ ธาตุน้ำ และยังแวดล้อมด้วยดาวศุภเคราะห์ถึง ๔ ดวง คือ มีศุกร์ (๖) นำหน้า อาทิตย์ (๑) พุธ (๔) และ แบคคัส (บ) ตามหลัง ทำให้เนปจูน (น) เจ้าเรือนลัคน์เด่นขึ้น ซึ่งธาตุน้ำนั้น เป็นธาตุที่มีอาการไหลอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่าธาตุใด ๆ จึงทำให้ดวงนี้ ได้ชื่อว่า เป็นจ้าวแห่งความเร็ว
ดังนี้ ภาพพจน์ของเกตุไทย ซึ่งบางท่านระบายสีไว้อย่างผิด ๆ บางทีอาจจะทำให้นักพยากรณ์และผู้สนใจ เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ลักษณะแปลกของเกตุก็ยังมีอยู่ในดวงนี้ คือ ลักษณะกีฬาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจ้าวแห่งความเร็วนั้น ยังไม่มีคนไทยคนใดได้รับมาก่อน หรือ มีความสามารถทางนี้เลย พระองค์จึงเป็นผู้ที่มีความสามารถผิดแผกแตกต่างจากคนไทยทั่วไป และที่ยังแปลกไปกว่านั้นก็คือ พระองค์ท่านสนใจทางศิลป และมีความสามารถในด้านศิลปแขนงหนึ่งเป็นเยี่ยม เคยประกวดได้รับรางวัลมาแล้วในต่างประเทศ
สรุปแล้ว เกตุกุมลัคน์ จะแสดงอาการทางด้านการผิดแผกแตกต่างจากคนอื่น ๆ ทั่วไป ถ้าบุคคลนั้นเป็นอัจฉริยะ ก็ย่อมจะแสดงความแปลก ความเด่นให้เลื่องลือ จนคนยกย่องสรรเสริญ ดังเช่นดวงของพระองค์เจ้าท่านนี้เป็นต้น
วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552
๕. พินทุบาทว์หมดฤทธิ์
กฎทุกกฎมีข้อยกเว้นเสมอ คนเราเมื่อบินขึ้นสูงสุดแล้วย่อมลดเพดานบินลง ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน มีเกิด มีตาย มีขึ้น มีลง มีสว่าง มีมืด
รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่า ล้วนเป็นหัวโขน มายา เป็นปรากฏการณ์ชั่วขณะ โลดแล่น อวดดีมมานะ ถือตัวตนกันไป เมื่อตายแล้ว รวยล้นฟ้า ต่ำติดดินอาจเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน บางคนเกษียณออกไปแล้ว หมาบางตัวยังไม่กระดิกหางรับเลยก็มี
พินทุบาทว์จะสยบตัวก็ต่อเมื่อ
ก) อยู่ราศีทวาร
ข) ลัคนามีดาวกุม
ค) ดาวดีโยค หรือตรีโกณถึงลัคน์
ง) ดาวเล็งอยู่นอกราศีทวาร มีดาวดีตรีโกณ โยคถึง
รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่า ล้วนเป็นหัวโขน มายา เป็นปรากฏการณ์ชั่วขณะ โลดแล่น อวดดีมมานะ ถือตัวตนกันไป เมื่อตายแล้ว รวยล้นฟ้า ต่ำติดดินอาจเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน บางคนเกษียณออกไปแล้ว หมาบางตัวยังไม่กระดิกหางรับเลยก็มี
พินทุบาทว์จะสยบตัวก็ต่อเมื่อ
ก) อยู่ราศีทวาร
ข) ลัคนามีดาวกุม
ค) ดาวดีโยค หรือตรีโกณถึงลัคน์
ง) ดาวเล็งอยู่นอกราศีทวาร มีดาวดีตรีโกณ โยคถึง
๔. ศาสตร์งมงาย
ในทัศนะของชาวบ้านที่มีการศึกษาแบบครึ่งครึ่งกลางกลาง มักจะมองว่าโหราศาสตร์เป็นวิชางมงายไร้ค่า มีแต่คนหลงหรือไม่เต็มบาทเท่านั้นนิยมศึกษา คนฉลาดอย่างเขาไม่เคยสนใจ ทั้งนี้เขาอาจมีประสบการณ์ของหมอดูหลอกเอาเงินค่ายกครู ทำนายเท็จ โมเม ขี้ตู่ ไร้หลักฐานที่น่าเชื่อถือ มาก่อน ซึ่งในทุกวงการย่อมมีทั้งคนดี คนเลว ปะปนกันไป เมื่อมีประสบการณ์ที่เลว ๆ ก็ย่อมมีมุมมองที่ติดลบอย่างช่วยไม่ได้ (เจ็บฝังใจ)
ในศาสนาพุทธเองได้เคยกล่าวถึงโหราศาสตร์ไว้ว่า เป็นศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการวิมุติหลุดพ้น แต่จะทำให้ผู้ศึกษาหลงใหล หมกจม มัวเมาในพลังอำนาจแห่งดวงดาวจนถึงกับทำให้ ลืมวิถีแห่ง สมาธิ วิปัสสนากรรมฐานไปสิ้น จึงไม่ได้รับโอการเห็นธรรม รู้ธรรมและหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสไปได้ จึงทำให้หลายฝ่ายที่ไม่เข้าใจใน ศาสนาและโหราศาสตร์ มีทํศนเชิงลบว่า โหราศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา โดยไร้หลักฐาน เหตุผล ที่มาที่ไป (ทำคนให้อ่อนปัญญา)
ในปัจจุบันมพระสงฆ์หลายรูปที่ศึกษา และค้นคว้าวิชาโหราศาสตร์จนถึงขั้นเชี่ยวชาญในระดับปรมาจารย์ หลายคนมุ่งทำนายเป็นแบบโหราศาสตร์ บางรูปก็เลยเถิดไปถึงเป็นโหราไสยศาสตร์ รับสะเดาะเคราะห์ขับไล่ราหู และพิธกรรมสัมพันธ์อื่น ๆ อีกมากมาย กลายเป็นนักไล่เคราะห์หามยามร้าย ขายธูปจุดเทียนบูชาไฟ ลืมทำวัตรเช้าเย็น แต่แท้จริงแล้วโหราศาสตร์มิใช่ศาสตร์แห่งเดรัจฉานวิชาเลย ด้วยเหตุผลดังนี้
1. โหราศาสตร์ในราชสำนักมีมาแต่โบราณกาล ในประเทศแถบทวปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด มีการกำหนด ฤกษ์ยาม พิธี ตั้งแต่ประกาศสงคราม เปิดอาคารสถานที่ โดยมีโหรหลวง หรือพระยาโหราธิบดีในตำแหน่งเจ้ากรมโหร ปัจจุบันก็ยังมีพราหมณ์ หรือปุโรหิตอยู่รับใช้ในหลวงมาตลอด
2. พระสงฆ์ผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโนทัย มหาเถระ เปรียญ 9) เจ้าคุณพระราชาคณะองค์สำคัญ ๆ ยังศึกษาต่อเรื่องนี้ ถือว่าพระองค์เป็นปราชญ์ด้านนี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีพระทรงสมณศักดิ์อื่น ๆ หลายท่านท่มความเชื่อถือ การให้ฤกษ์ ปลุกเสก หล่อพระตลอดมา
3. พ่อค้า คหบดี เศรษฐี หลายคน ต้องหาฤกษ์เปิดอาคารสถานท่จากโหรผู้ชำนาญ หลายคนได้ฤกษ์ผิดประกอบธุรกิจผิดพลาดพลั้งเผลอจนธุกิจไฟไหม้ เสียหาย หรือได้รับผลกระทบในเชิงลบอื่น ๆ มากมาย
4. แพทย์ ทันตแพทย์ บัณฑิตหลายท่านยังศึกษาและได้พบ พิสูจน์ ความจริง และให้คำรับรองว่าเป็นศาสตร์ท่เชื่อถือได้ ถ้าไร้สาระงมงายจิง บัณฑิต คนฉลาดเหล่านี้ คงไม่สนใจและไม่เสียเวลามาศึกษาเรียนรู้เป็นแน่ และมีหลักการน่าเชื่อถือกว่าไสยศาสตร์
5. ฤกษ์ยามดี ทำความดี จริงจังยั่งยืน ก้าวหน้า แต่ถ้าฤกษ์ดี ทำชั่ว ผลกรรมชั่วจะสนอง ไม่เชื่อไม่ควรดูหมิ่น
ในศาสนาพุทธเองได้เคยกล่าวถึงโหราศาสตร์ไว้ว่า เป็นศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการวิมุติหลุดพ้น แต่จะทำให้ผู้ศึกษาหลงใหล หมกจม มัวเมาในพลังอำนาจแห่งดวงดาวจนถึงกับทำให้ ลืมวิถีแห่ง สมาธิ วิปัสสนากรรมฐานไปสิ้น จึงไม่ได้รับโอการเห็นธรรม รู้ธรรมและหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสไปได้ จึงทำให้หลายฝ่ายที่ไม่เข้าใจใน ศาสนาและโหราศาสตร์ มีทํศนเชิงลบว่า โหราศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา โดยไร้หลักฐาน เหตุผล ที่มาที่ไป (ทำคนให้อ่อนปัญญา)
ในปัจจุบันมพระสงฆ์หลายรูปที่ศึกษา และค้นคว้าวิชาโหราศาสตร์จนถึงขั้นเชี่ยวชาญในระดับปรมาจารย์ หลายคนมุ่งทำนายเป็นแบบโหราศาสตร์ บางรูปก็เลยเถิดไปถึงเป็นโหราไสยศาสตร์ รับสะเดาะเคราะห์ขับไล่ราหู และพิธกรรมสัมพันธ์อื่น ๆ อีกมากมาย กลายเป็นนักไล่เคราะห์หามยามร้าย ขายธูปจุดเทียนบูชาไฟ ลืมทำวัตรเช้าเย็น แต่แท้จริงแล้วโหราศาสตร์มิใช่ศาสตร์แห่งเดรัจฉานวิชาเลย ด้วยเหตุผลดังนี้
1. โหราศาสตร์ในราชสำนักมีมาแต่โบราณกาล ในประเทศแถบทวปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด มีการกำหนด ฤกษ์ยาม พิธี ตั้งแต่ประกาศสงคราม เปิดอาคารสถานที่ โดยมีโหรหลวง หรือพระยาโหราธิบดีในตำแหน่งเจ้ากรมโหร ปัจจุบันก็ยังมีพราหมณ์ หรือปุโรหิตอยู่รับใช้ในหลวงมาตลอด
2. พระสงฆ์ผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโนทัย มหาเถระ เปรียญ 9) เจ้าคุณพระราชาคณะองค์สำคัญ ๆ ยังศึกษาต่อเรื่องนี้ ถือว่าพระองค์เป็นปราชญ์ด้านนี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีพระทรงสมณศักดิ์อื่น ๆ หลายท่านท่มความเชื่อถือ การให้ฤกษ์ ปลุกเสก หล่อพระตลอดมา
3. พ่อค้า คหบดี เศรษฐี หลายคน ต้องหาฤกษ์เปิดอาคารสถานท่จากโหรผู้ชำนาญ หลายคนได้ฤกษ์ผิดประกอบธุรกิจผิดพลาดพลั้งเผลอจนธุกิจไฟไหม้ เสียหาย หรือได้รับผลกระทบในเชิงลบอื่น ๆ มากมาย
4. แพทย์ ทันตแพทย์ บัณฑิตหลายท่านยังศึกษาและได้พบ พิสูจน์ ความจริง และให้คำรับรองว่าเป็นศาสตร์ท่เชื่อถือได้ ถ้าไร้สาระงมงายจิง บัณฑิต คนฉลาดเหล่านี้ คงไม่สนใจและไม่เสียเวลามาศึกษาเรียนรู้เป็นแน่ และมีหลักการน่าเชื่อถือกว่าไสยศาสตร์
5. ฤกษ์ยามดี ทำความดี จริงจังยั่งยืน ก้าวหน้า แต่ถ้าฤกษ์ดี ทำชั่ว ผลกรรมชั่วจะสนอง ไม่เชื่อไม่ควรดูหมิ่น
๓. ความหมายของโหราศาสตร์
โหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการเอา ดาว ราศี สัมพันธ์กับเวลาเกิด เพื่อทำนายความเปลียนแปลงขณะที่มีดาวโคจรมากระทบ อาศัยสถิติ ผลของดาวที่มีต่อกันในอดีตมาช่วยพยากรณ์
โหร แปลว่า โลก ดาวที่มีแสงกระพริบ ผู้ให้แสงสว่าง
โหร แปลว่า หมอดู ผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับการพยากรณ์
โหราศาสตร์ไทยจะเกี่ยวกับดาว ๑0 ดวงเท่านั้น โดยเอา เวลา วัน เดือน ปี สถานที่เกิดมาคำนวณ
โหร แปลว่า โลก ดาวที่มีแสงกระพริบ ผู้ให้แสงสว่าง
โหร แปลว่า หมอดู ผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับการพยากรณ์
โหราศาสตร์ไทยจะเกี่ยวกับดาว ๑0 ดวงเท่านั้น โดยเอา เวลา วัน เดือน ปี สถานที่เกิดมาคำนวณ
๒. มรรควิถีในการพยากรณ์
มรรควิถี แนวทาง หรือปฏิปทาในการพยากรณ์ มีข้อพึงปฏิบัติ คือ ไม่พยากรณ์ในเรื่องที่ทำให้กลายเป็นการส่อเสียดแตกสามัคคีกันในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น ใครจะมาพยากรณ์คู่สมรสว่าสมรสแล้วจะอยู่ด้วยกันยึดไหม เช่นนี้ไม่ควรพยากรณ์ เนื่องจากจะทำให้คู่สามีภรรยาเขาแตกกัน หรือผู้ที่หมั้นกันไว้แล้วมาหาให้พยากรณ์ว่าจะอยู่กันต่อไปยึดหรือไม่ เช่นนี้ก็ไม่พยากรณ์เหมือนกัน เพราะเขาเลือกคู่จนหมั้นกันแล้ว หากพยากรณ์ไปแล้วเกิดผลทำให้เขาต้องกินแหนงแคลงใจเกิดถอนหมั้นกันก็เกิดเสียหายไม่ควร หรือผู้ที่ตามเกณฑ์ดวงชาตาต้องพยากรณ์เป็นอย่างนั้น แต่เจ้าดวงชาตาว่าเป็นอย่างอื่น ขัดแย้งกันก็ไม่ควรพยากรณ์ คือยึดถือหลักวิชามิใช่เอาใจผู้ดู การให้ฤกษ์ก็ควรกวดขันเป็นพิเศษไม่ยอมให้ไปอย่างไม่แน่ใจ ถ้าเกิดสงสัยก็ต้องของดไว้ไปหารือท่านผู้รู้ก่อน เวลาคำนวณดวงชาตาต้องคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ
๑. ดวงดาวมีอิทธิพลต่อชีวิตเราจริงหรือ?
เมื่อพระอาทิตย์ย่อมทำให้เราร้อนกระสับกระส่วยได้ พระจันทร์ทำให้เรารู้สึกสงบเย็นสบายใจได้ฉันใด ถ้ามองให้ซึ้งแล้ว ดาวทั้งหลายก็ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ฉันนั้น นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็พูดว่าเวลาเรายกนิ้วมือเดียวก็มีส่วนสัมพันธ์ทั่วจักรวาล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)